บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะการออกกำลังกายโดยการเรียนรู้แบบ Circuit ร่วมกับทฤษฎีการสอน 5 ขั้นของ Herbart ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีดัชนีประสิทธิผลตามเกณฑ์ร้อยละ 60 2) เปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการออกกำลังกายโดยการเรียนรู้แบบ Circuit ร่วมกับทฤษฎีการสอน 5 ขั้นของ Herbart ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบความสุขในการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการออกกำลังกายโดยการเรียนรู้แบบ Circuit ร่วมกับทฤษฎีการสอน 5 ขั้นของ Herbart ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการออกกำลังกายโดยการเรียนรู้แบบ Circuit ร่วมกับทฤษฎีการสอน 5 ขั้นของ Herbart ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 5) เปรียบเทียบสมรรถภาพทางกาย ความสุขในการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีความเครียดแตกต่างกัน (สูง ปานกลาง และต่ำ) เมื่อได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการออกกำลังกายโดยการเรียนรู้แบบ Circuit ร่วมกับทฤษฎีการสอน 5 ขั้นของ Herbart ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ในเขตศูนย์เครือข่ายสถานศึกษากุดเรือคำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5/2 โรงเรียนบ้านกุดเรือคำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน ซึ่งมาจากเทคนิคการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 5 ชนิดได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการออกกำลังกายโดยการเรียนรู้แบบ Circuit ร่วมกับทฤษฎีการสอน 5 ขั้นของ Herbart จำนวน 5 เล่ม 2) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย ของกรมพลศึกษาสำหรับนักเรียน (อายุ 7 – 12 ปี) เป็นแบบฝึกการ ปฏิบัติจำนวนทั้งหมด 6 รายการ 3) แบบทดสอบวัดความสุขในการเรียน เป็นแบบสอบถามจำนวน 30 ข้อ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบ แบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 5) แบบทดสอบวัดความเครียดของกรมสุขภาพจิต ปี 2553 สำหรับนักเรียน (อายุ 7 – 12 ปี) จำนวน 5 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index: E.I.) สถิติทดสอบค่าที (t-test Independent Samples) การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์ตัวแปรตามโดยความแปรปรวนร่วมพหุคูณ (One-way MANCOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (One-wayANCOVA)
ผลการวิจัย พบว่า
1. แบบฝึกทักษะการออกกำลังกายโดยการเรียนรู้แบบ Circuit ร่วมกับทฤษฎีการสอน 5 ขั้นของ Herbart มีค่าดัชนีประสิทธิผล ที่ส่งผลต่อสมรรถภาพทางกาย ความสุขในการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าดัชนีประสิทธิผล 0.81, 0.72 และ 0.70 ค่าดัชนีประสิทธิผลรวมร้อยละ 0.74 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ร้อยละ 60 ขึ้นไป
2. สมรรถภาพทางกายของนักเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยแบบแบบฝึกทักษะการออกกำลังกายโดยการเรียนรู้แบบ Circuit ร่วมกับทฤษฎีการสอน 5 ขั้นของ Herbart หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความสุขในการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการออกกำลังกายโดยการเรียนรู้แบบ Circuit ร่วมกับทฤษฎีการสอน 5 ขั้นของ Herbart หลังเรียนอยู่ในระดับมากขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการออกกำลังกายโดยการเรียนรู้แบบ Circuit ร่วมกับทฤษฎีการสอน 5 ขั้นของ Herbart หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. สมรรถภาพทางกาย ความสุขในการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความเครียดทางการเรียน (สูง ปานกลาง และต่ำ) หลังได้รับการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการออกกำลังกายโดยการเรียนรู้แบบ Circuit ร่วมกับทฤษฎีการสอน 5 ขั้นของ Herbart มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
This research aims to 1) Develop the exercise skills exercise by Circuit learning in conjunction with Herbart's 5-step teaching theory of Grade 5 students to have an effectiveness index based on the criteria of 60%. 2) Compare physical fitness of the students. That has been taught by using exercise skills by learning Circuit with the theory of teaching 5 steps of Herbart during before and after class. 3) Compare students' learning happiness. That has been taught by using exercise skills by learning Circuit with the theory of teaching 5 steps of Herbart during before and after class. 4) Compare student achievement. That has been taught by using exercise skills by learning Circuit with the theory of teaching 5 steps of Herbart during before and after class.5) Compare physical fitness Learning pleasure and academic achievement of students with different stress levels (high, medium and low) when they were taught using the Circuit Learning Exercise Skill Worksheet in combination with Herbart's 5-step teaching theory. The population used in this study was PrathomSuksa 5, Semester 1, Academic Year 2017, in the KudRueaKham Educational Institute Network Center area. Under the Office of the SakonNakhon Primary Educational Service Area 3, the samples used in this study Including grade 5/2 students at BanKutRueaKham School Under the Office of SakonNakhon Primary Educational Service Area 3, Semester 1, Academic Year 2560, total 30 people Cluster Random Sampling. The research tools consisted of 5 types: 1) Exercise skills training by Circuit Learning in combination with Herbart's 5-step teaching theory.2) Physical fitness test Of the Department of Physical Education For students (age 7–12 years) a total of 6 practice exercises 3) a test to measure the happiness of studying A questionnaire of 30 items. 4) A test to measure academic achievement. It is a multiple-choice type, 4 options, 30 items 5) The stress measurement test of the Department of Mental Health Year 2010 for students (aged 7-12 years), total 5 items. the statistics used to analyze the data: rental percentage, standard deviation, standard deviation. (Effectiveness Index: EI), t-test Independent Samples, an analysis of inequality. Companion followed by a multiple of one-way collaboration (MANCOVA) Understanding Collaboration (One-way ANCOVA).
The research results can be summarized as follows:
1. The Exercise Skills Exercise by Circuit Learning in combination with Herbart's 5-step teaching theory has the effectiveness index. That affect physical fitness Learning pleasure and academic achievement of the fifth grade students had the effectiveness index of 0.81, 0.72 and 0.70, the total effectiveness index of 0.74%, which was 60% higher than the standard criteria.
2. Physical fitness of students of the 5th grade students who studied with the Exercise Skills Exercise by Circuit Learning in combination with Herbart's 5-step teaching theory after studying significantly higher than before at the .05 level.
3. The joy of learning of the 5th grade students who studied with the Exercise Skills Exercise by Circuit Learning in combination with Herbart's 5-step teaching theory after studying at higher level with statistical significance at the .05 level.
4. The academic achievement of the 5th grade students who took the Exercise Skills Exercise by Circuit Learning together with Herbart's 5-step teaching theory after study was higher than before. With statistical significance at the.05 level.
5. Physical fitness Learning pleasure and the achievement of 5th grade students who have had academic stress (high, medium and low) after Get a skill-based learning exercise by Circuit Learning combined with Herbart's 5-step teaching theory. With statistical significance at the .05 level.
คำสำคัญ
แบบฝึกทักษะ, การเรียนรู้แบบ Circuit, ทฤษฎีการสอน 5 ขั้นของ Herbart สมรรถภาพทางกาย, ความสุขในการเรียน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนKeyword
Skills Training, Circuit Learning, 5 Theory of Herbart Teaching Physical Ffitness, Learning Happiness, Academic Achievementกำลังออนไลน์: 59
วันนี้: 1,568
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 56,767
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093