บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและความต้องการในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน ของโรงเรียนแม่ทาวิทยาคม อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน 2) ศึกษาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากหน่วยงานที่มีผลการปฏิบัติที่ดีและเป็นเลิศ และ 3) เสนอแนวทางในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้านของโรงเรียนแม่ทาวิทยาคม อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน โดยใช้หลักการบริหารจัดการแบบสมดุล 4 มิติ คือ มิติที่ 1 ด้านโครงสร้างและแผนงาน มิติที่ 2 ด้านการมีส่วนร่วม มิติที่ 3 ด้านทรัพยากร และมิติที่ 4 ด้านการบริการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้าง และการประชุมเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปบรรยายแบบพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน ของโรงเรียนแม่ทาวิทยาคม อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน มีสภาพการบริหารจัดการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีสภาพการบริหารจัดการมิติที่ 1 ด้านโครงสร้างและแผนงานอยู่ในระดับมาก มิติที่ 2 ด้านการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากที่สุด มิติที่ 3 ด้านทรัพยากรอยู่ในระดับมาก และมิติที่ 4 ด้านการบริการอยู่ในระดับมากที่สุด และสภาพความต้องการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้อยู่ในระดับมากโดยมีความต้องการบริหารจัดการมิติที่ 1 ด้านโครงสร้างและแผนงานอยู่ในระดับปานกลาง มิติที่ 2 ด้านการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากที่สุด มิติที่ 3 ด้านทรัพยากรอยู่ในระดับมากและมิติที่ 4 ด้านการบริการอยู่ในระดับมาก
2. การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ประเภทพิพิธภัณฑ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นของหน่วยงานที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ มีการบริหารจัดการใน มิติที่ 1 ด้านโครงสร้างและแผนงาน โดยการจัดโครงสร้างการบริหารอย่างเป็นระบบ มีการกำหนดวิสัยทัศน์ และบริหารงานตามแผนงานที่วางไว้ มิติที่ 2 ด้านการมีส่วนร่วม เน้นการมีสวนร่วมของชุมชน สร้างเครือข่ายแหล่งเรียนรู้จากสถาบันการเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์ และปราชญ์ท้องถิ่น มิติที่ 3 ด้านทรัพยากร จัดบุคลากรปฏิบัติหน้าที่อย่างเหมาะสม บริหารงบประมาณตามแผนงาน จัดแสดงโบราณวัตถุ ป้าย นิทรรศการ และวีดิทัศน์ คัดแยกและบำรุงรักษาโบราณวัตถุอย่างถูกวิธี มิติที่ 4 ด้านการบริการ ไม่คิดค่าบริการสำหรับพระภิกษุ สามเณร นักบวช นักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ ผู้พิการ ผู้สูงอายุ หรือการเข้าชมเป็นหมู่คณะมีกิจกรรมบรรยายพิเศษ เอกสาร แผ่นพับ เว็บไซต์ (Website) และเฟซบุ๊ก (Face Book) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และประชาสัมพันธ์
3. แนวทางในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน ของโรงเรียนแม่ทาวิทยาคม อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน มิติที่ 1 ด้านโครงสร้างและแผนงาน จัดทำแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ โครงการและกิจกรรมที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ มิติที่ 2 ด้านการมีส่วนร่วม เชิญผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญในชุมชมสถาบันการศึกษา ร่วมเป็นวิทยากรพิเศษ มิติที่ 3 ด้านทรัพยากร กำหนดโครงสร้างและหน้าที่การปฏิบัติงาน เสนอของงบประมาณสนับสนุนจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จัดคลังโบราณวัตถุ ทำทะเบียนควบคุม จัดนิทรรศการและวีดิทัศน์ที่สอดคล้องกับโบราณวัตถุ มีการสาธิตวิธีการทำ วิธีการใช้งาน จัดมุมพักผ่อน และมุมถ่ายรูป มิติที่ 4 ด้านการบริการ จัดกิจกรรมบรรยายพิเศษ จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ จัดทำเอกสารประกอบการศึกษา จัดนิทรรศการเคลื่อนที่บริการชุมชนจัดชมรมมัคคุเทศก์ จัดทำเว็บไซต์ (Website) และเฟซบุ๊ก (Face Book) ประชาสัมพันธ์ และจัดจำหน่ายของที่ระลึกจากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น
Abstract
The objectives of this Mixed Method research were to 1) study the contexts and needs in Local Wisdom Museum resource management of Maethawittayakom School, Maetha district, Lamphum province 2) study museum and local wisdom resource management from other organizations with the best practice and 3) propose the local wisdom museum resource management guidelines. The four-dimensional management approaches were used in this research which are 1) structural and project management 2) participatory management 3) resource management and 4) service management. The instruments consisted of a questionnaire, unstructured observation, and workshop. The quantitative data were statistically analyzed for mean and standard deviation. The content analysis was used to analyze the qualitative data and research results are summarized as follows:
The findings were as follows:
1. The contexts of Local Wisdom Museum of Maethawitthayakom School were found to be at a high level. This results included the management in the 1st dimension: structural and project management at a high level the 2nd dimension: participatory management at the highest level the 3rd dimension: resource management at a high level, and the 4th dimension: service management at a high level. The needs of the museum were found to be at a high level. The needs in the 1st dimension: structural and project management were found at a moderate level, the 2nd dimension: participatory management at the highest level, the 3rd dimension: resource management at a high level, and the 4th dimension: service management at a high level.
2. For the organizations with best practices in museum and local wisdom management, it was found that they manage the 1st dimension systematically, set the vision, and follow their annual action plans. In the 2nd dimension, they focus on community participation and create learning resource networks with art and culture institute, museum, and local philosopher. In the 3rd dimension, they manage personnel with the duty appropriately, follow the budget plan, present antiques, display boards, and videos, and sort out and keep all antiques in a good condition. In the 4th dimension, there’s no service fees for those who are monks, students, disabled people, elders, and also the organization visiting. To get more information, the visitors will get a special lecture, document, brochure, or they can visit website or Facebook instead.
3. Guidelines for the local wisdom museum management in Maethawittayakom School are as follows: The 1st dimension is to make strategic plan and action plan which included learning development projects and activities. The 2nd dimension is to invite experts from local community or institute as a special lecturer. The 3rd dimension is to set the structure and duty, ask for budget from local government organization, prepare storehouse for antiques, make a control register, display exhibition and make a video matching with artifacts, demonstrate how to use each artifact, provide leisure corner and photography corner. The 4th dimension is to organize special lecture or learning activity, provide learning documents, set the traveling exhibition in community, set up a guide club, create website and Facebook fan page, advertise and sell souvenirs made from local products.
คำสำคัญ
การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้, พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้านKeyword
Resource Management, Museum Management Local Wisdomกำลังออนไลน์: 73
วันนี้: 1,694
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 56,893
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093