บทคัดย่อ
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย เน้นความรู้และประสบการณ์ของผู้บริหาร และครู และพฤติกรรมการสอนของครู พัฒนาการเด็กปฐมวัย สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้ และความพึงพอใจในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย โดยใช้รูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยทั้งระบบ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหาร จำนวน 3 คน ครู จำนวน 3 คน เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 1 จำนวน 28 คน ชั้นอนุบาล 2 จำนวน 28 คน ผู้ปกครอง จำนวน 56 คน จากโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดบึงกาฬ 3 โรงเรียน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยใช้วงจร Deming ประกอบด้วย PDCA เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการ ได้แก่ ชุดฝึกอบรมการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยทั้งระบบ แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้สมองเป็นฐาน 2) เครื่องมือที่ใช้สะท้อนผลการปฏิบัติการ ได้แก่ แบบสอบถามผลการใช้รูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยทั้งระบบด้านความรู้และประสบการณ์ของผู้บริหารและครู แบบสอบถามความพึงพอใจในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย แบบประเมินพฤติกรรมการสอนของครู และแบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย
ผลการวิจัย พบว่า
การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตามรูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยทั้งระบบ ผู้วิจัยต้องดำเนินการให้ความรู้เชิงหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยทั้งระบบ และนวัตกรรมที่ใช้ในการพัฒนา การวิจัยในชั้นเรียน การผลิตสื่อ เครื่องมือประเมินพัฒนาการเมื่อกลุ่ม เป้าหมายสามารถทำแผนพัฒนาวิชาการ แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้สมองเป็นฐาน ผลิตสื่อการเรียนการสอน สร้างเครื่องมือประเมินพัฒนาการ ผู้วิจัยให้การแนะนำและแก้ไข แล้วนำไปปฏิบัติการในโรงเรียนและในชั้นเรียน
สำหรับผลการพัฒนาพบว่า ผู้บริหารมีความรู้และประสบการณ์โดยรวมอยู่ระดับมากที่สุด สูงกว่าก่อนการพัฒนา ทำแผนพัฒนางานวิชาการและนิเทศสม่ำเสมอมากที่สุด ครูมีความรู้และประสบการณ์ อยู่ระดับมากที่สุดทั้ง 3 คน สูงกว่าก่อนการพัฒนา จัดการเรียนการสอนครบ 6 กิจกรรม ทำวิจัยในชั้นเรียน และมีแบบประเมินผลเพียงพอ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 1 มีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านโดยรวมคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 87.21 สูงกว่าก่อนการทดลองทุกด้าน ชั้นอนุบาล 2 มีพัฒนาการโดยรวมคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 86.46 สูงกว่าก่อนการทดลองทุกด้าน มีมุมประสบการณ์เพิ่มขึ้น ป้ายนิเทศเป็นปัจจุบัน มีสนามเด็กเล่นทุกโรงเรียน มีเครื่องเล่นสนามเพิ่มขึ้น มีสวนสมุนไพร และแปลงเกษตร ความพึงพอใจในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในภาพรวม 5 ด้านอยู่ระดับมากที่สุดสูงกว่าก่อนการพัฒนา ผู้ปกครองให้ความร่วมมือมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.53
Abstract
The current study aimed to develop early childhood education management’s model that emphasized on knowledge and experience of executives and teachers, teachers’ teaching behavior, early childhood students’ development, inside and outside classroom’s environment and learning resources, and satisfaction in early childhood education management by using an early childhood education management for entire system’s development model. The target groups included 3 executives, 3 teachers, 28 first year early childhood students, 28 second year early childhood students, and 56 parents from 3 border patrol police schools in Bueng Kan province. The study examined and developed by using Deming Cycle consisted of PDCA. The instruments were 1) operation’ instruments; a training package of early childhood education management for entire systems and brain based learning experience plan, 2) operation’s reflecting tools; questionnaires about (1) effects of using the model in terms of knowledge and experience of executives and teachers, (2) attitudes toward early childhood education management, measurements of teachers’ teaching behavior and early childhood development.
The results showed that
to develop education management following the model, the researcher should educate in concept and idea about the model and innovation used in classroom research, making teaching aids, and development measurement tool. When they can create academic development plan, brain based learning experience plan, teaching aids, development measurement tool, the researcher then gave feedback to revise. Finally, the target group used all materials in school and classroom.
In development results, the executives gained overall knowledge and experience in highest level. Creating academic development plan and supervision was in highest level. All 3 teachers gained knowledge and experience in highest level. They conducted all 6 activities in teaching, classroom research, and had sufficient measurements. All the first year students had 4 developments which overall percentage was 87.21. The second year students’ development had overall percentage in 86.46. The schools have more experience corners; updated display boards, playgrounds, more playground equipment, herb gardens, and plant agricultural plots. The overall satisfactions in early childhood education management in 5 aspects were in highest levels. The parents’ cooperation was in highest level at 4.53. All aspects were higher than before the development.
คำสำคัญ
รูปแบบ, การพัฒนา, การจัดการศึกษาระดับปฐมวัย, โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนKeyword
Model, Development, Early Childhood Education/ Border Patrol Police Schoolกำลังออนไลน์: 37
วันนี้: 394
เมื่อวานนี้: 1,728
จำนวนครั้งการเข้าชม: 63,399
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093