บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัญหาการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนจำแนกตามตำแหน่งและประสบการณ์การทำงาน และหาแนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนที่ใช้การจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ปีการศึกษา 2562 โดยเทียบตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ในเขตพื้นที่การให้บริการ มีทั้งหมด 5 อำเภอ จำนวนโรงเรียนขนาดเล็ก 127 โรงเรียน ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ได้ผู้บริหารสถานศึกษา 127 คน และสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีจับสลาก (Lottery) ได้ครูผู้สอน โรงเรียนละ 2 คน ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ทั้งหมด 381 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.56 – 0.98 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐาน การแจกแจงค่าความถี่ (Frequency distribution) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย () และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (Independent Samples) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย จึงใช้การเปรียบเทียบรายคู่ตามวิธีการของ Least Significant Difference (LSD)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัญหาการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน อยู่ในระดับ น้อย
2. ปัญหาการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนจำแนกตามตำแหน่งและประสบการณ์การทำงาน พบว่า
2.1 สถานภาพต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ แตกต่างกัน
2.2 ประสบการณ์ในการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่แตกต่างกัน จะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. แนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วย ด้านคุณภาพผู้เรียน ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการบริหารจัดการ
Abstract
The purposes of this research were to compare problems concerning Distance Learning Information Technology (DLIT) in small-sized schools under Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area Office 2, as perceived by school administrators and teachers classified by positions and work experiences, and to establish the guidelines for developing DLIT in small-sized schools. The sample group consisted of school administrators and teachers who used DLIT for instructional management in small-sized schools in the academic year 2019, The Krejcie & Morgan table was employed for determining the sample size, which was drawn from 127 small-sized schools as service areas in five districts. The researcher generated a purposive sampling to obtain 127 school administrators and then selected two teachers from each school through a simple random sampling using lottery method, yielding a total of 381 participants. The research instrument for data collection was a set of 5 – level rating scale questionnaires with the discriminative power ranging between 0.56 and 0.98 with the reliability of 0.99. The statistics for data analysis included basic distribution, frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, Independent Samples t-test, and One-Way ANOVA. In case the difference of mean values was found, the Least Significant Difference (LSD) method was then conducted to perform pairwise comparisons.
The findings were as follows:
1. Problems of DLIT in small-sized schools under Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area Office 2, as perceived by participants were at a low level.
2. Problems of DLIT in small-sized schools under Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area Office 2, as perceived by participants classified by positions and work experiences revealed that:
2.1 Participants with distinct positions expressed opinions toward problems concerning DLIT differently.
2.2 Participants with different work experiences perceived DLIT differently with a statistical significance level of .05.
3. The guidelines for DLIT in small-sized schools involved three aspects: quality of learners, instructional management, and management administration.
คำสำคัญ
การจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ, โรงเรียนขนาดเล็กKeyword
Distance Learning Information Technology, Small-Sized Schoolsกำลังออนไลน์: 74
วันนี้: 1,840
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,039
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093