...
...
เผยแพร่: 26 ธ.ค. 2563
หน้า: 100-110
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 667
Download: 187
Download PDF
ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสกลนคร
Administrative Factors Affecting School Effectiveness under the Office of the Basic Education Commission in Sakon Nakhon province
ผู้แต่ง
วิมาลย์ ลีทอง, วัฒนา สุวรรณไตรย์, ฤทัยทรัพย์ ดอกคำ
Author
Vimal Leethong, Watana Suwannatrai, Ruethaisap Dokkham

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดสกลนคร เปรียบเทียบปัจจัยการบริหารและประสิทธิผลโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยการบริหารและประสิทธิผลโรงเรียน ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน และหาแนวทางการพัฒนาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน 98 คน และครูผู้สอน 270 คน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดสกลนคร ปีการศึกษา 2562 รวมจำนวน 368 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยการบริหารโรงเรียนและประสิทธิผลโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.935 และ 0.883 ตามลำดับ และมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง  0.233 - 0.868 และ 0.388 – 0.806 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

3. ปัจจัยการบริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง และประเภทโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกัน

4. ประสิทธิผลโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและประเภทโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

5. ปัจจัยการบริหารกับประสิทธิผลโรงเรียน โดยรวมพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. ปัจจัยการบริหาร จำนวน 5 ปัจจัย ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลโรงเรียนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ปัจจัยที่ 6 โครงสร้างองค์การ (X6) ปัจจัยที่ 4 การพัฒนาบุคลากร (X4) ปัจจัยที่ 2 บรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ (X2) ปัจจัยที่ 3 การบริหารจัดการ (X3) และปัจจัยที่ 8 งบประมาณ (X8 )

7. แนวทางการพัฒนาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนที่ควรได้รับการพัฒนา มี 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ ควรจัดบรรยากาศภายในให้ร่มรื่นสะอาดและปลอดภัยและมีระบบการทำงานที่เอื้อต่อความสำเร็จ 2) ด้านการบริหารจัดการ ควรใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม ดำเนินงานอย่างเป็นระบบ แบ่งหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน 3) ด้านการพัฒนาบุคลากร ควรส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรได้พัฒนาของตนเองในทุก ๆ ด้าน 4) ด้านโครงสร้างองค์การ ควรวิเคราะห์ กำหนดโครงสร้างและแบ่งความรับผิดชอบ ลดขั้นตอนการทำงานและเน้นการกระจายอำนาจ และ 5) ด้านงบประมาณควรวิเคราะห์ จัดทำงบประมาณ โดยยึดหลักการบริหารมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์และการบริหารจัดการที่เป็นระบบ และจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ

Abstract

The purposes of this research were: to examine administrative factors affecting school effectiveness under the Office of the Basic Education Commission in Sakon Nakhon province, to compare administrative factors and school effectiveness as perceived by school administrators and teachers with different positions, school sizes, and work experiences, to investigate the relationship between administrative factors and school effectiveness, to identify the predictive power of administrative factors affecting school effectiveness,  and to establish the guidelines for developing administrative factors affecting school effectiveness. The samples consisted of 98 school administrators and 270 teachers, yielding a total of 368 participants working in schools under the Office of the Basic Education Commission in Sakon Nakhon province in the 2019 academic year. The instrument for data collection was a set of questionnaires concerning school administrative factors and school effectiveness with the reliability of 0.935 and 0.883, respectively and the discriminative power between 0.233 - 0.868 and 0.388 – 0.806, respectively. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, t – test (Independent Samples), One – Way ANOVA, Pearson Product-Moment Correlation Coefficient, and Stepwise Multiple Regression Analysis. 

The findings were as follows:

1. The school administrative factors affective school effectiveness, as a whole and each aspect, were at a high level.

2. School effectiveness, as a whole and each aspect, was at a high level.
3. Administrative factors as perceived by participants with different positions and school sizes, as a whole, were different at a statistical significance of .01 level. Regarding working experiences, the administrative factors were not different.

4. School effectiveness as perceived by participants with different positions, working experiences, and school types as a whole, was different at a statistical significance of .01 level.
 

5. Administrative factors and school effectiveness, as a whole showed a positive relationship at a statistical significance of .01 level.

6. School administrative factors comprised five aspects which were able to predict school effectiveness at a statistical significance of the .01 level. The said factors were Factor 6-Organization structure (X6), Factor 4-Personnel development (X4), Factor 2-Work atmosphere and Organizational culture (X2), Factor 3-Administrative management (X3), and Factor 8-Budget (X8).

7. The guidelines for developing administrative factors affecting school effectiveness involved five aspects needing improvement: 1) Working Atmosphere and Organizational Culture. School should provide shady, clean and a safe school atmosphere, and offer working systems supporting success; 2) Administrative Management. Schools should perform using principles of participative management. School operation should be systematic and clearly assigned job duties and responsibilities; 3) Personnel Development. Schools should support personnel self-development for all aspects; 4) Organization Structure. Schools should perform the following activities: structure establishment, divided responsibilities, reducing service steps, and decentralization; and 5) Budget. Schools should perform budget analysis based on result based management principles, systematic management, and adequate budget allocation.

คำสำคัญ

ปัจจัยการบริหาร, ประสิทธิผลโรงเรียน

Keyword

Administrative Factors, School Effectiveness

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093