บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการบริหารสถานศึกษาตามโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) และเพื่อเปรียบเทียบกระบวนการบริหารสถานศึกษาตามโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) กลุ่มประชากรในการศึกษาครั้งนี้ได้เลือกมาอย่างเจาะจงจากบุคลากรของโรงเรียน 2 โรงในสองจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 2 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา 45 คนและนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 147 คน โรงเรียนบ้านหนองเงือก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1และโรงเรียนมิตรมวลชนเชียงใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 รวมประชากรทั้งสิ้น 192 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามกระบวนการบริหารสถานศึกษาตามโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) จำนวน 2 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัย พบว่า
1. กระบวนการบริหารสถานศึกษาตามโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ของโรงเรียนบ้านหนองเงือก พบว่าภาพรวม อยู่ในระดับมาก (μ=4.07, σ =0.65) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า (μ=4.24, σ =0.60) รองลงมาได้แก่ ด้านการนำองค์กร (μ=4.16, σ =0.66) ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (μ=4.13, σ =0.61) ด้านผลลัพธ์ (μ=4.07, σ =0.65) ด้านการวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ (μ=4.01, σ =0.67) และด้านการมุ่งเน้นบุคลากร (μ=3.97, σ =0.65) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ ด้านการมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ (μ=3.92, σ =0.71) ตามลำดับ และโรงเรียนมิตรมวลชนเชียงใหม่ พบว่าภาพรวม อยู่ในระดับมาก (μ=4.17, σ =0.64) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า (μ=4.32, σ =0.62) รองลงมา ได้แก่ ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (μ=4.31, σ =0.61) ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร (μ=4.28, σ =0.63) ด้านการวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ (μ=4.23, σ =0.59) ด้านการนำองค์กร (μ=4.21, σ =0.60) และด้านการมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ (μ=4.19, σ =0.66) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ ด้านผลลัพธ์ (μ=3.67, σ =0.88) ตามลำดับ
2. การเปรียบเทียบกระบวนการบริหารสถานศึกษาตามโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ของโรงเรียนบ้านหนองเงือกมีกระบวนการบริการสถานศึกษาตามโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ไม่แตกต่างกับโรงเรียนมิตรมวลชนเชียงใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีความเป็นได้ว่า ทั้งสองโรงเรียนมีแนวทางการบริการสถานศึกษาตามโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ทั้ง 7 ด้าน ที่ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้เพราะการดำเนินโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนานั้นขึ้นตรงกับเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยตรง มีการปลดระเบียบต่าง ๆ ให้มีความคล่องตัวมากขึ้น มีคณะกรรมการสถานศึกษาที่มาจากผู้แทน 4 ฝ่ายเข้ามาช่วยบริหารจัดการ คือ ภาคประชาสังคม ท้องถิ่น ภาคเอกชน และมหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็นพี่เลี้ยง โดยมีผู้แทนภาคเอกชนเป็นประธานกรรมการสถานศึกษา เพื่อจะได้นำแนวคิดการทำงานแบบใหม่ ๆ ที่ทันสมัยเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารโรงเรียนให้ไปสู่เป้าหมายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ถือเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมการศึกษา
Abstract
The purpose of this research was to study the educational management process of school administration in accordance with the Joint Development School Project based on Educational Quality Criteria for Excellent implementations (EdPEx) and to compare the educational management process of school administration in accordance with the Joint Development School Project based on Educational Quality Criteria for Excellent implementations (EdPEx). The population in this study was selected specifically from the personnel of 2 schools in the two participating provinces. Consisting of 2 administrators, teachers and educational personnel 45 people and 147 junior high school students at Ban Nong Nguek School: The Office of Lamphun Primary Education Service Area 1 and Mitmuanchonchiangmai school: The Office of Chiang Mai Primary Educational Service Area 3. The tools used in the research were the questionnaires about school administration process based on the joint development school project based on educational quality criteria for Excellent implementations (EdPEx). Data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation and the test (t-test).
The results are as follow.
1. The educational management process of school administration in accordance with the Joint Development School Project based on Educational Quality Criteria for Excellent implementations (EdPEx) at Ban Nong Nguek School found that the overall picture was at a high level (μ=4.07, σ =0.65) Considering each aspect, it was found that the highest value side was customer focus. (μ=4.24, σ =0.60), Followed by Leadership Organization (μ=4.16, σ =0.66), Strategic planning (μ=4.13, σ =0.61), result (μ=4.07, σ =0.65), in measurement analysis and knowledge management (μ=4.01, σ =0.67) and Personnel focus (μ=3.97, σ =0.65) The aspect that has the lowest value side was Operating system focus (μ=3.92, σ =0.71), rrespectively. And at Mitmuanchonchiangmai School found that the overall picture was at a high level (μ=4.17, σ =0.64) Considering each aspect, it was found that the highest value side was customer focus. (μ=4.32, σ =0.62), followed by Strategic planning (μ=4.31, σ =0.61), Personnel focus (μ=4.28, σ =0.63), in measurement analysis and knowledge management (μ=4.23, σ =0.59), leadership organization (μ=4.21, σ =0.60) and operating system focus (μ=4.19, σ =0.66) The aspect that has the lowest mean was result (μ=3.67, σ =0.88), respectively.
2. A comparison of guidelines for school administration in accordance with the Joint Development School Project based on Educational Quality Criteria for Excellent implementations (EdPEx) between Ban Nong Nguek School and Mitmuanchonchiangmai School are not different with statistical significance at the level of 0.01. There is a possibility that both schools have guidelines for school services in accordance with the School Development Project in accordance with the educational quality criteria for excellence. All 7 sides that are similar because the implementation of the joint development school project is directly to the secretary of the Basic Education Commission. There are releasing regulations to be more streamlined. There is a school board of representatives from 4 divisions to help manage: There are civil society, local, private sector and the universities in the area are a mentor. According to private sectors representative as the school committee chair. In order to bring new modern working concepts to help increase the efficiency of school administration to achieve the goals more quickly regarded as encouraging participation in educational activities.
คำสำคัญ
โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา, เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศKeyword
Partnership School Project, Education Criteria for Performance Excellence (EdPEx)กำลังออนไลน์: 21
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 2,707
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,906
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093