...
...
เผยแพร่: 1 ก.ย. 2564
หน้า: 265-274
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 500
Download: 221
Download PDF
รูปแบบการนิเทศที่ส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่สอนของครูประถมศึกษาที่สอนไม่ตรงวิชาเอก ของครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Instructional Supervision Model Impacting Instruction of the Major Mismatch Primary School Teachers of Small-Sized Schools Under Office of Basic Education Commission
ผู้แต่ง
เพ็ญรุ่ง คำจันทร์, ผัสสพรรณ ถนอมพงษ์ชาติ, จุไรรัตน์ สุดรุ่ง
Author
Penrung Khamchan, Phasphan Thanompongchart, Jurairat Sudrung

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการนิเทศที่ส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่สอนของครูประถมศึกษาที่สอนไม่ตรงวิชาเอกของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากร คือ ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 จำนวน 278 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.374 – 0.760 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.962 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัย พบว่า

การนิเทศแบบพึ่งตนเองส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่สอนในภาพรวมมากที่สุด โดยมีความสัมพันธ์ทางบวกและสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 8.5 (p = .000) รองลงมา คือ การนิเทศ โดยผู้บริหาร ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงบวกและสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 2.2 (p = .001) และการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงบวกและสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 1.4 (p = .008) ตามลำดับ ในขณะที่การนิเทศแบบคลินิกไม่สามารถอธิบายความแปรปรวนของการปฏิบัติหน้าที่สอน ในภาพรวมได้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การนิเทศแบบพึ่งตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกและส่งผลมากที่สุดกับการปฏิบัติหน้าที่สอนทุกด้านอีกด้วย

Abstract

This study aimed to explore the instructional supervision models that impact the teaching performance of primary school teachers who teach subjects outside their fields at small-sized primary schools under the Office of Basic Education Commission. The population was teachers of small-sized primary schools under the Office of Basic Education Commission, and the sample size was 278 small-sized schools under the Primary Educational Service questionnaire was used as the research instrument. The discriminative power ranging between 0.374 – 0.760 and with the reliability of 0.962. The data were analyzed using the calculations of frequencies, percentages, means and standard deviations as well as multiple regression analysis.

The findings indicated that

Self–Directed Development had the highest influence on the overall teaching performance with a positive correlation and could significantly account for 8.5% of the variance in the overall performance (p = .000). The supervision model with the second highest influence was, Administrative Monitoring that a positive correlation and could significantly explain 2.2% of the variance (p = .001), follow by Cooperative Professional Development significantly explaining 1.4% of the variance (p = .008) with a positive correlation. Clinical Supervision however did not have a significantly influence on the overall teaching performance. It was also found that Self-Directed Development had the highest influence on all examined aspects of the teachers’ teaching performance

คำสำคัญ

รูปแบบการนิเทศ, การปฏิบัติหน้าที่สอน, ครูที่สอนไม่ตรงวิชาเอก, โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก

Keyword

Instructional Supervision Model, Teaching Performance, Major Mismatch Teacher, Small-sized Primary Schools

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093