...
...
เผยแพร่: 26 ธ.ค. 2563
หน้า: 156-167
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 821
Download: 189
Download PDF
การพัฒนาคู่มือการบริหารงานแนะแนวโรงเรียนตามแนวคิดการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1
The development of schools guidance management based on Deming Cycle (PDCA) under the Office of Chiang Mai Primary Educational Service Area 1
ผู้แต่ง
ณัฏฐ์ภรณ์ มิ่งเมืองนล, สำเนา หมื่นแจ่ม
Author
Natphon Mingmaungnon, Samnao Muenja

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานแนะแนวโรงเรียนตามแนวคิดการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 และเพื่อพัฒนาคู่มือการบริหารงานแนะแนวโรงเรียนตามแนวคิดการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 กลุ่มประชากรในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่  ผู้บริหารสถานศึกษา 87 คน และครูแนะแนว 87 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามสภาพปัญหาบริหารงานบริหารงานแนะแนวโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

1. ผู้บริหารสถานศึกษาและครูแนะแนวมีความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาการบริหารงานแนะแนวโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (μ=3.48, σ =1.01) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านสามารถสรุปได้ดังนี้  ด้านที่มีสภาพปัญหาสูงสุด ได้แก่ ด้านการปฏิบัติตามแผน (Do) มีสภาพปัญหาอยู่ในระดับมาก (μ=3.66, σ =1.04) รองลงมาได้แก่ ด้านการเตรียมการวางแผนการดำเนินงาน (Plan) มีสภาพปัญหาอยู่ในระดับมาก (μ=3.60, σ =1.01) และด้านติดตามประเมินผลและรายงาน (Check) มีสภาพปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง (μ=3.45, σ =0.97) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ด้านการปรับปรุงพัฒนา (Act) มีสภาพปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง (μ=3.22, σ =1.01)

2. การพัฒนาคู่มือการบริหารงานแนะแนวโรงเรียนตามแนวคิดการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) ตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 1) ศึกษาเอกสารแนวคิด ทฤษฎี วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปข้อมูลจากการศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานแนะแนวโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำข้อคำถามการประชุมย่อยและการจัดทำร่างคู่มือ ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ หน้าปก ปกรอง คำนำ สารบัญ บัญชีตาราง/บัญชีภาพประกอบ ส่วนเนื้อหามี 3 บทประกอบด้วย บทที่ 1 การแนะแนวในโรงเรียน บทที่ 2 แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานแนะแนว บทที่ 3 แนวทางในการบริหารงานแนะแนวโรงเรียนตามแนวคิดการบริหารงานคุณภาพ (PDCA)  ส่วนท้าย ประกอบด้วย บรรณานุกรม ภาคผนวก และประวัติย่อผู้เขียน 2) ดำเนินการประชุมกลุ่มย่อย Focus Group เพื่อพัฒนาคู่มือการบริหารงานแนะแนวโรงเรียนตามแนวคิดการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 โดยมีประเด็นในการสนทนา 6 ประเด็น ดังนี้ กำหนดจุดมุ่งหมายของคู่มือ กำหนดประเภทของผู้ใช้คู่มือ  ความเหมาะสมของรูปแบบคู่มือ กำหนดขอบเขตการจัดทำเนื้อหาคู่มือ กำหนดข้อมูลในแต่ละขั้นตอน และลำดับเนื้อหาในการเขียนคู่มือ จากนั้นนำไปปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ 3) ตรวจสอบความเหมาะสมของคู่มือในด้านเนื้อหา ด้านรูปแบบ ด้านการนำไปใช้ ด้านความเที่ยงตรงในการใช้งานและด้านความเชื่อมั่นในการใช้งาน โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน พบว่า เหมาะสมทุกด้าน คิดเป็นร้อยละ 100 ตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยตั้งไว้ 4) ผู้ศึกษาทำการปรับปรุงแก้ไขและจัดพิมพ์คู่มือการบริหารงานแนะแนวโรงเรียนตามแนวคิดการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) ฉบับสมบูรณ์

Abstract

The purpose of this study was to study the school guidance administrative condition under the Chiangmai Primary Educational Service Area Office 1 for developing schools guidance management based on Deming Cycle (PDCA) under the Office of Chiangmai Primary Educational Service Area 1. The population were 87 school administration and 87 teacher counselors. The instrument was a questionnaire of school guidance administrative problem conditional in school under the Chiangmai Primary Educational Service Area Office 1. Data were analyzed using percentage, mean, and standard deviation.

The results of the study can be summarized as follows:

1. The results of the study can be summarized as follows the school administration and teacher counselors with the school guidance administrative condition under the Chiangmai Primary Educational Service Area Office 1 in overall was at a moderate level (μ=3.48, σ =1.01). It was summarized in each items as followed the highest problem item was the following plan stage (Do), the problem condition rating scale was in high (μ=3.66, σ =1.04) followed by the preparing of plan operation stage (Plan), the problem condition rating scale was in high (μ=3.60, σ =1.01) and the follow-up and evolutions stage (check), the problem condition rating scale was in moderate (μ=3.45, σ =0.97). The lowest average item was the implement and evaluate stage, the problem condition was in moderate (μ=3.22, σ =1.01)

2. The development of the school guidance based on Deming Cycle (PDCA) handbook followed as 1) studied the concept documents, theories, analyzed , synthesized and summarized the information from the studied of the school guidance administrative condition under the Chiangmai Primary Educational Service Area Office 1 as the based information to make the questions in focus group. The draft handbook consisted of 3 sections. The preliminary section consisted of the title page, the preface, the list of tables/ the list of illustrations. The content consisted of chapter 1 the school guidance, chapter 2 the concept of guidance administrative, chapter 3 the process of the school guidance administrative based on Deming Cycle (PDCA). The reference section consisted of bibliography, appendix and a short writer resume. 2) Managed the focus group for developing the school guidance based on Deming Cycle (PDCA) under the Chiangmai Primary Educational Service Area Office 1 with six issues of conversation followed as determined the hand book's target, determined the kind of the handbook's user & reasonableness of the handbook's form, determined the scope for setting the handbook's content, determined the information in each step, arranged the content for writing the handbook. Then improved by the suggestions 3 Checked the exactness of the hand book in content, form, utilization validity and assessment for using. The 3 experts found all the sections were suitable in 100% followed the criteria of the student was set. 4) Improved and printed the complete version of school guidance based on Deming Cycle (PDCA).

คำสำคัญ

งานแนะแนว, การบริหารงานแนะแนว, การบริหารงานคุณภาพ

Keyword

Schools guidance, Schools guidance management, Quality management

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093