...
...
เผยแพร่: 10 ก.ค. 2562
หน้า: 201-211
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 723
Download: 257
Download PDF
กลยุทธ์การบริหารจัดการในมูลนิธิเพื่อให้โอกาส อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ตามแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
Strategic Management of Opportunity Foundation, Nangrong District, Burirum Province According to the Concept of Sufficiency Economy Philosophy
ผู้แต่ง
ปพิชญา ซิมพ์สัน, คนึง สายแก้ว, วสันต์ชัย กากแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างกลยุทธ์การบริหารจัดการในมูลนิธิเพื่อให้โอกาส อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ตามแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็นกลยุทธ์ที่มีคุณภาพทั้งด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้านการบริการสังคม และด้านการบริหาร ที่ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย กลยุทธ์ และตัวชี้วัดโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพที่มี 3 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนแรกเป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐานการบริหารจัดการมูลนิธิเพื่อให้โอกาสโดย 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน การบริหารจัดการมูลนิธิเพื่อให้โอกาสและ 2) ประชุมกลุ่มย่อย (focus group discussion) เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของการบริหารจัดการมูลนิธิเพื่อให้โอกาส (SWOT analysis) ขั้นตอนที่สอง เป็นการดำเนินการสร้าง กลยุทธ์ จากข้อมูลที่สังเคราะห์ได้จากผลการวิจัยในขั้นตอนแรกด้วยวิธีการประชุมกลุ่มย่อย และขั้นตอนที่สามเป็นการตรวจสอบกลยุทธ์ที่ได้จากขั้นตอนที่สองด้วยวิธีการประชุมกลุ่มย่อย (focus group discussion) และการประเมินคุณภาพของ กลยุทธ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันภายในองค์กรที่ดี มีความรู้และ  มีคุณธรรม และพิจารณาจากเกณฑ์ความเหมาะสม ความสอดคล้อง และความเป็นไปได้  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย คณะกรรมการและเจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อให้โอกาส และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 19 คน

ผลการวิจัย พบว่า

1. ได้กลยุทธ์ที่กำหนดวิสัยทัศน์ว่า พัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นคนดี มีจิตสาธารณะ มีความรู้คู่คุณธรรมภายใต้การบริหารจัดการในมูลนิธิเพื่อให้โอกาส ตามแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) ได้กลยุทธ์ที่กำหนดพันธกิจว่า (2.1) พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกคนในมูลนิธิเพื่อให้โอกาส (2.2) พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเด็กด้านการเป็นคนดี มีจิตสาธารณะ โดยการบริหารจัดการในมูลนิธิเพื่อให้โอกาสตามแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (2.3) เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกคนในการจัดกิจกรรมคนดีมีจิตสาธารณะ ตามแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (2.4) พัฒนามูลนิธิเพื่อให้โอกาสให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ตามแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) กลยุทธ์การบริหารจัดการในมูลนิธิเพื่อให้โอกาส อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ตามแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าดัชนีด้านความเหมาะสม ด้านความสอดคล้อง และด้านความเป็นไปได้ ร้อยละ 100 และมีน้ำหนักองค์ประกอบ สามารถใช้เป็นแนวทาง ในการพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการในมูลนิธิเพื่อให้โอกาส อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ตามแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4) ได้กลยุทธ์ระดับองค์กร คือ กลยุทธ์หลัก และกลยุทธ์ขับเคลื่อน โดยมีรายละเอียดที่เป็นแนวทางในการพัฒนาองค์กรอย่างเป็นระบบ ตามแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5) ได้ชุดของเป้าหมาย กลยุทธ์ และตัวชี้วัด ทั้งการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การบริการสังคมและการบริหาร โดยมีรายละเอียดหลายประการที่มุ่งจะก่อให้เกิดผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายของมูลนิธิเพื่อให้โอกาส ที่มีคุณภาพ

Abstract

The objective of this research were to develop quality strategies management of Opportunity Foundation, Nangrong District, Burirum Province according to the concept of sufficiency economy in Human resources management, Social services and Administration in terms of 1) vision 2mission 3) goals 4) strategies and 5) indicators by using qualitative research methodology consisting 3 stages. The first stage was basic data study that utilized three techniques: 1) to study current state of management of Opportunity Foundation. 2) focus group discussion to analyze strengths, weaknesses, opportunities and obstacles of management of Opportunity Foundation (SWOT analysis). The second stage was drafting and developing a strategy base on a synthesis of the information from the first stage. This was completed in focus group discussion. The third stage was an investigation of the strategy from the second stage by focusing group discussion and evaluation of the quality of the strategy was conducted by qualified experts in consideration of modesty, rationality, good corporate immunity, knowledge able and moral. The consideration of appropriate criteria, suitability and feasibility. The samples were: The informant group consists of board of directors and staffs of Opportunity Foundation, and stakeholders of 19 people.

The research produced the following:

1. The strategies that define the vision of developing children and youth to be good people with public mind, knowledge and moral under management of Opportunity Foundation according to the concept of sufficiency economy philosophy.

2. The strategies that set the missions of (1) management system development, which focuses on everyone's participation at the Opportunity Foundation (2) Development of a child welfare system with good public mind by the management of Opportunity Foundation in the concept of sufficiency economy philosophy. (3) participation strengthen of everyone to organize activities of good people with public mind in the concept of sufficiency economy philosophy (4) Develop Opportunity Foundation to be a learning organization in the concept of sufficiency economy philosophy.

3. The strategic management of Opportunity Foundation Nangrong District, Burirum Province according to the concept of sufficiency economy philosophy has the index of appropriateness consistency and the feasible of 100 percent. The weight element can be used as a guideline for developing strategic management of Opportunity Foundation at Nangrong District, Burirum Province according to the concept of sufficiency economy philosophy.

4. The corporate strategies are the main and driven strategies with details of systematic approach to organizational development in the concept of sufficiency economy philosophy.

5. It has a set of goals, strategies and indicators for human resources management, social services and administration. There are several details that aim to achieve the vision, mission, and goals that set by Opportunity Foundation effectively.

คำสำคัญ

กลยุทธ์การบริหารจัดการ, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Keyword

strategic management, sufficiency economy philosophy

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093