บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังของครูต่อการนิเทศการสอนครูไทยที่สอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และ เขต 2 กรุงเทพมหานคร 2) เสนอแนวทางการนิเทศการสอนเพื่อพัฒนาครูไทยที่สอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และเขต 2 กรุงเทพมหานคร ประชากร จำนวน 556 คน และผู้ให้ข้อมูล จำนวน 15 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง
ผลการวิจัย พบว่า
สภาพปัจจุบันการนิเทศการสอนครูไทยที่สอนภาษาจีน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ความคาดหวังการนิเทศการสอนครูไทยที่สอนภาษาจีน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดสอบค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็นที่มีค่าสูงสุด คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แนวทางการนิเทศการสอนครูไทยที่สอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และเขต 2 กรุงเทพมหานคร ประกอบไปด้วย ด้านหลักสูตร ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านการวัดและประเมินการเรียนรู้
Abstract
This study had 2 aims. 1) To study the current states and the expectations for instructional supervision of Thai teachers teaching Chinese language at secondary schools under the Secondary Educational Service Area Office 1 and 2 in Bangkok. 2) To propose instructional supervision guidelines for the development of Thai teachers who teach Chinese language at secondary schools under the Secondary Educational Service Area Office 1 and 2 in Bangkok. The population was 556 respondents and 15 interviewees. A 5-point Likert scale questionnaire and semi-structure interviews were used as the research instrument.
The results revealed that
regarding the current states of instructional supervision of Thai teachers teaching Chinese language, the area with the highest average was the learning measurement and evaluation which was at a high level. Respecting the expectations for instructional supervision of Thai teachers who teach Chinese language, the areas with the highest average were the teaching materials and the learning measurement and evaluation which were at the highest level. The PNI results suggested that the area of learning activity management was the most needed. The guidelines for instructional supervision of Thai teachers who teach Chinese language at secondary schools under the Secondary Educational Service Area Office 1 and 2 in Bangkok including
คำสำคัญ
การนิเทศการสอน, ครูไทยที่สอนภาษาจีนKeyword
Instructional supervision, Thai teachers who teach Chinese languageกำลังออนไลน์: 53
วันนี้: 1,783
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 56,982
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093