...
...
เผยแพร่: 10 ก.ค. 2562
หน้า: 232-241
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 391
Download: 181
Download PDF
การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสังคมในการจัดการคุณภาพการศึกษา สำหรับโครงการมหาวิทยาลัยชีวิต : กรณีมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
Enhancement of social network participation in educational quality management For a real life university project : A case of Chaiyaphum Rajabhat University
ผู้แต่ง
จริยา อนันต์สุวรรณชัย, สังวาลย์ เพียยุระ, วิเชียร รู้ยืนยง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสังคมในระดับองค์กรของผู้เรียน คือ ศูนย์เรียนรู้มิ่งมงคลคีรี และศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในการจัดการคุณภาพการศึกษา สำหรับหมวดวิชาเฉพาะด้านบังคับ ประกอบด้วยวิชาเครือข่ายชุมชน วิชาวิสาหกิจชุมชน และวิชาการทำแผนแม่บทชุมชน โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ดำเนินการวิจัยโดยการใช้หลักการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กรและการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีขั้นตอนการดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การสังเกต และการสะท้อนกลับ  โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาวิจัยรวมทั้งสิ้น 73 คน คือ นักศึกษาจำนวน 45 คน อาจารย์ผู้สอนในศูนย์เรียนรู้ในสังกัดโครงการมหาวิทยาลัยชีวิต จำนวน 4 คน ครู กศน.ตำบลพระบุ จำนวน 2 คน ตำบลพระยืน จำนวน 2 คน และเครือข่ายสังคมในชุมชนที่นักศึกษาอาศัยอยู่ ตำบลพระบุ 10 คน ตำบลพระยืน 10 คน

ผลการวิจัย พบว่า

วิชาเครือข่ายชุมชน ตำบลพระยืน เป็นกิจกรรมเครือข่ายภาคประชาสังคม ที่มีเรื่องความเชื่อ และความศรัทธาเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นประโยชน์ต่อสังคม ยอมรับและมีบรรทัดฐานร่วมกันอย่างสมัครใจในการเข้าร่วมกิจกรรม  ตำบลพระบุ เป็นการสร้างพื้นที่ทางสังคมที่ให้คนในชุมชนได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกระบวนการทำงานของเครือข่าย

วิชาวิสาหกิจชุมชน ตำบลพระยืน เรียนรู้การทำผ้าใบกันสาดจากประสบการณ์ตรง เป็นการสร้างนักวิสาหกิจชุมชนอย่างแท้จริง ชุมชนพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนและมั่นคง มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ถ่ายทอดความรู้ด้วยจิตอาสา เป็นแหล่งภูมิปัญญา และเป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน ตำบลพระบุ เรียนรู้วิธีและขั้นตอนของการทำแหนมเห็ด นำไปฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ มีความรู้ด้านการคำนวณต้นทุน กำไรของการทำธุรกิจของชุมชน มีการพัฒนาอาชีพอย่างต่อเนื่อง

วิชาการทำแผนแม่บทชุมชน ตำบลพระยืน เชื่อว่าผู้นำมีความสามารถการกระทำการ แก้ไขปัญหาต่างๆ แทนชุมชนได้ ตำบลพระบุ ผู้นำมีความเข้มแข็งและมีภาวะผู้นำสูง การเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชนได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี การนำกิจกรรมส่งเสริมค่านิยมหลักของชุมชน มาอบรมให้กับชุมชนส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Abstract

The purpose of this research was to enhance the participation of social network in the level of learners in Mingmongkolkiri Learning Center and Non-Formal and informal Education Centers in their instructional management of three specialized and required courses under the authority of Real Life University, a project of Chaiyaphum Rajabhat University. The three courses were “community networking”, “community enterprise” and “community master plan”. The methods of Total Quality Management (TQM) and participatory action research (PAR) (with 4 steps: planning, acting, observing and reflecting) were used, The target group of 73 persons consisted of 45 students, 4 teachers of Real Life University, 2 teachers from Phrabu Non-Formal and informal Education Center, 2 teachers from Phrayuen Non-Formal and informal Education Center and 10 villages each from Tambon Phrayuen and Tambon Phrabu.

The findings of the research ware as follows.

On the subject of community networking, in Tambon Phrayuen it was found that fails in a holy woman played a key role in uniting people who voluntarily joined the learning activities. In Tambon Phrabu, the aeration of social space for community exchanges was crucial of social element.

On the subject of community enterprise, in Tambon Phrayuen, people learned to produce rain canvas roof by actual and direct practice, thus creating real community business, became self-reliant and sustainable. In Tambon Phrabu, People learned to produce fermented mushroom, increased their skills as well as finance and book keeping skills.

On the subject community master plan, people in Phrayuen believed that leaders were capable of solving their problems on behalf of the community. In Tambon Phrabu, the leaders were strong, possessing leadership quality at a high level and people’s participation was welcome. Bringing basic values of the community to integrated and helped to improve people’s quality of life.

คำสำคัญ

การมีส่วนร่วม, เครือข่ายทางสังคม, การจัดการคุณภาพการศึกษา

Keyword

Participation, Social Networking, Educational quality Management

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093