...
...
เผยแพร่: 1 ก.ย. 2564
หน้า: 225-233
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 420
Download: 198
Download PDF
การศึกษาศักยภาพครูที่มีสมรรถนะของครูยุคใหม่สำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กรณีศึกษา: โรงเรียนยโสธรพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
A Study of the Teacher Potential of Modern Teachers for 21st Century Learning Of mathematics teachers. Case Study: Yasothon Pittayakom School Under the Office of the Secondary Educational Service Area 28
ผู้แต่ง
ลลิตวดี บุญแซม, จิตติมาภรณ์ สีหะวงษ์, เมธี วิสาพรม, ปกรณ์ชัย สุพัฒน์
Author
Lalitawadee Boonsaem, Jittimaporn Sihawong, Methee Wisaprom, Pakornchai Supat

บทคัดย่อ

การศึกษาศักยภาพครูที่มีสมรรถนะของครูยุคใหม่สำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กรณีศึกษา : โรงเรียนยโสธรพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 มีจุดประสงค์ สามประการคือ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพครูที่มีสมรรถนะของครูยุคใหม่สำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อศึกษากระบวนการนำไปใช้หลังการอบรมหลักสูตรเพิ่มศักยภาพครูให้มีสมรรถนะของครูยุคใหม่สำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาของครูให้มีสมรรถนะของครูยุคใหม่สำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร จำนวน 1 คน และครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรเพิ่มศักยภาพครูให้มีสมรรถนะของครูยุคใหม่สำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่  21 จำนวน 14 คน โรงเรียนยโสธรพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 วิธีการศึกษาการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยทำการศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ และยืนยันข้อมูลเพื่อความเชื่อมั่นของการศึกษา ผู้วิจัยทำการศึกษาจากเอกสารโครงการพัฒนาสมรรถนะของครูยุคใหม่สำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การสัมภาษณ์รวมถึงกระบวนการสนทนากลุ่ม (Focus group) ผู้บริหาร และครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์ผู้ผ่านการอบรม

ผลการวิจัย พบว่า

1. ศักยภาพของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โรงเรียนยโสธรพิทยาคม ในการปฏิบัติงานมีความพร้อมสูง มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติการสอนและการนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปสู่การปฏิบัติและสามารถถ่ายทอดเชื่อมโยงให้กับครูที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมตามโครงการ 

2. กระบวนการนำไปใช้หลังการอบรมแบ่งออกเป็น สองขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนแรก ได้แก่ การออกแบบแผนที่นำความรู้ไปสู่การขยายผลของเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ตลอดจนการเชื่อมโยงเพื่อทำการสอนในรายวิชาอื่น ๆ และขั้นที่สอง ได้แก่ การจัดการเรียนรู้โดยเน้นการใช้สมรรถนะในรายวิชาคณิตศาสตร์ตามข้อกำหนดของโครงการและนำไปสู่การขยายการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาต่าง ๆ เพิ่มขึ้น

3. ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาที่พบจากการศึกษา ได้แก่ การเข้าใจไม่ตรงกัน การใช้เวลามากเกินไปทำให้เกิดปัญหาในการจัดการเรียนรู้ และการใช้สื่อกับเนื้อหาที่ไม่สอดคล้อง แนวทางการแก้ปัญหา หน่วยงานที่จัดอบรมควรมีคู่มือการจัดอบรมที่ตรงตามหลักสูตรและควรมีการปรับสื่อให้มีความสอดคล้องกับเนื้อหา

Abstract

There were 3 aims for a Study of the Teachers Potential of Modern for 21st Century Learning of Mathematics Teachers: Case Study: Yasothon Pittayakom School under the Office of the Secondary Educational Service Area 28. This research’s aims were 1) to study the teachers’ potential of Modern Teachers for 21st Century Learning. 2) To study the implement processes of the teachers’ potential of Modern Teachers for 21st Century Learning after they had trained it. 3) To study problems and problem solving of teachers to have potential as a Modern Teachers for 21st Century Learning. The samples in this research an administrator and 14 Mathematics teachers of Yasothon Pittayakom School under the Office of the Secondary Educational Service Area 28. The methodology of this research was a Quality Research used Interviewing and Focus group of participants included Mathematics teachers and an administrator who had trained and Teacher Potential of Modern Teachers for 21st Century Learning.

The research found that:

1. To study the teachers’ potential of Modern for 21st Century Learning found they were increase in high deadliness and concentrated in teaching what they had trained, in addition, they passed it on to the teachers who missed to attend the project.

2. To study the implement processes of the teachers’ potential of Modern for 21st Century Learning after they had trained it divided into two steps: firstly, they used this knowledge to expand contents in all subjects. Secondly, there was an expandable knowledge of PISA plan making for teachers who hadn’t trained The Teacher Potential of Modern Teachers for 21st Century Learning.

3. problems and solving of teachers to have potential as a Modern for 21st Century Learning, the problems were misunderstanding, spend too much time in learning management, abused learning materials with contents. The problem solving for teachers to have potential as a Modern Teachers for 21st Century Learning were the seminar organizer should provide seminar manuals relevant to the curriculum. In addition, the seminar organizer should improve materials relevant to contents

คำสำคัญ

ศักยภาพครู, สมรรถนะของครูยุคใหม่, โรงเรียนยโสธรพิทยาคม, สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28

Keyword

Teacher Potential, Modern Teachers, Yasothon Pittayakom School, Under the Office of the Secondary Educational Service Area 28

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093