...
...
เผยแพร่: 1 ก.ย. 2564
หน้า: 197-205
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 349
Download: 186
Download PDF
ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการและครูอัตราจ้างในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
Job Performance Morale of Temporary Teacher Employees in Schools Under Secondary Educational Service Area Office 23
ผู้แต่ง
วรารัตน์ งันลาโสม, ปรีชา คัมภีรปกรณ์, รัชฎาพร งอยภูธร
Author
Wararat Nganlasom, Preecha Kampirapakorn, Rutcadaporn Ngoipoothon

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ และครูอัตราจ้างในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 2) เพื่อเปรียบเทียบขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการและครูอัตราจ้างในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ตามความคิดเห็นของพนักงานราชการและครูอัตราจ้างที่มีเพศ ประสบการณ์การปฏิบัติงาน และขนาดของโรงเรียนแตกต่างกัน และ 3) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการและครูอัตราจ้างในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่ พนักงานราชการและครูอัตราจ้างในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ปีการศึกษา 2562 รวมทั้งสิ้น 108 คน เครื่องเมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์โดยคุณภาพของเครื่องมือที่เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น .958 และมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .777 - .923 สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (\bar{x}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิตที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One -way ANOVA) ใช้สถิติทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples

ผลการวิจัย พบว่า

1. ขวัญและกำลังใจการปฏิบัติงานของพนักงานราชการและครูอัตราจ้างในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 พบว่า ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการและครูอัตราจ้างในโรงเรียนตามความคิดเห็นของพนักงานราชการและครูอัตราจ้าง อยู่ในระดับมาก

2. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับขวัญและกำลังใจการปฏิบัติงานของพนักงานราชการและครูอัตราจ้างในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ตามความคิดเห็นของพนักงานราชการและครูอัตราจ้างจำแนกตามเพศ โดยรวม พบว่า ขวัญและกำลังใจการปฏิบัติงานของพนักงานราชการและครูอัตราจ้างมีระดับความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความสำเร็จ มีระดับความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับขวัญและกำลังใจการปฏิบัติงานของพนักงานราชการและครูอัตราจ้างในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน โดยรวม พบว่า ขวัญและกำลังใจการปฏิบัติงานของพนักงานราชการและครูอัตราจ้าง ตามความคิดเห็นของพนักงานราชการและครูอัตราจ้าง มีระดับความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการยอมรับนับถือ ด้านความรักใคร่ผูกพัน ด้านความสำเร็จ และด้านการพัฒนาตนเอง มีระดับความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับขวัญและกำลังใจการปฏิบัติงานของพนักงานราชการและครูอัตราจ้างในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวม พบว่า ขวัญและกำลังใจการปฏิบัติงานของพนักงานราชการและครูอัตราจ้าง ตามความคิดเห็นของพนักงานราชการและครูอัตราจ้าง มีระดับความคิดเห็นไม่แตกต่าง

5. แนวทางการพัฒนาขวัญและกำลังใจการปฏิบัติงานของพนักงานราชการและครูอัตราจ้างในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการดำรงชีพ ควรเพิ่มและดูแลสวัสดิการต่าง ๆ ให้แก่พนักงานราชการและครูอัตราจ้าง 2) ด้านการยอมรับนับถือ ควรยกย่อง ชมเชย พนักงานราชการ และครูอัตราจ้างให้เท่าเทียมกับข้าราชการตามคุณภาพงาน 3) ด้านสภาพการทำงาน ควรมีการประชุมรับฟังความคิดเห็นของพนักงานราชการ และครูอัตราจ้างอย่างน้อยเดือนละครั้ง 4) ด้านความมั่นคงปลอดภัย ควรมีการประเมินและพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาชีพ

Abstract

The purposes of this research were to: 1) examine work morale of government employees and temporary teachers in schools under Secondary Educational Service Area Office 23, 2) to compare work morale of government employees and temporary teachers in schools under Secondary Educational Service Area Office 23, as perceived by government employees and temporary teachers with different gender, work experiences, and school sizes, and 3) to establish guidelines for improving work morale of government employees and temporary teachers in schools under Secondary Educational Service Area Office 23. The sample consisted of government employees and temporary teachers in schools under Secondary Educational Service Area Office 23 in the academic year 2019, yielding a total of 108 participants. The research instruments included a set of questionnaires with a reliability of .958 and predictive power ranging between .777 and .923, and interview forms. The statistics for data collection were frequency, percentage, mean, and standard deviation. The hypothesis testing was done through One-way ANNOVA, and t-test for Independent Samples.

The findings were as follows:

1. The work morale of government employees and temporary teachers in schools under Secondary Educational Service Area Office 23, as perceived by the participants, was at a high level.

2. The work morale of government employees and temporary teachers in schools under Secondary Educational Service Area Office, a 23, as perceived by the participants with different gender, was not different overall. When considering each aspect, the perceived success aspect was different at a significant level of .05.

3. The work morale of government employees and temporary teachers in schools under Secondary Educational Service Area Office 23, as perceived by the participants   with different work experiences was different at a significant level of .05. When considering each aspect, acceptance, affectionate and commitment, success, and self-development aspects were different at a significant level of .05.

4. The work morale of government employees and temporary teachers in schools under Secondary Educational Service Area 23, as perceived by participants showed no difference overall.

5. The guidelines for work morale development of government employees and temporary teachers in schools under Secondary Educational Service Area Office 23 involved four aspects: 1) Social welfare: Schools should provide other subsidies and additional living allowances paid to government employees and temporary teachers, 2) Respect: Schools should have equal opportunities in terms of appraisal processes for government employees and temporary teachers, matching weighting processes for government officials on the evidence of work performance quality, 3) Working conditions: Schools should hold regular meetings at least once a month for employees’ inputs, and 4) Employment security: Schools should implement performance assessments and enhancement professional development.

คำสำคัญ

ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน, พนักงานราชการ, ครูอัตราจ้าง

Keyword

Work Morale, Government Employees, Temporary Teachers

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093