บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อการศึกษาประสิทธิผลการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน และ 3) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร ครูธุรการและครูผู้รับผิดชอบเทคโนโลยีสารสนเทศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำนวน 327 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ คุณภาพของแบบสอบถาม มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.33-0.72 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ระดับประสิทธิผลการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งแตกต่างกัน พบว่า ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และ ด้านเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม โดยรวมมีระดับความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
3. ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียน จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน พบว่าด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และด้านเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม โดยรวมมีระดับความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
4. ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียน จำแนกตามโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน พบว่า ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และด้านเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม โดยรวมมีระดับความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
5. แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียน เสนอไว้ 3 ด้านที่ต้องพัฒนา ประกอบด้วย 1) ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สำหรับการบริหารงานวิชาการ 2) ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สำหรับการบริหารงานบุคคล และ 3) ด้านเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมสำหรับการบริหารงานบุคคล
Abstract
The purposes of this research were to: 1) examine the effectiveness of information technology application for school administration, 2) To compare the effectiveness of information technology application for school administration, classified by participants’ positions, work experience, and school sizes, and 3) establish the guidelines for developing the effectiveness of information technology application for school administration. The sample group, selected through multi-stage random sampling, consisted of administrators, clerical teachers, and teachers in charge of information technology under the Bueng Kan Primary Educational Service Area Office, yielding a total of 327 participants. The research instruments for data collection included a set of questionnaires and an interview form. The quality of the questionnaire had a discriminative power between 0.33 and 0.72, and a reliability of 0.94. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and One-Way ANOVA.
The findings were as follows:
1. The effectiveness of information technology application for school administration as a whole and in each aspect was at a high level.
2. The effectiveness of information technology application for school administration classified by participants’ positions revealed that the opinion level in terms of computer technology and telecommunication technology as a whole was rated at a significance level of .01.
3. The effectiveness of information technology application for school administration classified by participants’ work experience revealed that the opinion level in terms of computer technology and telecommunication technology as a whole was rated at a significance level of .01.
4. The effectiveness of information technology application for school administration classified by participants’ school sizes revealed that the opinion level in terms of computer technology and telecommunication technology as a whole showed no difference.
5. The guidelines for developing the effectiveness of information technology application for school administration proposed three aspects needing improvement: 1) computer technology for academic administration, 2) computer technology for personnel administration, and 3) telecommunication technology for personnel administration
คำสำคัญ
การบริหารงานในโรงเรียน, การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศKeyword
School Administration, Information Technology Applicationกำลังออนไลน์: 153
วันนี้: 1,253
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 14,839
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093