บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษางานวิจัยด้านนวัตกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา และ 2) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลของนวัตกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยใช้การวิเคราะห์อภิมาน กลุ่มตัวอย่างเป็นงานวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษา ที่เป็นงานวิจัยในมหาวิทยาลัยของรัฐภายในประเทศ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2550 – 2560 ที่สามารถสืบค้นได้จากฐานข้อมูล ThaiLIS จำนวน 46 เล่ม เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย 2) แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย และ 3) คู่มือลงรหัสงานวิจัย การคำนวณหาค่าขนาดอิทธิพลผู้วิจัยใช้สูตรของ Glass และ Becker สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของคุณลักษณะงานวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพล เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าขนาดอิทธิพลโดยใช้ Kruskal – Wallis Test (H - test) และเปรียบเทียบนวัตกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ t-test for Iindependent Samples
ผลการวิจัย พบว่า
1. งานวิจัยทั้ง 46 เรื่อง มีการศึกษามากที่สุดคือ ปี พ.ศ. 2551 โดยมหาวิทยาลัยที่มีจำนวนงานวิจัยมากที่สุดคือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สาขาวิชาที่ศึกษามากที่สุดคือสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ระดับชั้นของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามากที่สุดคือ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การตั้งสมมติฐานของงานวิจัยเป็นแบบมีทิศทางมากที่สุด งานวิจัยส่วนใหญ่ไม่ระบุการควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน การออกแบบงานวิจัยเชิงทดลองเป็นแบบ one group pretest-posttest design มากที่สุด วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบการสุ่มอย่างง่ายมากที่สุด งานวิจัยส่วนใหญ่ไม่มีการสุ่มหน่วยตัวอย่างเข้าสู่กลุ่มทดลอง งานวิจัยส่วนใหญ่ไม่มีการสุ่มตัวแปรจัดกระทำ เครื่องมือที่ใช้ในการทำการทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้มากที่สุด การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือมีการตรวจสอบทั้ง 4 ด้าน คือ ความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่น ความยากง่าย และอำนาจจำแนก ชนิดความเที่ยงของงานวิจัยส่วนใหญ่ใช้แบบ Kuder-Richardson ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บข้อมูลมากที่สุดอยู่ในช่วงระหว่าง 10 - 20 ชั่วโมง ใช้สถิติ t–test dependent ในการตรวจสอบสมมติฐานมากที่สุด การทดสอบระดับนัยสำคัญทางสถิติ แตกต่างกันที่ระดับ .05 มากที่สุด นวัตกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ใช้นวัตกรรมด้านรูปแบบการสอน/เทคนิคการสอนมากที่สุด
2. เปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพลของนวัตกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ พบว่า ค่าขนาดอิทธิพลของนวัตกรรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นวัตกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ดีที่สุด คือ นวัตกรรมด้านรูปแบบการสอน/เทคนิคการสอน รองลงมา คือ นวัตกรรมด้านสื่อสิ่งพิมพ์ นวัตกรรมด้านกิจกรรม และนวัตกรรมด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตามลำดับ
3. นวัตกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ระหว่างนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ t-test for Independent Samples พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
The purposes of this research were to: 1) investigate research studies on innovations of learning process management for developing learning achievement in English subjects of secondary school students, and 2) compare the mean-difference effect sizes of selected research studies, using a meta-analysis approach. The research sample consisted of 46 postgraduate theses at the graduate level in Thai public universities, during the years 2007 - 2017 in ThaiLIS online database. The instruments consisted of 1) a research quality assessment form, 2) a research characteristic recording form, and 3) a coding manual. To measure the research effect sizes, Glass and Becker’s formulas were employed. The statistics for fundamental data analysis of research characteristics were percentage, mean, standard deviation. The analysis of mean-difference effect sizes was done through Kruskal-Wallis Test (H-test), and the comparison of innovations of learning process management for developing learning achievement of secondary school students at lower and upper levels was calculated using t-test for Independent Samples.
The findings were as follows:
1. The fundamental data of the 46 selected research studies revealed that the studies were published in 2008. The research institute that produced the most number studies was Mahasarakham University. The curriculum and instruction programs were the most research produced sources. The largest number of the studied subjects were Mathayomsuksa 3 students. The selected research studies mostly presented research hypotheses in a directional format. A simple random sampling was employed the most. The one-group pretest-posttest research design was mostly used. The control extraneous variables were not identified in most of the selected studies. The majority of the selected research studies did not employ both random assignment and treatment variables. A high number of the selected studies oriented toward teaching models/techniques. The lesson plans were mostly implemented with the experiment period of 10 to 20 hours. The quality assessment tools in terms of validity, reliability, difficulty, and discriminative power were mostly used. The reliability type used in most studies was Kuder-Richardson formulas. The t – test for Dependent Samples for hypothesis testing with the level of statistical significance of .05 level were the most employed method. The most employed innovation for learning process management was teaching model/techniques.
2. Comparison of the mean-difference effect sizes of the selected research studies revealed that there was statistically significance difference at .05 level. The best innovations of learning process management affecting learning achievement were teaching model/techniques, followed by printed medias, activities, and electronic medias, respectively.
3. Innovations of learning process management for developing learning achievement of secondary school students at lower and upper levels were analyzed using t-test for Independent Samples. The result revealed that there was no statistically significant difference of .05 level
คำสำคัญ
การสังเคราะห์งานวิจัย, นวัตกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้Keyword
Synthesis of Research Studies, Innovations of Learning Achievement Managementกำลังออนไลน์: 240
วันนี้: 1,349
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 14,935
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093