บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 2) แรงจูงใจในการทำงานของครู และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการทำงานของครู ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีจำนวนทั้งหมด 169 คน สุ่มจากครูในโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วนและสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยได้รับแบบสอบถามฉบับที่สมบูรณ์กลับคืนมาครบทั้งหมดจำนวน 169 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ระดับของภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการแบ่งปันภาวะผู้นำ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการสร้างชุมชน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านการมอบภาวะผู้นำ
2. ระดับของแรงจูงใจในการทำงานของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านความต้องการความสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านความต้องการความก้าวหน้า ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความต้องการความอยู่รอด
3. ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับแรงจูงใจในการทำงานของครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01
Abstract
This study’s aims were to study: 1) servant leadership of school administrators and work motivation of teachers at opportunity extended schools in Pakkred District, Nonthaburi Province; 2) work motivation of the teachers; and 3) relationship between servant leadership of the school administrators and work motivation of the teachers. A sample of 169 was selected, using proportionate random sampling method, from the teachers. The instrument was a questionnaire constructed by the researcher. All 169 questionnaire copies were returned and usable. The data were analyzed using percentage, standard deviation and Person's correlation coefficient.
The results of the study were as follows
1. The overall servant leadership of school administrators was at the high level. The aspects were ranked at the top as sharing leadership, followed by that of community building, while that of proposing leadership was at the bottom.
2. The overall work motivation of teachers was at the high level. The aspects ranked at the top was relationship needs, followed by that of need advancement, while that of survival needs was at the bottom.
3. Servant leadership had positive relationship with the work motivation of teachers with statistical significance at the level of 0.01.
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการ, แรงจูงใจในการทำงานKeyword
Relationship between Servant Leadership, Work Motivationกำลังออนไลน์: 26
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 2,553
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,752
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093