บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหาของการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคกระทรวงศึกษาธิการ 2) หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาค กระทรวงศึกษาธิการ 3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคกระทรวงศึกษาธิการ ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) แบบ PAOR มี 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน (Planning) การปฏิบัติการ (Action) การสังเกตการณ์ (Observation) และการสะท้อนกลับ (Reflection) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ บุคลากร ในสำนักงานศึกษาธิการภาค 10 จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมินยืนยันความเหมาะสมของคู่มือการพัฒนา แบบประเมินการใช้คู่มือ แบบประเมินการประชุมเชิงปฏิบัติการ และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ การหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอโดยความเรียงนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพ ปัญหาของการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคกระทรวงศึกษาธิการ ด้านสภาพการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคกระทรวงศึกษาธิการ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านปัญหา พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วย
2.1 การประชุมเชิงปฏิบัติสร้างการรับรู้การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคกระทรวงศึกษาธิการ เวลา 1 วัน พบว่า ระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 การใช้คู่มือการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 4 ชุดการเรียนรู้ ประกอบด้วย ชุดที่ 1 การพัฒนาตนเอง ชุดที่ 2 การทำงานเป็นทีม ชุดที่ 3 การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ชุดที่ 4 การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ กระบวนการพัฒนาการเสริมสร้างประสิทธิภาพของบุคลากร ระยะเวลา 5-19 สิงหาคม 2562 (30 ชั่วโมง) มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การศึกษาด้วยตนเอง แบ่งออกเป็น 2 ระยะ 1.1) กิจกรรมแรกพบ ปฐมนิเทศ 1.2) การศึกษาเอกสารการเรียนรู้ด้วยตนเอง 4 ชุด ขั้นที่ 2 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขั้นที่ 3 การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ และขั้นที่ 4 การประเมินความพึงพอใจในการใช้คู่มือการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 4 ชุด พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคกระทรวงศึกษาธิการ ก่อนการพัฒนา พบว่า การพัฒนาด้านสมรรถนะและทักษะ ได้แก่ การพัฒนาตนเองและการทำงานเป็นทีม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ และการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง หลังจากการพัฒนา พบว่า การพัฒนาด้านสมรรถนะและทักษะทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
Abstract
The purposes of this research were to: 1) examine the conditions and problems concerning personnel’s potential development to enhance effective dynamics of education reforms in regional areas under the Mistry of Education; 2) establish the guidelines for personnel potential development to enhance effective dynamics for education reforms in the regional areas under the Ministry of Education, and 3) follow up the effects after the personnel potential development. The Action Research (PAOR) was carried out in four steps: planning, action, observation, and reflection. The samples were 21 personnel in the Office of Regional Education Office No. 10. The research tools for data collection were a set of questionnaires, assessment forms for confirming the appropriateness of the developed handbooks, an assessment form for evaluating the implementation, and a satisfaction assessment form. The data analysis was done through mean, percentage, standard deviation. The contents were then grouped and presented in a format of descriptive analysis
The findings were as follows
1. The conditions and problems of personnel’s potential development to enhance effective dynamics for education reforms in the regional areas under Ministry of Education, revealed that the conditions as a whole were found at a high level, whereas the problems at a medium level in overall.
2. The guidelines for personnel potential development to enhance effective dynamics for education reforms in the regional areas under Ministry of Education involved:
2.1 A one-day workshop to create perception in terms of personnel’s potential development to enhance effective dynamics for education reforms in the regional areas under Ministry of Education. The satisfaction level was at the highest level in overall.
2.2 A handbook utilization covered four learning volumes: Volume 1- Self-development, Volume 2- Team Work, Volume 3- Results Based Management, and Volume 4- Building Learning Organization. The procedures for enhancing effective personnel were carried out from 5th to 19th of August 2019 for a total of 30 hours. This procedure included four steps: Step 1 Self-study, including orientation session and self-study through four learning volumes. Step 2 was related to learning exchanges. Step 3 was related to actual setting practices. Step 4 concerned satisfaction assessment toward the utilization of the developed learning volumes, with the highest level overall.
3.The effects after the implementation revealed that the pre-implementation variable in terms of competence and skills development, namely self-improvement and team work, was at a high level overall. The RBM and building learning organization aspects were at a medium level overall. The post-implementation scores of all four variables were at the highest level.
คำสำคัญ
การพัฒนาศักยภาพบุคลากร, การเสริมสร้างประสิทธิภาพKeyword
Personnel Potential Development, Enhancement of Effectivenessกำลังออนไลน์: 28
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 2,701
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,900
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093