...
...
เผยแพร่: 10 ก.ค. 2562
หน้า: 242-251
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 522
Download: 200
Download PDF
รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3
Model of Network Development for Academic Cooperation: The Education Extension School, under The Office of Chaiyapume Primary Educational Service Area 3
ผู้แต่ง
พงษ์ศักดิ์ ดีอุดม, ประจิตร มหาหิง, สมลักษณ์ พรหมมีเนตร, วิเชียร รู้ยืนยง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายคือ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความสำคัญเกี่ยวกับการดำเนินงานเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 และ (3) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 3 การวิจัยมี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน เอกสาร แนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบ จัดทำร่างรูปแบบ ยืนยันรูปแบบโดยการสนทนากลุ่ม และจัดทำประชาพิจารณ์ ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ตามขอบข่ายภารกิจงานวิชาการในโรงเรียนซับใหญ่วิทยาคม โรงเรียนบ้านท่ากูบ โรงเรียนบ้านซับใหม่ และโรงเรียนบ้านบุฉนวน และระยะที่ 4 การประเมินการใช้รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ โดยประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความมีประโยชน์

ผลการวิจัย พบว่า

1. โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 มีสภาพการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการดำเนินงานเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางและเห็นความสำคัญเกี่ยวกับการดำเนินงานเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

2. ผลการพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) แนวทางในการส่งเสริมภารกิจของเครือข่าย (2) การกำหนดเป้าหมายร่วมกันของเครือข่าย (3) การพัฒนาสมาชิกของเครือข่าย (4)การเสริมสร้างพลังอำนาจของเครือข่ายและ (5) การสะท้อนผลของเครือข่าย ส่วนกระบวนการ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ร่วมกันวิเคราะห์ร่วมกันวางแผน (2) ร่วมกันกำหนดกรอบแนวคิดทิศทางเป้าหมาย (3) ร่วมกันสร้างร่วมกันพัฒนาเครือข่าย (4) ร่วมกันกำกับ/ ติดตามควบคู่การปฏิบัติงาน และ (5) ร่วมกันจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบ ด้านการนิเทศการศึกษา พบว่า ครูมีการจัดการเรียนรู้ดีขึ้นหลังจากได้รับการนิเทศและเห็นความสำคัญ/จำเป็นของรูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการอยู่ในระดับ มากที่สุด 4) ผลการประเมินรูปแบบพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ด้านความเหมาะสมความเป็นไปได้ และความมีประโยชน์ของของรูปแบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The objectives of this research were: (1) to study current situation and significance of implementation in network for academic cooperation of the Education Extension School, under jurisdiction of The Office of Chaiyapume Primary Educational Service Area 3, (2) to develop the Model for developing the network for academic cooperation of the Education Extension School, under jurisdiction of The Office of Chaiyapume Primary Educational Service Area 3, and (3) to evaluate the Model  for developing the network for academic cooperation of the Education Extension School, under jurisdiction of The Office of Chaiyapume Primary Educational Service Area 3.  There were 4 Phases of research including:  Phase 1; the analysis of basic information, document, approach, and related research literature, Phase 2; the development of Model, establishment of tentative Model, the confirmation of Model by Focus Group Discussion, and the establishment of Public Hearing, Phase 3; the trying out of Model for developing the network for academic cooperation based on framework of academic responsibility in Subyai Wittayakom School, Bantakob School, Bansabmai School, and Banbuchanuan School, and Phase 4; the evaluation in usage of Model for developing the network for academic cooperation by evaluating the Propriety, Feasibility, and Utility.

The research findings found that:

1. the Education Extension School, under jurisdiction of The Office of Chaiyapume Primary Educational Service Area 3, the situation of work practice in implementation of network for academic cooperation, in overall, was in “Moderate” level, and the opinion on significance in implementation of network for academic cooperation, in overall, was in “The Highest” level,

2. the guidelines for enhancing the network responsibility, (2) the determination of common goal of network, (3) the development of network member, (4) the empowerment of network, and (5) the reflection of network. For the process, it consisted of 5 steps including: (1) the cooperation in analyzing and planning, (2) the cooperation in determining the conceptual framework, direction, and goal, (3) the cooperation in constructing and developing the network, (4) the cooperation in monitoring/following up in aligned with work practice, and (5) the collaboration in sharing management, and 3) the findings of experimentation in trying out the Model in Educational Supervision, found that the teachers performed better knowledge management after obtaining the supervision as well as saw the significance/necessity of Model for developing the network for academic cooperation regarding to the Propriety, Feasibility, and Utility of the Model, in overall, was in “The Highest” level.

คำสำคัญ

รูปแบบการพัฒนาเครือข่าย, ความร่วมมือทางวิชาการ, โรงเรียนขยายเครือข่าย

Keyword

Model of Network, Academic Cooperation, The Education Extension School

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093