บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 โดยจำแนกตามสถานภาพ ประสบการณ์การปฏิบัติงาน และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 352 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 102 คน และครูผู้สอน จำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ
ผลการวิจัย พบว่า
1. องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนโดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของโรงเรียน พบว่า โดยรวมแตกต่างกัน อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถาน ศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน และขนาดของโรงเรียน พบว่า โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน
5. ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารด้านการทำงานเป็นทีม คิดริเริ่มสร้างสรรค์ และทักษะคิดวิเคราะห์มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
7. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนที่ควรได้รับการพัฒนา 3 ด้าน คือ การทำงานเป็นทีม คิดริเริ่มสร้างสรรค์ และคิดวิเคราะห์ วิธีการพัฒนาประกอบด้วยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์กรที่มีคุณภาพ และการนำกระบวนการ PLC มาใช้ในการทำงาน
Abstract
The purposes of this research aimed to examine and compare The School Administrators’ Creative Leadership Factors Affecting the Effectiveness of School Management: The Study of covered schools under the Office of Secondary Educational Service Area 21. Classified by status, Performance experience and the school sizes The sample, obtained through proportional stratified random sampling, were 102 directors, 250 teachers, yielding a total of 352 participants from Under the Office of Secondary Educational Service Area 21. The statistics for data analysis were percentage, mean and standard deviation. The hypothesis testing was done through t-test and F-test (One – Way ANOVA), Pearson’s product-moment correlation, and Stepwise multiple regression analysis.
The findings were as follows:
1. The Creative Leadership Factors, as perceived by participants were at a high level in overall.
2. The Effectiveness of School Management, as perceived by participants were at a high level in overall.
3. The Creative Leadership Factors, as perceived by participants from status Performance experience and the school sizes, showed statistical significance at .01 level.
4. The Effectiveness of School Management, as perceived by participants from Performance experience and the school sizes, showed statistical significance at .01 level. As for status were not different.
5. The Creative Leadership Factors Affecting the Effectiveness of School Management had a positive relationship at the .01 statistical significance level.
6. The Creative Leadership Factors had a predictive power on the Effectiveness of School Management Teamwork Creativity and Analytical skills.
7. Guidelines for the development of creative leadership components of executives. Teamwork, Creativity, Analytical skills in terms of teamwork, the development methods consisted of organizing workshops. Study, observe work, exchange knowledge about quality organizations and use PLC process to work
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, ประสิทธิผลของโรงเรียนKeyword
Leadership, Creative Leadership, Effectiveness of Schoolกำลังออนไลน์: 74
วันนี้: 1,695
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 56,894
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093