บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อถอดบทเรียนกระบวนการพัฒนาผู้ดูแลเด็กตามแนวคิดชุมชนเพื่อการปฏิบัติที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัยที่มีความสำเร็จ 2) เพื่อศึกษาผลความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาผู้ดูแลเด็กตามแนวคิดชุมชนเพื่อการปฏิบัติที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัยที่มีความสำเร็จกรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่มุ่งบรรยายลักษณะเงื่อนไขและสภาพเหตุการณ์ที่เป็นจริงของการพัฒนาผู้ดูแลเด็กแนวคิดชุมชนเพื่อการปฏิบัติที่เหมาะสมกับพัฒนาการ (DAP) โรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 20 คน การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตในขณะสัมภาษณ์
ผลการวิจัย พบว่า
1. การถอดความรู้การพัฒนาผู้ดูแลเด็กตามแนวคิดชุมชนเพื่อการปฏิบัติติที่เหมาะสมกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย (DAP) มีองค์ประกอบที่สำคัญได้แก่ 1) แนวคิดของกระบวนการจำนวน 2) แนวคิดที่เกี่ยวข้องจำนวน 3) เป้าหมายกระบวนการ ชุดความรู้ของการพัฒนาผู้ดูแลเด็กตามแนวคิดชุมชนเพื่อการปฏิบัติที่เหมาะสมกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย (DAP) โรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ
2. ผลความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาผู้ดูแลเด็กตามแนวคิดชุมชนเพื่อการปฏิบัติที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
2.1 ความสำเร็จด้านความสามารถในการดูแลเด็กปฐมวัยของครูผู้ดูแลเด็ก ประกอบไปด้วย 1) ด้านการสร้างความสัมพันธ์กับเด็ก 2) ด้านการสร้างความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง 3) ด้านการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัย 4) ด้านการจัดสภาพแวดล้อม 5) ด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมพัฒนาการ 6) ด้านการประเมินพัฒนาการการประเมินพัฒนาการและการเติบโตของเด็ก 7) สภาพประเด็นเกี่ยวกับภาระงาน
2.2 สภาพความสำเร็จด้านการบริหารจัดการในการดูแลเด็กระดับองค์กร 1) ผู้บริหารมีการติดตามการทำงาน โดยให้ความสำคัญในการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา 2) ส่งเสริมเชิงปฏิบัติการในการทำงานเป็นทีมการทำงานร่วมกัน 3) วัฒนธรรมและบรรยากาศในการทำงาน มีการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอและการนำความรู้มาปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
Abstract
This research aims to to extract knowledge and present the success of the process of developing caregivers based on community concepts for appropriate practice for early childhood development Sisaket Kindergarten Under the Office of Sisaket Elementary Education Service Area 1, it is a qualitative research that aims to describe the nature of conditions and real events by using interview tools and document study together with Focus Group. Management of teachers and mentors at the kindergarten level of Sisaket Kindergarten School By using the sampling method, i.e., purposive sampling, due to the need for experience, a specific selection method was used to cover 20 personnel. Method of collecting information by studying the documents In-depth interviews and observations while interviewing.
The objectives of this research were
1. Transcription of knowledge of child caregiver development based on community concept for appropriate practice in early childhood development (DAP) has key components: 1) concepts of process, 2) concepts involved in number, 3) process goals Knowledge set of child care development based on community concept for appropriate practice for early childhood development (DAP) in Sisaket Kindergarten.
2. Successful outcomes of the child care development process based on community concepts for appropriate practices with early childhood development.
2.1 The achievements in the early childhood care abilities of the child care teachers consisted of 1) building relationships with children 2) building relationships with parents 3) managing environments to promote health and safety 4) environment management 5) learning management that promotes development 6) development assessment, assessment of children's development and growth 7) Condition of issues related to workload.
2.2 Conditions of success in management in child care at the organizational level. 1) Executives monitor their work by emphasizing on the performance of their subordinates, 2) Encouraging workshops in working as a team and working together, 3) culture and working atmosphere There is always learning new things and applying knowledge to work more efficiently
คำสำคัญ
ชุมชน, การปฏิบัติ, การพัฒนาเด็กปฐมวัย (DAP)Keyword
Community Concept, Appropriate, Early Childhood Development (DAP)กำลังออนไลน์: 71
วันนี้: 1,588
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 56,787
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093