...
...
เผยแพร่: 26 ธ.ค. 2563
หน้า: 111-120
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 693
Download: 252
Download PDF
การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) เรื่อง งานและ พลังงานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Development of Creativity and Teaching Process Based on STEM Education Approach on Work and Energy of Mathayom suksa Four Students
ผู้แต่ง
รวีวรรณ สุขสาร, ไพบูลย์ สุทธิ
Author
Raweewan Suksarn, Paiboon Sutti

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) เรื่อง งานและพลังงาน  2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางความคิดสร้างสรรค์ระหว่างก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) เรื่อง งานและพลังงาน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา(STEM Education) เรื่อง งานและพลังงาน  กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้คือ นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนกันทรารมณ์ อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 34 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา จำนวน 15 คาบ แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบกลุ่มที่ศึกษาไม่เป็นอิสระต่อกัน

ผลการวิจัย พบว่า

1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง งานและพลังงานมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง งานและพลังงานมีความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) เรื่อง งานและพลังงานอยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 4.48)

Abstract

The purposes of this research were: 1) to compare students ’s learning achievement between pretest and posttest, 2) to compare students ’s creativity between pretest and posttest, and 3) to study satisfaction of  mathayom suksa IV students were taught based on STEM Education approach on Work and Energy. The subjects were 34 mathayom suksa IV students at Kanthararom School, Kanthararom District, Sisaket Province selectedbased on a simple random sampling, during the academic year 2019. Research instruments were 15 Physic lesson plans based on STEM education approach, creativity ability test, Physic learning achievement test and the satisfaction questionnaire. The collected data were analyzed by means of arithmetic mean and standard deviation. The hypotheses of this research were tested by using t-test for dependent samples.

The research findings were as follows:

1. Mean scores of posttests of learning achievement of students were taught based on STEM Education approach on Work and Energy were higher than pretest with a statistical significance level of .01.

2. Mean scores of posttests of creativity ability of students were taught based on STEM Education approach on Work and Energy were higher than pretest with a statistical significance level of .01.

3. Mean scores of the satisfaction of the students were taught based on STEM Education approach on Work and Energy was at a high level (\bar{x} = 4.48).

คำสำคัญ

ความคิดสร้างสรรค์, สะเต็มศึกษา, นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Keyword

Creativity, STEM Education, Mathayom suksa Four Students

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093