...
...
เผยแพร่: 26 ธ.ค. 2563
หน้า: 177-186
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 1720
Download: 224
Download PDF
การบริหารระบบสารสนเทศ (Q-Info) เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา (sQip) ของกลุ่มโรงเรียนนำร่อง จังหวัดเชียงใหม่
The Management of Quality Learning Information System (Q-Info) for School Quality Improvement Program (sQip) of the Pilot School Group Chiang Mai Province
ผู้แต่ง
ภูริเดช สุขนันท์, สำเนา หมื่นแจ่ม
Author
Phuridech Sookkanan, Samnao Muenjaem

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการ ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จและเพื่อพัฒนาคู่มือการบริหารระบบสารสนเทศ Q-Info เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา (sQip) ของกลุ่มโรงเรียนนำร่อง จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร จำนวน 15 คน งานทะเบียนวัดผล จำนวน 15 คน ผู้ดูแลระบบ จำนวน 15 คน ครูผู้ใช้งาน จำนวน 131 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 176 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามสภาพปัญหา ความต้องการและปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จของการบริหารระบบสารสนเทศ Q-Info เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา (sQip) ของกลุ่มโรงเรียนนำร่อง จังหวัดเชียงใหม่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพปัญหาการบริหารระบบสารสนเทศ Q-Info ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณารายละเอียด แต่ละรายการพบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ครูผู้ใช้งาน ในด้านการปรับปรุงพัฒนา (Act) รองลงมาคือ แอดมิน ด้านการปรับปรุงพัฒนา (Act) และทะเบียน วัดผล ด้านการปรับปรุงพัฒนา (Act) ตามลำดับ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ ผู้บริหาร ในด้านติดตามประเมินผลและรายงาน (Check) และ ด้านการปรับปรุงพัฒนา (Act)

2. ความต้องการในการบริหารงานระบบสารสนเทศ Q-Info พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามต้องการให้มีแนวทางและแผนการบริหารระบบสารสนเทศ Q-Info ที่ชัดเจน ควรมีการกำหนดปฏิทินการดำเนินการที่ชัดเจนในแต่ภาคเรียน แต่ละปีการศึกษา ควรมีแนวทางการดำเนินการของแต่ละฝ่าย ควรมีการนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่องจากผู้บริหารและ Q-Coach และควรมีการจัดอบรมการใช้งานในแต่ละภาคเรียน เพื่อทบทวนวิธีการดำเนินการ

3. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จของการบริหารระบบสารสนเทศ Q-Info ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณารายละเอียด แต่ละรายการพบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ Q-Info รองลงมา Q-coach รองลงมาคือ Q-Goal และ Q-PlCs ตามลำดับ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ Q-Network

4. การพัฒนาคู่มือการบริหารระบบสารสนเทศ Q-Info ตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 1) ศึกษาผลการวิเคราะห์ ข้อมูลจากสภาพปัญหา ความต้องการการบริหารและปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จของการบริหารระบบสารสนเทศ Q-Info 2) ทำการยกร่างคู่มือการบริหารระบบสารสนเทศ Q-Info โดยมีองค์ประกอบของคู่มือดังนี้ ด้านรูปแบบ เล่มคู่มือมีขนาด A5 ตัวอักษรใช้ตัวอักษรในรูปแบบ TH Sarabun New ขนาด 14 pt และใช้ภาพประกอบในรูปแบบอินโฟกราฟิก ส่วนนำ ประกอบไปด้วยหน้าปกรอง คำนำ สารบัญ บัญชีตาราง/บัญชีภาพประกอบ ส่วนเนื้อหาประกอบไปด้วยหัวข้อแนวทางในการบริหารระบบสารสนเทศ Q-Info และปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จของการบริหารระบบสารสนเทศ Q-Info ส่วนท้าย ประกอบด้วย บรรณานุกรม ภาคผนวกและประวัติย่อผู้เขียน 3) ตรวจสอบ ความถูกต้อง, ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความมีประโยชน์ของร่างคู่มือ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ซึ่งผลการตรวจสอบในภาพรวมของร่างคู่มืออยู่ในระดับ ดีมาก ในทุกด้าน 4) ผู้ทรงคุณวุฒิ วิพากษ์เพื่อยืนยันความถูกต้อง, ความเหมาะสม, ความเป็นไปได้และความมีประโยชน์ ของร่างคู่มือ ผ่านกระบวนสนทนากลุ่ม ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิ ยืนยันว่า ร่างคู่มือการบริหารระบบสารสนเทศ Q-Info ในภาพรวม มีความความถูกต้อง, มีความเหมาะสม, มีความเป็นไปได้และมีประโยชน์ แต่มีบางส่วนที่ต้องทำการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 5) ผู้ศึกษาทำการแก้ไข ปรับปรุงร่างคู่มือการบริหารระบบสารสนเทศ Q-Info ตามข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ และได้คู่มือการบริหารระบบสารสนเทศ Q-Info เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา (sQip) ของกลุ่มโรงเรียนนำร่อง จังหวัดเชียงใหม่ฉบับสมบูรณ์

Abstract

The purpose of this study were to study the problems, needs and factors affected to success and to develop the handbook of Q-info management for developing School Quality Improvement Program (sQip) of the pilot school group Chiang Mai Province. The population and the sample were 15 school administrators, 15 registrations, 15 system administrators, 131 teachers and total of the population and the sample were 176. The instrument was a questionnaire. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, and standard deviation.

The results of the study can be summarized as follows:

1. The overall problem of Q-Info management was high level which considered the details of each lists found the highest average list was the teachers in Action followed by system administrators in Action, registrations in Action respectively and the lowest was the school administrators in Check and Action.

2. The needs of Q-Info management was found that the respondents wanted a clear plan of Q-Info management. The calendar should have specified the clear implementation in each terms and operated the guideline in each departments. The school administrations and Q-coach should have supervised continuously and trained in each terms for reviewed the procedure.

3. The overall factors affected to success of Q-Info management was high level which considered the details of each lists found the highest average list was Q-Info, Q-coach and Q-Goal respectively and the lowest was Q-Network.

4. The development of Q-Info management handbook followed as 1) Studied the result from the site analysis of the problems, needs and factors affected to success of Q-Info management. 2) Wrote the draft of handbook's framework of Q-Info management. The handbook consisted of format, the handbook size A5, TH Saraban New font-14 pt and used the illustration in infographic style. The prior section consisted of the title page, the preface, the table of content, the account table and the pictures table. The content consisted of the guideline topic of Q-Info management and the factors affected to success of Q-Info management. The last section consisted of bibliography, appendix and a short writer resume. 3) Checked the exactness, the suitability, the possibility and the usefulness of the handbook's framework by three experts. The overall result of the handbook's framework was at the highest (very good) in all sectors. 4) Senior experts criticized for assuring of the exactness, the suitability, the possibility and the usefulness of the handbook's framework by focus group discussion. The senior experts confirmed that the overall of Q-Info management handbook's framework was correct, suitable, possible and valuable but some parts should be improved and the senior experts gave more comments and suggestions. 5) Improved the Q-Info management handbook's framework from the comments and the suggestions of the senior experts and made the complete version of Q-Info management handbook for School Quality Improvement Program (sQip) of the pilot school group Chiang Mai Province.

คำสำคัญ

สภาพปัญหาและความต้องการ, การบริหารระบบสารสนเทศ Q-Info, จังหวัดเชียงใหม่

Keyword

problems and needs, information system management Q-Info, Chiang Mai Province.

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093