บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบ SQ5R เสริมด้วยเทคนิคแผนภูมิความหมายและเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) ศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสรุปความภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบ SQ5R เสริมด้วยเทคนิคแผนภูมิความหมายและเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ต่อการจัดการเรียนการสอนแบบ SQ5R เสริมด้วยเทคนิคแผนภูมิความหมายและเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 42 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม แบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ 10 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาไทย และแบบทดสอบวัดความสามารถการเขียนสรุปความภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R เสริมด้วยเทคนิคแผนภูมิความหมายและเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที่แบบกลุ่มเดียวและการทดสอบทีแบบไม่อิสระ
ผลการวิจัย พบว่า
1. นักเรียนมีคะแนนการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 และนักเรียนมีความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
2. นักเรียนมีคะแนนการเขียนสรุปความภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 และนักเรียน มีความสามารถในการเขียนสรุปความภาษาไทยสูงกว่าก่อนเรียน
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้แบบ SQ5R เสริมด้วยเทคนิคแผนภูมิความหมายและเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ อยู่ในระดับมาก
Abstract
The purposes of this research ware to study and compare the Thai reading comprehension and summary writing abilities for Prathomsuksa 6 Students using SQ5R learning management supplemented with semantic mapping technique and cooperative learning. The samples of 42 Prathomsuksa 6 Students at Mueang District, Udon Thani Province, Udon Thani Primary Educational Service Area office 1 in the first semester of the academic year 2019. They were selected by cluster random sampling. The design of this research was a one group pretest – posttest design. The research included 10 lesson plans, Thai reading comprehension and summary writing abilities test. The mean, percentage, standard deviation, t-test for One Sample and t-test for Dependent Samples were used for data analysis.
The findings of this research were as follows:
1. The students’ posttest score on a Thai reading comprehension ability. The mean score on the posttest was higher than 75 percent and the student’ Thai language reading comprehension ability after experiment was higher than that of the pretest.
2. The students’ posttest score on summary writing. The mean score on the posttest was higher than 75 percent and the students’ summary writing ability after the experiment was higher than that of the pretest.
3. The students’ satisfaction towards the learning activities was at the high level
คำสำคัญ
การจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R, เทคนิคแผนภูมิความหมายและเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือKeyword
SQ5R Learning Management, Supplemented with Semantic Mapping Technique and Cooperative Learningกำลังออนไลน์: 13
วันนี้: 96
เมื่อวานนี้: 1,728
จำนวนครั้งการเข้าชม: 63,101
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093