...
...
เผยแพร่: 10 ก.ค. 2562
หน้า: 160-169
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 360
Download: 200
Download PDF
การพัฒนาเอกสารประกอบการสอนรายวิชาพระพุทธศาสนาร่วมกับการเรียนรู้แบบ LT และการเรียนรู้แบบ STAD เพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมพฤติกรรมการกล้าแสดงออก และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
The Development of Handouts in Buddhism Subject With lt and Stad for Support Social Skills Assertiveness and Learning Achievement for Matthayom Suksa
ผู้แต่ง
สัญนิตย์ ผลภิญโญ, มารศรี กลางประพันธ์, สมเกียรติ พละจิตต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการสอนรายวิชาพระพุทธศาสนาร่วมกับการเรียนรู้แบบ LT และการเรียนรู้แบบ STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะทางสังคมของนักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบ การสอนรายวิชาพระพุทธศาสนาร่วมกับการเรียนรู้แบบ LT และการเรียนรู้แบบ STAD ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมการกล้าแสดงออกของนักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการสอนรายวิชาพระพุทธศาสนาร่วมกับ การเรียนรู้แบบ LT และการเรียนรู้แบบ STAD ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการสอนรายวิชาพระพุทธศาสนาร่วมกับการเรียนรู้แบบแบบ LT และการเรียนรู้แบบ STAD ระหว่างก่อนและหลังเรียน 5) เปรียบเทียบทักษะทางสังคม พฤติกรรมการกล้าแสดงออก และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์แตกต่างกัน (สูง ปานกลาง และต่ำ) เมื่อเรียนด้วยเอกสารประกอบการสอนรายวิชาพระพุทธศาสนาร่วมกับการเรียนรู้แบบ LT และการเรียนรู้แบบ STAD กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 27 จังหวัดหนองคาย สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เอกสารประกอบการสอนรายวิชาพระพุทธศาสนาร่วมกับการเรียนรู้แบบ LT และการเรียนรู้แบบ STAD 2) แบบสอบถามทักษะทางสังคม 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการกล้าแสดงออก 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) ความแปรปรวนพหุร่วมทางเดียว (One–Way MANOVA) และความแปรปรวนทางเดียว (One–Way ANOVA)

ผลการวิจัย พบว่า

1. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาพระพุทธศาสนาร่วมกับการเรียนรู้แบบ LT และการเรียนรู้แบบ STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.63/84.75 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80

2. ทักษะทางสังคมของนักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการสอนรายวิชาพระพุทธศาสนาร่วมกับการเรียนรู้แบบ LT และการเรียนรู้แบบ STAD หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. พฤติกรรมการกล้าแสดงออกของนักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการสอนรายวิชาพระพุทธศาสนาร่วมกับการเรียนรู้แบบ LT และการเรียนรู้แบบ STAD หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการสอนรายวิชาพระพุทธศาสนาร่วมกับการเรียนรู้แบบ LT และการเรียนรู้แบบ STAD หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. ทักษะทางสังคม พฤติกรรมการกล้าแสดงออก และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์แตกต่างกัน (สูง ปานกลาง และต่ำ) เมื่อเรียนด้วยเอกสารประกอบการสอนรายวิชาพระพุทธศาสนาร่วมกับการเรียนรู้แบบ LT และการเรียนรู้แบบ STAD มีความแตกต่างกัน

Abstract

The purpose of this research was to 1) to find out the effectiveness of the teaching materials of Buddhism in combination with LT learning and STAD learning for mathayom suksa one students under criterion 80/80 2) to Compare the social skills of students. Study with documentation. 3) to compare the behavior of the students with the teaching materials of the Buddhist teaching with the learning of the Buddhist teaching with LT learning and STAD learning between before and after school. LT and STAD learning between pre and post-study 4) to compare learning achievement The students were taught with the teaching materials of Buddhism, with LT learning and STAD learning between before and after school. 5) To compare the social skills. Daring behavior When studying with the teaching materials of Buddhism, together with LT learning and STAD learning, the samples were first-class students and students with different emotional intelligence (high, medium and low). Secondary education of Rajaprajanugroh School 27, Nongkhai Cluster Random Sampling. The research tools consisted of 1) the teaching materials of the Buddhism course with the students in the second semester of the academic year 2017. LT learning and STAD learning. 2) Social skills questionnaire. 3) Behavioral expressions. 4) Achievement test. And 5) Emotional intelligence. Percentage, mean, standard deviation T-test, one-way MANOVA, and one-way ANOVA.

The results are as follows.

1. The teaching document of Buddhism in combination with LT learning and STAD learning for Mathayomsuksa 1 students. The performance criterion was 84.63 / 84.75, meeting the criteria of 80/80.

2. The social skills of the students who studied with the teaching materials of Buddhism in combination with LT learning and STAD learning after learning was higher than before. At the .01 level of significance.

3. Behavior of student demonstration with teaching materials in Buddhism with LT learning and STAD learning after class was higher than before. At the .01 level of significance.

4. The learning achievement of the students who studied with the teaching materials of the Buddhist teaching with LT learning and STAD learning after class was higher than before. At the .01 level of significance.

5. Social skills Daring behavior And the achievement. The study of students with different levels of emotional intelligence (high, medium and low) when studying with the teaching materials of Buddhism with LT learning and STAD learning are different.

คำสำคัญ

เอกสารประกอบการสอน, การเรียนรู้แบบ LT, การเรียนรู้แบบ STAD, ทักษะทางสังคม, พฤติกรรมการกล้าแสดงออก, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

Keyword

Handouts, Learning Together, Student Teams Learning, Social Skills, Assertiveness, Learning Achievement

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093