...
...
เผยแพร่: 26 ธ.ค. 2563
หน้า: 168-176
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 906
Download: 205
Download PDF
การพัฒนาสมรรถนะครูด้านดิจิทัล ของโรงเรียนบ้านห้วยไผ่ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
Digital literacy development for teachers in Baan Huay Phai School Chai Prakarn District Chiang Mai Province
ผู้แต่ง
ภควรรณ อยู่เย็น, สำเนา หมื่นแจ่ม
Author
Phakhawan Yooyen, Samnao Muenjam

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดทำแผนการพัฒนาสมรรถนะครูด้านดิจิทัล โรงเรียนบ้านห้วยไผ่ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ 2) พัฒนาสมรรถนะครูด้านดิจิทัล โรงเรียนบ้านห้วยไผ่ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ 3) ศึกษาผลการพัฒนาสมรรถนะครูด้านดิจิทัล โรงเรียนบ้านห้วยไผ่ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านห้วยไผ่ จำนวน 12 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ แบบทดสอบ แบบสังเกต และแบบประเมินชิ้นงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า IOC ค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

1. การจัดทำแผนการพัฒนาสมรรถนะครูด้านดิจิทัล โรงเรียนบ้านห้วยไผ่ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ มาตรฐานวิชาชีพครูด้านเทคโนโลยี  สมรรถนะด้านดิจิทัลของครูโรงเรียนบ้านห้วยไผ่ ในการจัดการเรียนรู้และการบริหารงาน รูปแบบ และแนวทาง ในการพัฒนาสมรรถนะครูด้านดิจิทัล และการจัดทำแผนพัฒนาสมรรถนะครู จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) จัดทำเป็นแผนพัฒนาสมรรถนะครูด้านดิจิทัล ของโรงเรียนบ้านห้วยไผ่ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ 3) ตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความมีประโยชน์ของร่างคู่มือ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ซึ่งผลการตรวจสอบในภาพรวมของแผนการพัฒนาสมรรถนะครูด้านดิจิทัล โรงเรียนบ้านห้วยไผ่ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ในภาพรวมมีความถูกต้อง มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้และมีประโยชน์ แต่มีบางส่วนที่ต้องทำการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

2. ผู้วิจัยดำเนินการพัฒนาสมรรถนะครูด้านดิจิทัล โรงเรียนบ้านห้วยไผ่ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 8-9 เมษายน 2563 ณ ห้องประชุมโรงเรียนบ้านห้วยไผ่ โดยผู้วิจัยทำหน้าที่เป็นวิทยากรอบรมครูกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 12 คน ก่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้วิจัยดำเนินการทดสอบความรู้ของครู เรื่อง สมรรถนะครูด้านดิจิทัล ผลการทดสอบ พบว่า มีคะแนนเฉลี่ย 10.67 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 1.50 จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะครูด้านดิจิทัล โดยใช้แผนการอบรมตามแผนการพัฒนาสมรรถนะครูด้านดิจิทัล โรงเรียนบ้านห้วยไผ่ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ที่จัดทำขึ้น ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อ สมรรถนะครูด้านดิจิทัล การสร้างห้องเรียน 4.0 ด้วย Plicker และการจัดการสารสนเทศด้วย Google Applications จากนั้นมอบหมายชิ้นงานจำนวน 5 ชิ้น  เพื่อประเมินความสามารถในด้านการจัดการเรียนการสอนด้วย Plicker และด้านการจัดการข้อมูลสารสนเทศด้วย Google Applications หลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ ผู้วิจัยดำเนินการทดสอบความรู้ของครู เรื่อง สมรรถนะครูด้านดิจิทัล ผลการทดสอบพบว่า มีคะแนนเฉลี่ย 15.08 และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 1.44

3. ผลการพัฒนาสมรรถนะครูด้านดิจิทัล โรงเรียนบ้านห้วยไผ่ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสมรรถนะครูด้านดิจิทัลเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการอบรม โดยมีคะแนนเฉลี่ยความก้าวหน้า 4.25 คะแนน และมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับร้อยละ 21.25 จากการสังเกตความกระตือรือร้นและการมีส่วนร่วมของครูผู้เข้ารับการอบรมพบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ผู้เข้าอบรมมีส่วนร่วมในฟ การแสดงความคิดเห็นทุกขั้นตอน รองลงมาคือ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการอบรมทุกขั้นตอน ตามลำดับ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ ความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมทุกขั้นตอน และมีความสนใจในการตอบประเด็นคำถามทุกขั้นตอน และจากการประเมินชิ้นงานของครูผู้เข้ารับการอบรม พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนส่งชิ้นงานครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ และมีความสมบูรณ์ของชิ้นงานที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ชิ้นงานที่ 3 และชิ้นงานที่ 4 รองลงมา ชิ้นงานที่ 2 และชิ้นงานที่ 1 ตามลำดับ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ ชิ้นงานที่ 5

Abstract

The objectives of this research were to construct a digital literacy development plan for the teachers at Ban Huay Phai School in Chai Prakarn district, Chiang Mai province, to develop digital literacy of the teachers, and to investigate the digital literacy development results of the teachers. The target group comprised 12 teachers. The research instruments consisted of an accuracy, propriety, feasibility and utility assessment, an assignment assessment, a test, and an observation. The data were analyzed for percentage, mean, standard deviation, IOC, and reliability of the test.

The research results are summarized as follows.

1. The steps of constructing the digital literacy development plan were composed of the following. Firstly, an investigation on the 21st century educational management contexts was conducted with a focus on the implementation of technology in educational and learning management, technological professional standards, digital literacy in administrative and learning management, patterns and guidelines in digital literacy development, and construction of the teachers’ competency development plan from related documents and research studies. Secondly, the digital literacy development plan for the teachers was constructed. Finally, the accuracy, propriety, feasibility and utility of the handbook were verified and assessed by three experts. It was found from the verification that the plan was generally accurate, appropriate, feasible, and useful. Some aspects of the plan were improved according to the suggestions of the experts.

2. The implementation of the digital literacy development between 8-9 April 2020 at meeting room of Baan Huay Phai School. In which the researcher acts as a lecturer to trained the target group of 12 people. Firstly, pre-test of teacher knowledge about digital literacy development for teachers with the progress mean scores of 10.67 and the standard deviation of 1.50. Secondly, workshop on digital literacy development for teachers with the digital literacy development plan created consisting of topics digital teacher literacy, building a classroom 4.0 with Plicker and information management with Google Applications Thirdly, assign 5 pieces of work for assess ability of teaching management with Plicker and information management with Google Applications Finally, post-test of teacher knowledge about digital literacy development for teachers with the progress mean scores of 15.08 and the standard deviation of 1.44.

3. The implementation of the digital literacy development plan revealed that the teachers had better knowledge and understanding about digital literacy when the pre- and posttest scores were compared; with the progress mean scores of 4.25 and the progress percentage of 21.25. From the observation of their enthusiasm and participation, it was found that the aspects with the highest mean were participation in activities, expression of ideas at every step, and participation in the training activities in every step respectively. The aspects with the lowest mean were enthusiasm in carrying out activities in every step and interest in answering questions in every step. From evaluating their assignments, it was revealed that all the participating teachers submitted all their assignments. The completion of their assignments with the highest mean was Assignments 3 and 4, followed by Assignments 2 and 1 respectively. The one with the lowest mean was Assignment 5.

คำสำคัญ

สมรรถนะครู, สมรรถนะด้านดิจิทัล, แผนการพัฒนาสมรรถนะ

Keyword

Teachers’ Competency, Digital Literacy, Competency Development Plan

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093