บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษา เปรียบเทียบสภาพและปัญหาการบริหารโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา และศึกษาแนวทางการบริหารโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 288 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน 144 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 144 คน ตัวแปรต้น ได้แก่ ขนาดของโรงเรียน (ขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก) เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60–1 และความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างจึงทดสอบรายคู่โดยวิธีแอลเอสดี และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการบริหารงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.06; S.D. = 0.19) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 1 ด้าน และอยู่ในระดับมาก จำนวน 9 ด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อสุขภาพ, โภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย, การให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางสังคม, บริการอนามัยโรงเรียน, โครงการร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน, การบริหารจัดการในโรงเรียน, สุขศึกษาในโรงเรียน, การส่งเสริมสุขภาพบุคลากรในโรงเรียน, นโยบายส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน และการออกกำลังกาย กีฬา และนันทนาการ
2. ปัญหาการบริหารงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยภาพรวม อยู่ในระดับน้อย ( = 1.59; S.D. = 0.07) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับน้อยที่สุด จำนวน 4 ข้อ และอยู่ในระดับน้อย จำนวน 6 ข้อ โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ด้านการออกกำลังกาย กีฬา และนันทนาการ, สุขศึกษาในโรงเรียน, การส่งเสริมสุขภาพบุคลากรในโรงเรียน, นโยบายส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน, บริการอนามัยโรงเรียน, โครงการร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน, การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน เอื้อต่อสุขภาพ, การบริหารจัดการในโรงเรียน, โภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย และการให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางสังคม
3. ผลการเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการบริหารโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่า สภาพการบริหารโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ทั้งรายรวม และรายด้าน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัญหาการบริหารโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 พบว่าโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนปัญหาด้านสุขศึกษาในโรงเรียน ปัญหาด้านโภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย และปัญหาการออกกำลังกาย กีฬาและนันทนาการ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ .05
4. แนวทางการบริหารโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 พบว่าควรมีการจัดทำแผนงาน/โครงการทางด้านการส่งเสริมสุขภาพที่เชื่อมโยงกับปัญหาความต้องการของนักเรียนและผู้ปกครองอย่างแท้จริง
Abstract
The state and problems of the administrational of Health Promoting Schools in Surin province under the Secondary Educational Service Area Office 3 were comparing the state and problems of the administration of Health Promoting Schools under the Secondary Educational Service Area Office 3 and to study the administrational of Health Promoting Schools under the Secondary Educational Service Area Office 3. The samples of this research were principals and teachers who are responsible for the projects of Health Promoting Schools in Surin province under the Secondary Educational Service Area Office 3 in the year of 2016 of 288 people. The samples specified from the open table of Krejcie and Morgan. It is classified as 144 principles and 144 teachers who are responsible for the projects. The variables were the size of the school (large, medium and small). The data were collected by mean of questionnaire with a consistency index of 1.00. The reliability of the questionnaire was 0.98. Statistics used for data analysis includes mean and standard deviation and one-way ANOVA. When the difference was found, it was tested by LSD and content analysis.
Research findings as follows:
1. The administrational of Health Promoting Schools in Surin province under the Secondary Educational Service Area Office 3 is in high level ( = 4.06; S.D. = 0.19). When considering each aspect, it was found that the highest level, 1 aspect and high level, 9 aspect sorts by average to least. The school environment was conducive to health, nutrition and safe-food, counseling and social support, school health services, school and community joint projects, school management, school health education, promoting the health of school personnel, school health policies, exercise, sports and recreation.
2. The problems of Health Promoting Schools administration in Surin province under the Secondary Educational Service Area Office 3 in general face problem in managing Health Promoting Schools in low level ( = 1.59; S.D. = 0.07). When considering each item, it was found that the lowest level of 4 items and low level of 6 items, from the average to the least are exercise, sports and recreation, school health education, promoting the health of school personnel, school health policies, school health services, school and community joint projects, school environment was conducive to health, school management, nutrition and safe food and counseling and social support.
3. The comparison of The state and problems of the administrational of Health Promoting Schools in Surin province under the Secondary Educational Service Area Office 3 classified by the size of Health Promoting Schools under the Secondary Educational Service Area Office 3. The total and the individual aspects were statistically significant at the 0.05 level. The problems of Health Promoting Schools administration under the Secondary Educational Service Area Office 3. In general found not different. The problem of health education in schools, safe food and nutritional, exercise, sports and recreation the difference was significant at .05.
4. The guideline administration of Health Promoting Schools under the Secondary Educational Service Area Office 3 found that there should be a health promotion plan / project that is linked to the needs of students and parents.
คำสำคัญ
โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพKeyword
Health Promoting Schoolsกำลังออนไลน์: 55
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,629
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,828
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093