บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในจังหวัดนครพนม 2) เปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในจังหวัดนครพนม จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง นิกายที่สังกัด พรรษา วุฒิการศึกษานักธรรม วุฒิการศึกษาเปรียญธรรม 3) หาแนวทางพัฒนาประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในจังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พระสังฆาธิการระดับเจ้าคณะ และพระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาส ประจำปี 2562 จำนวน 285 รูป ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นเป็นสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) พระสังฆาธิการระดับเจ้าคณะ จำนวน 111 รูป พระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาส จำนวน 174 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า ประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.234 – 0.793 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.942 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบสมมติฐานโดยการใช้การวิเคราะห์ t-test, One-Way ANOVA
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในจังหวัดนครพนม อยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในจังหวัดนครพนม ที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งต่างกัน โดยรวม มีความคิดเห็นแตกต่างกันไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านสาธารณสงเคราะห์ มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยพระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาส มีความคิดเห็นมากว่า พระสังฆาธิการระดับเจ้าคณะ ด้านศาสนศึกษา และด้านสาธารณูปการ มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาส มีความคิดเห็นมากว่า พระสังฆาธิการระดับเจ้าคณะ
3. ประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในจังหวัดนครพนม จำแนกตามนิกายที่สังกัด โดยรวม มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านศาสนศึกษา มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมหานิกายมีความคิดเห็นมากกว่าธรรมยุติกนิกาย
4. ประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในจังหวัดนครพนม ตามความคิดเห็นของเจ้าคณะอำเภอ รองเจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล รองเจ้าคณะตำบล เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส และผู้ช่วยเจ้าอาวาส ที่มีพรรษาต่างกัน โดยรวม ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านสาธารณสงเคราะห์ มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในจังหวัดนครพนม จำแนกตามวุฒิการศึกษานักธรรม โดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน
6. ประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในจังหวัดนครพนม จำแนกตามวุฒิการศึกษาเปรียญธรรม โดยรวม ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านสาธารณสงเคราะห์ มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
7. แนวทางการยกระดับประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ ไว้ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเผยแผ่ ด้านสาธารณูปการ และด้านสาธารณสงเคราะห์
Abstract
The purposes of this research were: to examine the effectiveness of Sangha administration in Nakhon Phanom province; 2) to compare the effectiveness of Sangha administration in Nakhon Phanom province, classified by positions, sects-Mahanikai and Dhammayut, periods of monkhood, degrees of secular education-Dhamma scholar and Pali scholar; 3) to establish guidelines for developing effectiveness of Sangha administration in Nakhon Phanom province. A total of 285 monk participants was obtained through proportional stratified random sampling in 2020, consisting of 111 Administrative Monk-Deans and 174 Administrative Monk-Abbots. The research instrument for data collection was a rating scale questionnaire to evaluate the effectiveness of Sangha administration with reliability values ranging from 0.234-0.793 and the reliability of .942. The statistics for data collection were percentage and standard deviation. The hypothesis testing was done through t-test and One-Way ANOVA.
The findings were follows:
1. The effectiveness of Sangha administration in Nakhon Phanom province, as perceived by monk participants was at a high level.
2. The effectiveness of Sangha administration in Nakhon Phanom province, as perceived by monk participants from different positions, in general, showed no differences. When considering the individual aspect, in terms of public welfare, there was different at a statistical significance of .05 level.
The administrative monk-abbots showed their opinions more than the administrative monk-deans. In terms of religious studies and public welfare, the difference was at a statistical significance of .05 level. The administrative monk-abbots expressed their opinions more than the administrative monk-deans.
3. The effectiveness of Sangha administration in Nakhon Phanom province, as perceived by monk participants from different sects were not different overall. As for individual aspect, the religious studies were statistically significant different at .05 level. The Maha Nikaya monks expressed their opinions more than the Dhammayutika Nikaya monks.
4. The effectiveness of Sangha administration in Nakhon Phanom province, as perceived by monk participants, including Ecclesiastical District Officers, Deputy Abbots to Ecclesiastical District Officers, Ecclesiastical Commune-Chief, Abbots, Deputy Abbots to Ecclesiastical Commune-Chief, and Assistant Abbots with different periods in the monkhood, as a whole, was not different. When considering the individual aspect, the public welfare was statistically significant difference at the .05 level.
5. The effectiveness of Sangha administration in Nakhon Phanom province as perceived by monk participants, classified by Dhamma scholar, as a whole was not different.
6. The effectiveness of Sangha administration in Nakhon Phanom province as perceived by monk participants, classified by Pali Scholar, as a whole was not different. When considering the individual aspect, public welfare was statistically significant difference at .01 level.
7. guidelines for improving the effectiveness of Sangha administration involved three aspects: Buddhism dissemination, public welfare and public works.
คำสำคัญ
ประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์, คณะสงฆ์จังหวัดนครพนมKeyword
Effectiveness of Sangha Administration, Sangha Administration in Nakhon Phanomกำลังออนไลน์: 107
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 2,649
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,848
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093