...
...
เผยแพร่: 26 ธ.ค. 2563
หน้า: 263-272
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 506
Download: 184
Download PDF
แนวทางการพัฒนาบทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนของครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดสระบุรี
Guidelines of Developing Administrators’ Role in Promoting Teachers’ Learner Development Research for Secondary Schools under Secondary Educational Service Area Office 4, Saraburi Province
ผู้แต่ง
ขนิษฐา สะโดอยู่, ธีระวัฒน์ มอนไธสง
Author
Kanittha Sadoyoo, Teerawat Montaisong

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนของครู 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาบทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนของครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดสระบุรี โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนของครู กลุ่มตัวอย่างเป็นครู จำนวน 309 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น .99 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 เสนอแนวทางการพัฒนาบทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนของครู ประชากร จำนวน 42 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยประชากร ส่วนและเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

1. บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านบทบาทที่มีการแสดงออกสูงสุดคือ ด้านการกำหนดนโยบาย และวางแผนการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน รองลงมาคือ ด้านการสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน  และบทบาทที่มีการแสดงออกต่ำสุดคือ ด้านการสนับสนุนงบประมาณการทำวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน

2. แนวทางการพัฒนาบทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนของครู ทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วยแนวทาง 25 รายการโดยทุกรายการมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการปฏิบัติอยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (µ ≥ 3.50) ซึ่งจำแนกตามบทบาท 5 ด้านพบว่า 1) ด้านการกำหนดนโยบาย และวางแผนการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนของครู มี 5 รายการ เช่น  ศึกษา/วิเคราะห์รายละเอียดเกี่ยวกับปัญหา ข้อบกพร่อง จุดเด่น จุดด้อย ของครูที่ทำวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างละเอียด  2) ด้านการสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนของครูมี 5 รายการ เช่น สำรวจความต้องการ/จำเป็นในเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครูต้องใช้ในการทำวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ตรงตามความต้องการของครู 3) ด้านการสนับสนุนงบประมาณการทำวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนของครู มี 5 รายการ เช่น สำรวจความต้องการ/จำเป็น ในเรื่องงบประมาณสำหรับใช้เพื่อสนับสนุนการทำวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนของครู แก่ครูผู้สอน 4) ด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าของครูที่ทำวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนของครูมี 5 รายการ เช่น สำรวจความต้องการ/จำเป็นของครูที่ต้องการใช้ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นที่ปรึกษาในทำการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน 5) ด้านการให้ความยอมรับนับถือครูทำวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนของครูมี 5 รายการ เช่น  สำรวจจำนวนครูที่ทำวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน สำหรับให้เป็นพี่เลี้ยงถ่ายทอดความรู้ ในการการทำวิจัยแก่ครูท่านอื่น ๆ

Abstract

The purposes of this study were 1) to investigate administrators’ role in promoting teachers’ learner development research 2) to investigate procedures of developing administrators’ role in promoting teachers’ learner development research for secondary schools under Secondary Educational Service Area Office 4 (Saraburi). The researcher conducted the research into 2 processes: 1) the study of administrators’ role in promoting teachers’ learner development research. A total of 309 samples were selected from teachers by using Multistage Sampling method.  The research instrument was a five-rating scale questionnaire with a confidence value equivalent to .99. The data were analyses by using percentage, mean, and standard deviation; and 2) the suggestions of guidelines for developing administrators’ role in promoting teachers’ learner development research. The population of this study was 42, which were selected by using Purposive Sampling method.   The research instrument was a five-rating scale questionnaire. The data were analyses by using percentage, mean of population, and standard deviation.

The results of the study were as follows:

1. Administrators’ role in promoting teachers’ learner development research were found to be average high. By sorting from the highest to the least, policy formulation and development research’s planning was found to be the highest, follow by creating the conducive atmosphere and environment for learner development research, and providing budget for research at the least.

2. The 5 guidelines for developing administrators’ role in promoting teachers’ learner development research, including  25 approaches, were found to be higher than the specified threshold  (µ ≥ 3.50) in the suitability and possibility which is classified by their roles in 5 aspects as follows 1) The 5 ways of  policy formulation and development research’s planning, for instance, investigating and analyzing teachers’ problems, shortcomings, strengths, and weaknesses for creating learner development research precisely. 2)  The 5 ways of creating the conducive atmosphere and environment for learner development research, for instance, surveying the needs regarding facilities that teachers want for creating learner development research to meet teachers’ needs. 3) The 5 ways of providing budget for research, for instance, surveying the needs regarding budget for promoting teachers’ learner development research setting. 4) The 5 ways of promoting the progress of teachers conducting research to develop learners, for instance, surveying the needs of using experts or senior experts as a counselor for creating the research to develop learners; and 5) The 5 ways of honoring teachers who conduct the learner development research, for instance, surveying the numbers of teachers who conduct the research in order to become an advisor for other teachers.

คำสำคัญ

แนวทางการพัฒนาบทบาทผู้บริหาร, การวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน

Keyword

Guidelines of Developing Administrators’ Role, Learner Development Research

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093