...
...
เผยแพร่: 16 มิ.ย. 2564
หน้า: 266-276
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 611
Download: 197
Download PDF
การพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานในโรงเรียนบ้านสีสุกห้วยโมง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
The Development of Teachers’ Potential on Project Based Learning Management at Ban Seesuk Huaymong School under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง
อิศรา ปงผาบ, วัฒนา สุวรรณไตรย์, ภิญโญ ทองเหลา
Author
Isara Pongpab, Watana Suwannatrai, Pinyo Thonglao

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานของครูโรงเรียนบ้านสีสุกห้วยโมง 2) หาแนวทางการพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานในโรงเรียนบ้านสีสุกห้วยโมง และ 3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานในโรงเรียนบ้านสีสุกห้วยโมง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบ ประกอบด้วย การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย ประกอบด้วย ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย จำนวน 16 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 81 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกต แบบประเมิน แบบทดสอบ และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานของครูโรงเรียนบ้านสีสุกห้วยโมง พบว่า 1) สภาพที่พบ คือ โรงเรียนบ้านสีสุกห้วยโมงเป็นโรงเรียนคุณธรรม ต้องการให้ทุกคนมีส่วนร่วมในโครงงานคุณธรรม แต่ครูส่วนใหญ่จัดการเรียนการสอนแบบบรรยาย ไม่ใช้การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ขาดการฝึกกระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง กระบวนการกลุ่ม และขาดการวางแผนกิจกรรมแบบมีส่วนร่วม 2) ปัญหาการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน พบว่า ครูขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดทักษะในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน

2. แนวทางการพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานในโรงเรียนบ้านสีสุกห้วยโมง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2ประกอบด้วย 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและ 3) การนิเทศภายใน

3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูในจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานในโรงเรียนบ้านสีสุกห้วยโมง พบว่า

3.1 ผลที่เกิดกับครู 1) ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน มีคะแนนเฉลี่ยก่อนการพัฒนา (\bar{x} = 17.50) คิดเป็นร้อยละ 58.33 และคะแนนเฉลี่ยหลังการพัฒนา (\bar{x}  = 25.63) คิดเป็นร้อยละ 85.43 ซึ่งมีร้อยละเฉลี่ยความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นเท่ากับ 27.08 2) ครูมีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวม (\bar{x}  = 4.21) และผู้ร่วมวิจัยที่ดำเนินการพัฒนาในวงรอบที่ 2 เมื่อเปรียบเทียบผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน วงรอบที่ 1 กับวงรอบที่ 2 พบว่า โดยภาพรวมเพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.46 คิดเป็นร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 9.20 3) ครูสามารถจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวม (\bar{x}  = 4.27) และผู้ร่วมวิจัยที่ดำเนินการพัฒนาในวงรอบที่ 2 เมื่อเปรียบเทียบผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน วงรอบที่ 1 กับวงรอบที่ 2 พบว่า โดยภาพรวมเพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.53 คิดเป็นร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 10.50

3.2 ผลที่เกิดกับนักเรียน 1) นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ในการเรียนแบบโครงงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวม (\bar{x}  = 3.87) และ 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวม (\bar{x}  = 4.38)

Abstract

This purposes of this research were to: 1) investigate the conditions and problems concerning learning management based on the project-based learning (PBL) of teachers at Ban Seesuk Huaymong School; 2) establish the guidelines for developing teachers' potential on learning management based on PBL; and 3) follow up the effects after the intervention. The 2-spiral participatory action research was employed consisting of planning, action, observation, and reflection. The target group comprised a total of 16 teachers, including the researcher and co-researchers, and 81 informants. The research instruments were an observation form, an assessment form, a test, and an interview form. The statistics for data analysis included percentage, mean, and standard deviation. The contents were presented in the descriptive report.

The findings of the research were as follows:

1. The conditions and problems on learning management based on PBL of teachers at Ban Seesuk Huaymong School revealed that: 1) Teachers at Ban Seesuk Huaymong School, a moral school, were required to implement PBL in moral projects. However, most teachers employed lecture methods instead of PBL to enhance students’ ability in critical thinking. Moreover, teachers lacked information search skills, group work process, and participation in activity planning. 2) In terms of problems, teachers apparently lacked knowledge, understanding and skills in managing PBL into practice.

2. The guidelines for teachers’ potential development on PBL at Ban Seesuk Huaymong school under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2 included: 1) a workshop, 2) a professional learning community, and 3) an internal supervision.

3. The effects of the teachers’ potential development revealed that:

3.1 Teacher Quality, including 1) Teachers gained knowledge and understanding of PBL with the pre-intervention mean scores (\bar{x}  = 17.50) or 58.33 percent and the post-intervention mean scores (\bar{x}  = 25.63) or 85.43 percent, resulting in a 65.58 percent increase in the percentage of progress. In addition, the effects of the developed lesson plans on PBL as a whole were at a high level (\bar{x}  = 4.07). In addition, the assessment comparison results of the written lesson plans in the first and the second spiral showed that the overall increase of quality lesson plans was equal to 1.04 with the percentage of progress of 53.05. 3) Teachers integrated the PBL into practice in overall at a high level (\bar{x}  = 4.14). In addition, the assessment comparison results of the learning management concerning PBL in the first and the second spiral revealed the overall increase of mean scores by 1.03, representing the percentage of progress of 53.95.

3.2 Student Quality, including 1) Students' learning behaviors improved after the intervention at a high level (\bar{x}  = 3.87), and 2) Students satisfied with the developed instructional management at a high level (\bar{x}  = 4.38)

คำสำคัญ

การพัฒนาศักยภาพครู, การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน

Keyword

Teachers’ Potential Development, Project-Based Learning Approach

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093