บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพ และปัญหาในการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้ 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้ 3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย 30 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล 90 คน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละความก้าวหน้า การตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพ และปัญหาในการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้ในวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย ปรากฏดังนี้
1.1 สภาพ ด้านครูผู้สอน พบว่า 1) ครูผู้สอนมีการผลิตและใช้สื่อมัลติมีเดียในการจัดการเรียนการสอนน้อยมาก ครูมีทักษะและประสบการณ์ในการผลิตสื่อมัลติมีเดียน้อย 2) ด้านผู้บริหาร การจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดหา สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ยังมีน้อยไม่เพียงพอ และการกระตุ้นให้ครูปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนโดยใช้สื่อมัลติมีเดียไม่ต่อเนื่อง 3) ด้านแหล่งข้อมูลในการศึกษาค้นคว้า วิทยาลัยมีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาในการผลิตสื่อมัลติมีเดียน้อย และเอกสารตำราที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสื่อมัลติมีเดียมีน้อยมาก
1.2 ปัญหา ด้านครูผู้สอน พบว่า 1) ครูมีงบประมาณส่วนตัวที่ใช้ในการผลิตสื่อมัลติมีเดียน้อย ครูบางส่วนยังมีความรู้ ความเข้าใจความหมายและประโยชน์ของสื่อมัลติมีเดีย ทักษะและประสบการณ์ในการผลิตสื่อระดับน้อย 2) ด้านผู้บริหาร การจัดให้มีการประชุมหรือนำคณะครูเข้าร่วมประชุมยังน้อย การกระตุ้นให้ครูปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนในการใช้สื่อมัลติมีเดียน้อย และการให้ความสำคัญในการใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับน้อย 3) ด้านแหล่งข้อมูลในการศึกษาค้นคว้า มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาในการผลิตสื่อมัลติมีเดียน้อย ระบบเครือข่ายในการสืบค้นไม่เพียงพอ และบุคลากรแกนนำที่ให้ความรู้ในเรื่องนี้มีน้อย
2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้ในวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย วงรอบที่ 1 ใช้แนวทางพัฒนา 2 แนวทาง ประกอบด้วย 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการและ 2) การนิเทศภายใน วงรอบที่ 2 ใช้แนวทางการพัฒนาโดยการนิเทศภายใน
3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้ในวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย พบว่า
3.1 ด้านความรู้ ความเข้าใจ ในการผลิตสื่อมัลติมีเดีย เพื่อการจัดการเรียนรู้ ก่อนการพัฒนาผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ ความเข้าใจด้านการผลิตสื่อมัลติมีเดีย มีค่าคะแนน ( = 9.90) จากคะแนนเต็ม 20 คิดเป็นร้อยละ 49.50 หลังจากได้รับการพัฒนา ผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตสื่อมัลติมีเดีย เพื่อการจัดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น มีค่าคะแนน ( = 17.70) คิดเป็นร้อยละ 88.50 และมีค่าร้อยละความก้าวหน้า 39.00
3.2 ด้านการประเมินคุณภาพการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วย Google Apps for Education เพื่อการจัดการเรียนรู้ พบว่า วงรอบที่ 1 ใน 8 ด้าน ไม่ผ่านเกณฑ์ 3 ด้าน คือ ด้านการจัดการในบทเรียนและแบบฝึก ด้านการออกแบบระบบการเรียนการสอน และด้านกราฟิก โดยรวม ทั้ง 3 ด้านนั้น มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง มีค่า ( = 3.41) และวงรอบที่ 2 พบว่า โดยรวม ทั้ง 3 ด้านนั้น มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับมาก มีค่า ( = 4.48) ซึ่งมีค่าเพิ่มมากขึ้น และมีค่าร้อยละความก้าวหน้า 21.40
Abstract
The purposes of this research were: 1) to investigate conditions and problems in producing multimedia with Google Apps for Education for learning management, 2) to establish the guidelines for developing teachers’ potential in producing multimedia, and 3) to follow up the effects after the intervention. The two-spiral action research approach was employed, with each spiral comprising a circle of planning, action, observation, and reflection. The target group included 30 co-researchers, and 90 informants, selected through purposive sampling. Research tools included a set of questionnaires, a form of interview, a test, a form of observation, and a form of assessment. Quantitative data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, and Percentage of Progress. Content analysis in forms of content classification and descriptive analysis were used to analyze qualitative data.
The research findings were as follows:
1. Conditions and problems in producing multimedia revealed that:
1.1 Conditions. 1) In terms of teachers, teachers produced multimedia; however, teachers’ disposition toward instructional multimedia integration was limited. The teachers also expressed their limited skills and experiences in producing multimedia; 2) In terms of administrators, school administrators did not provide adequate budget allocation, and opportunities for improving learning management by integrating multimedia into practice on a continuous basis; 3) In terms of information resources, the provision of consulting experts in the production of multimedia for learning management, and the availability of relevant textbooks or documents concerning producing multimedia were insufficient.
1.2 Problems. 1) In terms of teachers, teachers had limited personal budget in producing multimedia. Some teachers had little knowledge about multimedia definition and advantages as well as skills and experiences concerning multimedia production; 2) In terms of administrators, the provision of meetings or giving opportunities for teachers participating in meetings were limited. School administrators did not actively encourage teacher to integrate multimedia into practice, and showed their focus at a low level on the importance of multimedia utilization to improve students’ academic achievement; 3) In terms of information resources, the provision of the consulting experts in the production of multimedia, the computer networking system for data searching and leading personnel providing knowledge on this area was limited.
2. The guidelines for developing teacher potential in producing the multimedia in the first spiral involved two guidelines: 1) a workshop, and 2) an internal supervision. In the second spiral, internal supervision was utilized.
3. The effects after the intervention revealed that:
3.1 In case of knowledge and understanding in producing the multimedia for learning management, the post-intervention mean scores of the participating co-researchers increased 17.70 out of 20 with 88.50 percent and the Percentage of Progress about 39.00 percent comparing to the pre - intervention mean scores of 9.90 out of 20 with 49.50 percent.
3.2 In case of the quality assessment, in the first spiral, three out of eight aspects failed the set criteria, achieving at a moderate level, which were management of lessons and exercises, teaching and learning design, and graphics. The results from the second spiral indicated that the mean scores of the three aspects as a whole increased at a high level ( = 4.48) with the Percentage of Progress of 21.40
คำสำคัญ
การพัฒนาศักยภาพครู Google Apps for EducationKeyword
Teacher Potential Development, Google Apps for Educationกำลังออนไลน์: 16
วันนี้: 94
เมื่อวานนี้: 1,728
จำนวนครั้งการเข้าชม: 63,099
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093