...
...
เผยแพร่: 26 ธ.ค. 2563
หน้า: 256-262
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 1139
Download: 264
Download PDF
ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในยุคดิจิทัล ตามความคิดเห็นของครู ในเขตอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
Primary school Principals’ Learning Leadership in Digital Age as Perceived by Teacher Primary School in Pak Kret District, Nonthaburi
ผู้แต่ง
สินีนาฏ จิระพรพาณิชย์, สนั่น ประจงจิตร, กานดา สกุลธนะศักดิ์ มัวร์
Author
Sineenat Chirapornphanit, Sanan Prajongjit, Kanda Sakulthanasakd Moore

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในยุคดิจิทัล ในเขตอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ตามความคิดเห็นของครูหัวหน้างาน และครูหัวหน้ากลุ่มสาระฯ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในยุคดิจิทัล เหล่านี้ จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษาสูงสุด ตำแหน่ง และประสบการณ์ในการทำงานของครูเหล่านี้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้สุ่มอย่างง่าย จากครูหัวหน้างาน และครูหัวหน้ากลุ่มสาระฯ ในโรงเรียนเหล่านี้ ปีการศึกษา 2562  จำนวน 216 คน  เครื่องมือในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ

ผลการศึกษา พบว่า

1. ผลการศึกษาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา โดยภาพรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก

2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษาสูงสุด ตำแหน่งและประสบการณ์ในการทำงาน พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Abstract

The objectives of this study were to: 1) investigate principals’ learning leadership in digital age as perceived by section head teachers and subject head teachers in Pak Kret District, Nonthaburi Province; and 2) compare these perceptions between respondents classified by gender, highest educational, position and work experience.  A sample of 212 was simple randomly selected from section head teachers and subject head teachers in Pak Kret District, Nonthaburi Province, in the 2019 Academic Yea.  The instrument for data collection was a questionnaire.  The statistics used for data analysis were: percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test. 

The results of the study are as follows. 

1. The overall principals’ learning leadership was at the high level. 

2. The comparison of the principals’ learning leadership in digital age between respondents classified by gender, highest educational, position and work experience found that there was no statistically significant difference at the level of 0.05.

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา, ยุคดิจิทัล

Keyword

Primary School Principal’s Learning Leadership, Digital Age

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093