...
...
เผยแพร่: 16 มิ.ย. 2564
หน้า: 311-320
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 554
Download: 225
Download PDF
รูปแบบการบริหารโดยองค์คณะบุคคลแบบบูรณาการ ของเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ
An Integrated Administration Model of Executive Committee in Primary Educational Service Area Office Sisaket Province
ผู้แต่ง
พงษ์ศักดิ์ ทองพันชั่ง
Author
Pongsak Tongpanchang

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อสร้างรูปแบบการบริหารโดยองค์คณะบุคคลแบบบูรณาการ ของเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดศรีสะเกษ โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อ 1) ศึกษาแบบของการบริหารโดยองค์คณะบุคคลของเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่เป็นเลิศ 2) ศึกษาสภาพการบริหารโดยองค์คณะบุคคลแบบบูรณาการของเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 3) สร้างรูปแบบการบริหารโดยองค์คณะบุคคลแบบบูรณาการ ของเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ 4) ประเมินรูปแบบการบริหารโดยองค์คณะบุคคลแบบบูรณาการ ของเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา  

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการกลุ่ม ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน ครูวิชาการ กรรมการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ ทั้ง 4 เขต รวมจำนวน 446 คน ผู้วิจัยได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

1. การบริหารโดยองค์คณะบุคคลของเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่เป็นเลิศ จำแนกได้ 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ด้านหลักการบริหารมี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การกำหนดวัตถุประสงค์ 2) การกำหนดผู้รับผิดชอบ 3) การมียุทธศาสตร์ในการทำงาน 4) การทำงานเป็นทีม 5) การมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ 6) การมีค่านิยมร่วม และ 7) การกำกับ ติดตามและประเมินผล ส่วนที่ 2 ด้านกิจกรรมที่ส่งเสริมการบริหาร มี 3 กิจกรรม ได้แก่ 1) การประชุม อบรม สัมมนา 2) การพบปะกันอย่างไม่เป็นทางการและ 3) การประชาสัมพันธ์

2. สภาพการบริหารโดยองค์คณะบุคคลแบบบูรณาการ ของเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พบว่า สภาพการปฏิบัติจริงโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพการปฏิบัติที่คาดหวังโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งนี้ ลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNI) พบว่า มีค่ารวมเฉลี่ย = 0.24 ส่วนสภาพการจัดกิจกรรมส่งเสริมการบริหารโดยองค์คณะบุคคลแบบบูรณาการของเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พบว่า โดยภาพรวมมีการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก

3. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารโดยองค์คณะบุคคลแบบบูรณาการ ของเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พบว่า มีองค์ประกอบหลัก 7 ประการ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) องค์ประกอบการบริหาร 4) กิจกรรมส่งเสริมการบริหาร 5) การนำรูปแบบไปใช้ 6) การประเมินผล และ 7) เงื่อนไขความสำเร็จ

4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารโดยองค์คณะบุคคลแบบบูรณาการ ของเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พบว่า โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน ทั้งด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์

Abstract

The general objective of this research was to create an integrated administration model of executive committee in Primary Educational Service Area Office, Sisaket Province. The specific objectives included 1) to study the best practice in administration model of executive committee in Primary Educational Service Area Office, 2) to study the integrated administration state of executive committee in Primary Educational Service Area Office,  3) to create an integrated administration model of an executive committee in Primary Educational Service Area Office, and 4) evaluate the integrated administration model of an executive committee in Primary Educational Service Area Office in Sisaket Province.

The 446 subjects used in the research were school group directors in the Primary Educational Service Area Office, school administrators, academic teachers, committee of Primary Educational Service Area Office, sub-committee, government teachers, educational personnel in Primary Education Service Area Office, and auditors, evaluators, and educational supervision committee from four areas of the Primary Educational Service Area Office in Sisaket Province.  These sample subjects were selected by Proportional Stratified Random Sampling by using the positions as the sampling stratums. The instruments were interviews and questionnaires. The data were analyzed by using statistical package in terms of Frequency, Percentage, Mean, and Standard Division.

The findings were as follows:

1. The best practice in administration model of committee in Primary Educational Service Area Office were divided into 2 parts, namely, Part 1, principles of administration consisted of 7 components: 1) determining of objectives, 2) defining responsible person, 3) preparing work strategy, 4) team working, 5) focusing on achievement, 6) sharing values, and 7.) supervising; monitoring; and evaluation. Part 2, activities supporting administration consisted of 3 activities: 1) meetings; training; and seminars, 2) informal meetings, and 3) public relations.

2. The integrated administration state of committee in Primary Educational Service Area Office, revealed that the overall practical state was at moderate level. The overall expected operational state was at the highest level with the average Priority Needs Index (PNI) = 0.24. However, the overall condition of organizing activities promoting the administration of committee in Primary Educational Service Area Office was found that was at high level.

3. The results of creating an integrated administration model of an executive committee in Primary Educational Service Area Office compiled of 7 main components, consisted of: 1) principle, 2) objectives, 3) administrative components, 4) activities supporting administration, 5) implementation of the model, 6) evaluation, and 7) condition of success.

4. The overall evaluation of the administration model of an executive committee in Primary Educational Service Area Office as a whole found to be at high level in all aspects, which included suitability, feasibility, utility. level.

คำสำคัญ

องค์คณะบุคคล, การบูรณาการ, รูปแบบการบริหาร

Keyword

Executive Committee, Integrated, Administration Model

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093