บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบด้านการจัดการเรียนรู้การอ่านออกเขียนได้ 2) สร้างและพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้การอ่านออกเขียนได้ 3) หาประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้การอ่านออกเขียนได้ กระบวนการพัฒนาหลักสูตร มี 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาองค์ประกอบการจัดการเรียนรู้การอ่านออกเขียนได้ ประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องการวิจัยเชิงสำรวจ และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 2) การจัดทำร่างและสร้างหลักสูตรการอ่านออกเขียนได้ ซึ่งเป็นหลักสูตรการจัดการเรียนรู้การอ่านออกเขียนได้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 และเอกสารคู่มือประกอบการใช้หลักสูตร 3) การทดลองใช้หลักสูตรการอบรม โดยกำหนดพื้นที่ศึกษากับโรงเรียนเครือข่ายผลิตครูสู่ความเป็นเลิศของจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 9 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 รวมจำนวน 120 คน และ 4) ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้การอ่านออกเขียนได้ เพื่อตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรการอบรมโดยประเมินผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องแล้วนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงหลักสูตรการอบรมฉบับสมบูรณ์
ผลการวิจัย พบว่า
1. หลักสูตรการอบรมมีองค์ประกอบที่สำคัญ 7 องค์ประกอบ คือ ความสำคัญของการพัฒนาหลักสูตรการอบรม หลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้อหาวิชา กระบวนการจัดการเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ผลการประเมินด้านความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ครูผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจด้านผู้วิจัย และด้านผู้เรียนในระดับมากที่สุด ด้านเอกสารหลักสูตรครูผู้สอน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนสรุปได้ดังนี้
2. ผู้เรียนมีผลการพัฒนาฝึกทักษะการอ่านออกเขียนได้ โดยผลการทดสอบปรากฏว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถด้านการอ่านออกเขียนได้ของผู้เรียนหลังทดลองใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนทดลองใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
3. ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระการเรียนรู้ภาษาไทย จากการทดสอบหลังการทดลองใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
Abstract
The Purposes of this research were to 1) Study the elements of literacy learning management 2) Create and develop a curriculum for writing learning management 3) Find the effectiveness of writing learning management. The curriculum development process consists of 4 steps: 1) study elements of literacy learning management. Contains the study of documents Related research, survey research and interviewing experts 2) drafting and creating literacy courses This is a literacy learning management course in grade 1-3 and documentation for using the curriculum. 3) Trial of the training course. The study area was defined with 9 schools, a network of teacher production for excellence in Mae Hong Son Province. The sample group consisted of 120 students in primary school grades 1-3, semester 1, academic year 2020, totaling 120 students and 4) effectiveness of learning management Literacy To examine the quality of the training course by assessing the results of the learners, the satisfaction of the relevant persons, and then using the information obtained to improve the complete training course.
The results of the research were as follows:
1. The training curriculum has seven important components: the importance of training curriculum development, principles, objectives, subject content, learning management process. Media and learning resources Measurement and evaluation the results of the satisfaction assessment of the stakeholders Overall, it is at a high level. And when considering each aspect, it was found that the teachers involved were satisfied with the researcher. And the learner at the highest-level Teacher curriculum documents Their satisfaction was at a high level. The results that occurred with the learners were summarized as follows.
2. Learners have results in developing literacy skills. The results showed that the average of the learners' literacy score after the course was significantly higher than before the trial at the .05 level.
3. Average of academic achievement scores Thai language learning materials the post-trial test was statistically significantly higher than the pre-test at the .05 level
คำสำคัญ
หลักสูตร, การจัดการเรียนรู้, การอ่านออกเขียนได้Keyword
Curriculum, Learning Management, Literacyกำลังออนไลน์: 315
วันนี้: 1,465
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 15,051
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093