...
...
เผยแพร่: 10 ก.ค. 2562
หน้า: 222-231
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 267
Download: 176
Download PDF
สมการโครงสร้างเชิงเส้นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25
The Model of Linear Equation Structural Factors Influencing Academic Affairs Administration Effectiveness in Secondary Educational Service Area Office 25
ผู้แต่ง
กิติวัฒน์ ทองเชื้อ, มนูญ ศิวารมย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์สมการโครงสร้างเชิงเส้นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องรูปแบบความสัมพันธ์สมการโครงสร้างเชิงเส้นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เพื่อนำเสนอปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 จำนวน 640 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป

ผลการวิจัย พบว่า

1. รูปแบบความสัมพันธ์สมการโครงสร้างเชิงเส้นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ประกอบด้วยตัวแปรแฝงที่เป็นตัวแปรสาเหตุ จำนวน 6 ตัว ตัวแปรสังเกตได้ จำนวน 22 ตัว ตัวแปรแฝงที่เป็นตัวแปรผล จำนวน 1 ตัว และตัวแปรสังเกตได้ จำนวน 3 ตัว รวมตัวแปรแฝง จำนวน 7 ตัว ตัวแปรสังเกตได้ จำนวน 25 ตัว รวมตัวแปรทั้งหมด 32 ตัว

2. การตรวจสอบความสอดคล้องของสมการโครงสร้างเชิงเส้นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าความน่าจะเป็น (p-value) เท่ากับ 0.069 ไค-สแควร์หารด้วยองค์ศาอิสระ ( df= 1.143) ดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนใน (RMSEA = 0.015) ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องกลมกลืน (GFI = 0.969) และดัชนีวัดระดับความสอดคล้องกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI = 0.955) 

3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ สูงสุดคือ ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและการแนะแนวทางการศึกษา รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา น้อยที่สุดคือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อม สูงสุดคือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ รองลงมาคือ ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและการ แนะแนวทางการศึกษา น้อยที่สุดคือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษา และปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมสูงสุดคือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา น้อยที่สุดคือ ด้านการพัฒนาบุคลากร

Abstract

The objectives of the present research were threefold: 1) to study and developed a model of linear equation structural factors influencing academic affairs administration effectiveness in Secondary Educational Service Area Office 25, 2) to verify a congruence of the above mentioned model, and 3) to submit to aforesaid model influencing directly, indirectly and jointly over of the academic affairs administration effectiveness in Secondary Educational Service Area Office 25. The samples for the study were the personnel taken from the academic affairs administration effectiveness in Secondary Educational Service Area Office 25 with the total of 640 persons. The research tool used for the data collection was a set of questionnaires with five-rating scale of the total validity value through the technics Index of Item-Objective Congruence (IOC) between 0.80-1.00. The data were analyzed by the computer program.

The research findings were as follows.

1. The model of equation linear structural factors influencing academic affairs administration effectiveness in Secondary Educational Service Area Office 25 consisted of six latent variables which were causal ones as well as 22 observable variables on one hand and one latent variable which was effectual as well as three observable variables on the others, all taken together comprising 32 variables divided into the 7 latent variables and the 25 observable ones respectively.

2. As far as the verification of the model of linear equation structural factors influencing academic affairs administration effectiveness in Secondary Educational Service Area Office 25 was concerned, it was found that the model developed by the researcher was in agreement with the existing empirical data with probability value (p-value) at 0.069 including Chi-square deviated by free degree of /df = 1.143, the index of Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) = 0.015, Goodness of Fit Index (GFI) = 0.969, Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) = 0.955.

3. The variable affecting directly the academic affairs administration effectiveness at the highest level was the development and education guidance activities, second to which was the school curriculum development and the least one was the education processing development and learning resources. The variable affecting it indirectly at the highest level was the education processing development and learning resources, second to which was the development and education guidance activities and the least one was the school curriculum development. In addition, the variable affecting it jointly at the highest level was the school curriculum development, second to which was the teaching media innovation and educational technology development and the least one was the teaching staff development.

คำสำคัญ

สมการโครงสร้างเชิงเส้น, ปัจจัยที่มีอิทธิพล, ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ

Keyword

Model of Linear Equation Structural Factors Influencing Academic Affairs Administration Effectiveness

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093