บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกกลางคันของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 2) นำเสนอแนวทางป้องกันการออกกลางคันของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกกลางคันของนักเรียน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในสาขาวิชาช่างอุตสาหกรรมทั้ง 9 สาขาของวิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา จำนวน 309 คน และขั้นตอนที่ 2 สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักซึ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้างานประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกกลางคันมี 4 ปัจจัย ประกอบด้วย ปัจจัยด้านผู้เรียน ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านครูผู้สอน และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ปัจจัยด้านผู้เรียน และค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา พิจารณารายด้าน ปัจจัยด้านผู้เรียน ผู้เรียนเข้าศึกษาไม่ตรงกับสาขาที่ต้องการหรือมีความถนัดมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และค่าเฉลี่ยต่ำสุดผู้เรียนเกิดการเบื่อหน่ายไม่มีสมาธิในการเรียน ปัจจัยด้านครอบครัว รายได้ของครอบครัวไม่เพียงพอมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และค่าเฉลี่ยต่ำสุดบิดามารดาหรือคนในครอบครัวไม่สนับสนุนให้เรียนสายอาชีพ ปัจจัยด้านครูผู้สอน ครูผู้สอนไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีและความเป็นกันเองกับนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และค่าเฉลี่ยต่ำสุดครูผู้สอนไม่มีความสามารถถ่ายทอดความรู้ให้นักเรียนเข้าใจในเนื้อหารายวิชา และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา สถานศึกษาเข้มงวดเรื่องกฎระเบียบมากเกินไปมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และค่าเฉลี่ยต่ำสุดสภาพอาคารเรียนห้องเรียนเก่าทรุดโทรม
2. นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาการออกกลางคันประกอบด้วย 4 ด้าน 9 แนวทางดังนี้ ปัจจัยด้านผู้เรียน 3 แนวทาง เช่น การแนะแนวการศึกษาต่อเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่นักเรียนควรให้ครูที่มีความรู้ในสาขาวิชาเป็นคนแนะแนวเพื่อที่จะได้ให้ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนในสาขานั้น ๆ ปัจจัยด้านครอบครัว 2 แนวทาง เช่นจัดหาทุนการศึกษาให้
Abstract
The purposes of this study were to 1) study the factors affecting the drop-off of the vocational students (Vocational Certificate) 2) present guidelines to prevent drop-off for the vocational students (Vocational Certificate). The research method is divided into 2 steps: the first step to study the factors affecting the dropout of students, the research tools were questionnaires, estimation scales, and the confidence value of 0.86 was analyzed by percentage value, means of mean, standard deviation. The sample group was 309 students in the vocational certificate program (Vocational Certificate) in the 9 programs of Industrial Mechanic at Ayutthaya Technical College. And step 2: interview key informants who are school administrators and head of the education quality assurance department this was obtained by selecting a specific type of 5 people. The data were analyzed using content analysis techniques.
The results of the study revealed that:
1. there are 4 factors that affect the dropout consisting of learner factors, family factor, teacher factor and environmental factors of educational institutions overall, it was at a moderate level, the side with the highest average is the learner factor and the lowest mean is the environmental factor of the school, consider each side learner factor are the students who attended the study did not match their preferred field of study or their aptitude had the highest average and the lowest average, the students were bored and unable to concentrate on their studies. Family factor, insufficient family income is the highest average and the lowest average, parents or family members are not encouraged to pursue vocational education. The teacher factor, the teacher does not have good relationships and the friendliness with the student is the highest average and the lowest average is a teacher does not have the ability to pass on knowledge to students in the course content. And environmental factors of educational institutions the school is overly strict on regulations has the highest average. And the lowest average, old school building condition, dilapidated classroom.
2. The results lead to conclude that, the problem of dropping, consisting of 4 aspects, 10 approaches as follows:- learner’s factors 3 ways such as the guidance of continuing education in order to create knowledge and understanding for students should have teachers with knowledge in the subject area as guides so that they can provide accurate and complete information in that field, two-family factors such as providing scholarships for poor students. There are two teacher factors, such as learner-centered instructional management so that the learner has the most involvement with the teachers. And environmental factors of the school in 3 ways, such as the establishment of school regulations, students should survey opinions for flexibility and should inform the details of the school's rules before enrolling
คำสำคัญ
การป้องกัน, การออกกลางคันKeyword
Preventing, Dropoutกำลังออนไลน์: 50
วันนี้: 1,784
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 56,983
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093