บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น สูงและต่ำ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในสถานศึกษากลุ่มเมืองสวนสมเด็จ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 สูงและต่ำ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการศึกษาครั้งนี้ ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 5 คน หัวหน้าวิชาการ จำนวน 5 คน ครู จำนวน 5 คน ผู้ปกครอง จำนวน 5 คน และนักเรียนจำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น 30 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ ตรวจสอบข้อมูลโดยใช้เทคนิคสามเส้า (Data triangulation) เพื่อพิสูจน์ข้อมูลที่ผู้วิจัยได้มาถูกต้องทั้งด้านเวลา สถานที่ และความแตกต่างของบุคคลเป็นข้อสรุปที่ต่างกัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในสถานศึกษากลุ่มเมืองสวนสมเด็จ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยคะแนนสอบของนักเรียนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในระดับชาติ เมื่อจำแนกรายโรงเรียนพบว่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยในระดับชาติ จำนวน 3 โรงเรียน และต่ำกว่า ค่าเฉลี่ยในระดับชาติ จำนวน 2 โรงเรียน
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในสถานศึกษากลุ่มเมืองสวนสมเด็จ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 ให้ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง 1) ด้านผู้บริหาร ที่สำคัญคือ นโยบายการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพทางวิชาการของโรงเรียนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น 2) ด้านหลักสูตร ที่สำคัญคือ การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรมีการวางแผนการจัดหลักสูตร การจัดระบบข้อมูลโรงเรียน จัดตารางเรียนแผนการบริหารงานวิชาการ 3) ด้านครู ที่สำคัญคือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน 4) ด้านนักเรียน ที่สำคัญคือ ความรู้พื้นฐานเดิมของนักเรียนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง 5) ด้านผู้ปกครอง ที่สำคัญคือ ผู้ปกครองมีการส่งเสริมด้านการเรียนของนักเรียนดี และปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โดยรวมอยู่ในระดับต่ำ 1) ด้านผู้บริหาร ที่สำคัญคือ นโยบายการบริหารในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ยังไม่ชัดเจน 2) ด้านหลักสูตร ที่สำคัญคือ การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 3) ด้านครู ที่สำคัญคือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู ครูมีเวลาจัดการเรียนการสอนไม่เพียงพอ 4) ด้านนักเรียน ที่สำคัญคือ ความรู้พื้นฐานเดิมของนักเรียนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่ำ5) ด้านผู้ปกครองที่สำคัญ คือ การส่งเสริมด้านการเรียนของนักเรียน ผู้ปกครองขาดความเอาใจใส่ ไม่มีเวลาให้
3. แนวทางการแก้ไขผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในสถานศึกษากลุ่มเมืองสวนสมเด็จ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 ในระดับสูง คือ 1) แนวทางแก้ไข คือ สร้างความตระหนักให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET 2) โรงเรียนจะต้องมีการจัดระบบข้อมูลของโรงเรียนให้เป็นปัจจุบันและเหมาะสมกับสถานศึกษาอยู่เสมอ 3) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจะต้องมีการวางแผน การออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน 4) ให้มีการแบ่งกลุ่มนักเรียนตามระดับความรู้พื้นฐาน เพื่อจะได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เหมาะสบกับนักเรียนแต่ละคน 5) ครูดูแลอย่างใกล้ชิด และแนวทางแก้ปัญหาโรงเรียนที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำ คือ 1) แนวทางแก้ไข คือ วางแผนการสอนตามตัวชี้วัดของข้อสอบและสอนเสริมเพื่อเตรียมความพร้อมให้มากขึ้น 2) มีการวางแผนออกแบบกิจกรรมให้ตรงกับตัวชี้วัดที่จะทดสอบให้เหมาะสมกับเวลา และให้มีการสอนเสริมเพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบ O-NET 3) จัดให้มีการเรียนเสริมนอกเวลา สร้างความตระหนักให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการสอบ O-NET นำสื่อและเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ทันสมัยมาใช้ 4) การสอนเสริมปรับความรู้พื้นฐานก่อนที่สอบ O-NET และสร้างข้อตกลงร่วมกัน 5) กำกับติดตามนักเรียนที่มีปัญหาด้านการเรียน
Abstract
The purposes of this research were: 1) to analyze the results of Ordinary National Education Test (O-NET) of junior high school students; 2) to analyze factors which affected to the results of Ordinary National Education Test (O-NET) of junior high school students; and 3) to analyze solution to improve the results (which were lower and higher than national average score) of Ordinary National Education Test (O-NET) of junior high school students in Group of Schools around Muang Suan Somdet under Sisaket Primary Educational Service Area office 1. This paper is qualitative research by doing in-depth interview. Main informants are 5 school executives, 5 heads of academic department, 5 teachers, 5 parents and 10 students (30 people). Tools of this research were interviewing forms, data triangulation to prove the correctness of gained data such as time, place and individual differences which reflected differences summaries, and content analysis.
The results showed that:
1. The results of Ordinary National Education Test (O-NET) of junior high school students in Group of Schools around Muang Suan Somdet 1 showed that average scores of students in was lower than national average. And after classifying by schools, the author 3 schools were higher than the national average and 2 schools were lower than the national average.
2. Factors which affected to high results of Ordinary National Education Test (O-NET) of junior high school students in Group of Schools around Muang Suan Somdet under Sisaket Primary Educational Service Area office 1 factors which affected to hight results of Ordinary National Education Test (O-NET) are 1) executives and administrative policies to develop academic matters of schools to shift academic achievement of students; 2) curriculum for class management which was planned with curriculum design, school database and schooling schedule following academic administration; 3) teachers: teachers had a learning management plan that designed learning activities to promote learning skills of the learners, there was the providing of classroom condition to promote appropriate learning; 4) students: they got high basic knowledge and high motivation; and 5) parents: they gave the very good supports to their kids. And, factors which affected to low results of Ordinary National Education Test (O-NET) are 1) executive: unclear policies for Ordinary National Education Test (O-NET) development; 2) curriculum: there was constantly changing; 3) teachers: teachers had lack of time to manage their class, most teachers’ teaching behavior still used a narrative teaching method to focus on the child's memorization and teachers' qualifications did not meet the teaching/teachers in the subject groups which resulting of the unclear content before doing Ordinary National Education Test (O-NET) – experienced teachers did it better at this point; 4) students: they got low basic knowledge and low motivation; and 5) parents: there gave lack of attentiveness and time for their kids.
3. solution to improve the results, which were high, of Ordinary National Education Test (O-NET) of junior high school students in Group of Schools around Muang Suan Somdet under Sisaket Primary Educational Service Area office 1 are: 1) promote understanding about the importance of Ordinary National Education Test (O-NET); 2) schools must maintain school information system that is up to date and suitable for educational institutions at all times; 3) the organization of teaching and learning activities should be planned by learning design to suit the learners; 4) students should be divided according to the level of basic knowledge, in order to provide a learning experience that is suitable for each student; 5) teachers should monitor students closely to improve their performances. Apart from that, solutions were suggested as follow; 1) manage teaching plans based on test indicators and manage supplementary class for more preparation; 2) the activities should be planned to meet the aims of indicators to be tested timely, and provide supplementary instruction to prepare for Ordinary National Education Test (O-NET); 3) arrange for part-time supplementary classes to raise students' awareness of the importance of Ordinary National Education Test (O-NET) by adapting modern media and technology; 4) arrange for extra tutoring adapts the fundamentals before the Ordinary National Education Test (O-NET); and 5) Monitor students with academic problems
คำสำคัญ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET), นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นKeyword
Factors Which Affected to the Results of Ordinary National Education Test (O-NET), high school students, under Sisaket Primary Educational Service Area office 1กำลังออนไลน์: 78
วันนี้: 1,656
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 56,855
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093