บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐ ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานและขนาดของโรงเรียน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนในโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 จำนวน 561 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิโดยจำแนกตามสัดส่วนขนาดของโรงเรียน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 234 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 โดยรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก ทั้ง 5 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยได้แก่ ด้านการรู้ดิจิทัลด้านการสื่อสารดิจิทัล ด้านการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล ด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล และด้านการนิเทศและติดตามด้วยระบบดิจิทัล ตามลำดับ
2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 จำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ ในการทำงาน พบว่า มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
3. ข้อเสนอแนะในการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐ 5 ด้าน สรุปได้ดังนี้ ผู้บริหารควรเข้ารับการอบรมพัฒนาตนเองให้สามารถใช้สื่อดิจิทัลได้ในระดับที่คล่องแคล่ว ผู้บริหารควรมีเพื่อนหรือเครือข่ายที่มีเจตคติแนวความคิดดิจิทัล ผู้บริหารจัดเตรียมสื่อระบบปฏิบัติการที่มีความพร้อมสำหรับการสื่อสาร ผู้บริหารควรส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรให้มีโอกาสพัฒนาทักษะและทัศนคติ ให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างรอบรู้ ผู้บริหารควรสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลทั้งในระดับท้องถิ่น ประเทศและสากล รวมทั้งวางผังการนิเทศโดยเป็นผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกคอยดูแลในลักษณะกัลยาณมิตรอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
Abstract
The purpose of this research is (1) to study the opinions concerning the digital leadership among School Administrators of Pracharath school Project under Sisaket Primary Educational Service Area Office 1 (2) to compare the opinions, according to teachers on digital leadership among school administrators as classified by the educational levels, teaching experiences and school sizes and (3) to study the suggestions for developing Digital leadership of school administrators in the study. The samples were 234 teachers obtained from stratified random sampling by determining school size according finished table of Krejcie and Morgan’s. The research instrument were questionnaires which gotten the reliability at .96. The statistics used were percentage, mean, standard deviation, t-test and ANOVA of Scheffé.
The research findings were as follows:
1. Digital leadership among School Administrators of Pracharath school Project under Sisaket Primary Educational Service Area Office 1, overall and each aspect found that the condition were at a high level. Which are arranged in descending order as follows: Digital Literacy, Digital Communication, Digital Culture, Digital Vision and Digital Supervision and Monitoring, respectively.
2. Comparison of opinions on digital leadership among School Administrators of Pracharath school Project under Sisaket Primary Educational Service Area Office 1, according to teachers’ opinions, classified by educational levels and teaching experiences found that opinions were not different. As classified by school sizes showed significant difference at .05.
3. Suggestions for developing digital leadership of school administrators in the study could summarized as follows: attending digital training for self-development to use digital media fluency. Having friends or network that school administrators can share digital attitude together. Preparing media systems operation ready for communication. Promoting and supporting staffs in various opportunity to develop their skills and attitudes. Creating digital technology network or experts at the local domestic and international to lay out supervision plans as external experts to supervise teachers friendly with in an intention and continuously.
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐKeyword
digital leadership among School Administrators, Pracharath school Projectกำลังออนไลน์: 52
วันนี้: 1,547
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 56,746
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093