บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาของครูในการเสริมสร้างวินัยนักเรียน โรงเรียนบ้านขว้างคลีชูชาติ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 2) เพื่อหาแนวทางพัฒนาศักยภาพครูในการเสริมสร้างวินัยนักเรียน 3) เพื่อติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูในการเสริมสร้างวินัยนักเรียน กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย จำนวน 23 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 130 คน และกลุ่มผู้นิเทศ จำนวน 4 คน ในการวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการวางแผน 2) ขั้นการปฏิบัติการ 3) ขั้นการสังเกตการณ์และ 4) ขั้นการสะท้อนผล ดำเนินการ 2 วงรอบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้ค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละความก้าวหน้า การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพและปัญหาของครูในการเสริมสร้างวินัยนักเรียนโรงเรียนบ้านขว้างคลีชูชาติ
1.1 สภาพการเสริมสร้างวินัยนักเรียน พบว่า การเสริมสร้างวินัยนักเรียนยังขาดการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ขาดความต่อเนื่อง มีการเสริมสร้างวินัยนักเรียน แต่เป็นไปตามความสนใจและความเข้าใจของครูผู้สอน และครูผู้ดำเนินกิจกรรม ครูยังขาดความเข้าใจในหลักการเสริมสร้างวินัยนักเรียนอย่างถ่องแท้ นักเรียนขาดวินัย มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต้องได้รับการแก้ไขและเสริมสร้างวินัยนักเรียน
1.2 ปัญหาการเสริมสร้างวินัยนักเรียน พบว่า ครูได้รับการพัฒนาในด้านการเสริมสร้างวินัยนักเรียนยังไม่เพียงพอและไม่เป็นระบบ ในทิศทางเดียวกัน ความตระหนักในความรับผิดชอบเกี่ยวกับ ภารกิจการพัฒนาและการเสริมสร้างวินัยตามแผนและเป้าหมายของโรงเรียน ยังมีน้อย โรงเรียนมีบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในการเสริมสร้างวินัยนักเรียนน้อย ครูมีภาระงานมาก ทำให้มีความสนใจเสริมสร้างวินัยนักเรียนน้อยลง ปัญหาวินัยนักเรียนที่ต้องการพัฒนามีมากซึ่งจะต้องร่วมมือกัน
2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการเสริมสร้างวินัยนักเรียน โรงเรียนบ้านขว้างคลีชูชาติ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 พบว่า แนวทางการพัฒนาศักยภาพครู 3 แนวทางได้แก่ 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) การนิเทศภายใน และ 3) การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC)
3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูในการเสริมสร้างวินัยนักเรียนโรงเรียนบ้านขว้างคลีชูชาติ
3.1 ครูผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ความเข้าใจในการเสริมสร้างวินัยนักเรียนจากวงรอบที่ 1 และวงรอบที่ 2 ครูมีความรู้ความเข้าใจในการเสริมสร้างวินัยนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากมีค่าร้อยละความก้าวหน้า 68.77 และจากการนิเทศภายใน พบว่า ครูผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ความเข้าใจ สามารถดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียน ในวงรอบที่ 1 และในวงรอบที่ 2 มีค่าร้อยละความก้าวหน้า 83.03 ผลการดำเนินกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ทำให้ครูเกิดการเรียนรู้และสามารถปฏิบัติงานการเสริมสร้างวินัยนักเรียนได้ดีขึ้น จากวงรอบที่ 1 และวงรอบที่ 2 มีค่าร้อยละความก้าวหน้า 43.27
3.2 ผลที่เกิดกับนักเรียนพบว่านักเรียนมีพัฒนาการด้านวินัยความรับผิดชอบต่อตนเองและความรับผิดชอบต่อส่วนรวม จากผลการประเมิน ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อพฤติกรรมวินัยของนักเรียน จากวงรอบที่ 1 และวงรอบที่ 2 มีค่าร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 13.38 และ 12.93 ตามลำดับ ส่วนความพึงพอใจของผู้ร่วมวิจัยต่อพฤติกรรมวินัยของนักเรียน จากวงรอบที่ 1 และวงรอบที่ 2 มีค่าร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 26.76 และ 33.17 ตามลำดับ
Abstract
The purposes of this research were to 1) study the conditions and problems of student discipline at Ban Khwang Klee Chuchat School under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2; 2) to establish the guidelines for developing teacher potential on student discipline enhancement; and 3) to follow up the effects after the intervention. The target group of this research consisted of 23 participants, including a researcher and co-researchers, 130 informants and four supervisors. This research employed a two-spiral participatory action research consisting of four stages: 1) Planning, 2) Action, 3) Observation, and 4) Reflection. The research instruments included interview forms, a set of questionnaires, and observation forms. The quantitative data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, and percentage of progress. Content analysis was used for analyzing qualitative data.
The findings were as follows:
1. Conditions and problems of teachers concerning student discipline enhancement at Baan Kwang Klee Chuchat school revealed that:
1.1 In terms of conditions, school operations on student discipline enhancement were unsystematic, discontinuous, and undertaken based on teachers’ interests and understanding. Teachers lacked a thorough understanding on the principles of student discipline enhancement. The students lacked discipline and exhibited inappropriate behaviors, which required for improvement.
1.2 In terms of students’ discipline problems, the provision of trainings on student discipline enhancement was inadequate, and unsystematic. Consequently, teachers reported low levels of awareness concerning the scope of their responsibility on student discipline development and enhancement in accordance with school planning and goals. School personnel had limited knowledge and understanding on student discipline enhancement. Teacher indicated less interest in enhancing student discipline due to heavy workloads. There were existed disciplinary problems needing improvement. The creation of a more collaborative approach with the aim of improving student discipline was required.
2. The guidelines for teachers' potential development on student discipline enhancement consisted of three approaches: 1) Workshop 2) Internal Supervision, and 3) Professional Learning Community (PLC).
3. The effects after the intervention revealed that
3.1 The co-researchers obtained knowledge and understanding on student discipline enhancement in the first spiral. In the second spiral, teachers gained better knowledge and understanding at a high level in overall with the progress percentage of 68.77. The effects after the internal supervision showed that in the first spiral, teachers as co-researchers reported their knowledge and understanding and were able to organize school operations concerning student discipline enhancement. In the second spiral, the internal supervision process led to improvement with the progress percentage of 83.03 percent. The effects after the PLC session revealed that PLC facilitated teachers’ learning. Consequently, teachers performed better in enhancing student discipline. From the first to the second spirals, the progress percentage achieved 43.27.
3.2 The students improved their discipline in terms of self and social responsibility. Parents’ satisfaction toward student discipline from the first to the second spirals achieved the progress percentage of 13.38 and 12.93, respectively. In addition, from the first to the second spirals, co-researcher’s satisfaction toward student discipline reached the progress percentage of 26.76, and 33.17, respectively
คำสำคัญ
การพัฒนาศักยภาพครู การเสริมสร้างวินัยนักเรียนKeyword
Teacher Development, Student Discipline Enhancementกำลังออนไลน์: 54
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 2,508
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,707
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093