...
...
เผยแพร่: 26 ธ.ค. 2563
หน้า: 24-36
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 650
Download: 188
Download PDF
ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2
Administrative Factors Affecting Effectiveness of Academic Affairs Administration of Schools in Under Local Administrative Organizations, Upper Northeast Group 2
ผู้แต่ง
เยาวลักษณ์ สุตะโคตร, จินดา ลาโพธิ์, สุมัทนา หาญสุริย์
Author
Yaovalak Sutacort, Jinda Lapho, Sumattana Hansuri

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน ของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวน 266 คน ได้มาโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ (Krejeie & Morgan) (อ้างในบุญชม ศรีสะอาด, 2556, หน้า 43) จากนั้นสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นชั้นได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 226 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 53 คน และครูผู้สอน จำนวน 213 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยทำการสอบถาม 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ปัจจัยการบริหาร มีค่าความเชื่อมั่น .972 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .450-.914 ด้านที่ 2 ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น .985 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .269-.922 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t-test, F-test One-way ANOVA ใช้ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน

ผลการวิจัย พบว่า

1. ปัจจัยการบริหารและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก

2. ปัจจัยการบริหาร และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน โดยรวม มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ปัจจัยการบริหารและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดแตกต่างกัน โดยรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน

4. ปัจจัยการบริหารและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน ที่ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่จังหวัดแตกต่างกัน โดยรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน

5. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. ปัจจัยการบริหารของโรงเรียน ด้านผู้บริหาร ด้านครูผู้สอน ด้านงบประมาณ ด้านชุมชนและด้านอาคารสถานที่ มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ โดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ร้อยละ 61.70

7. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการที่ควรได้รับการพัฒนา มีจำนวน 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผู้บริหาร ต้องมีบทบาทสำคัญต่อการบริหารงานในโรงเรียน มีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจ มีความสนใจที่จะพัฒนางาน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การบริหารโดยใช้ความร่วมมือร่วมใจความไว้ใจซึ่งกันและกัน 2) ด้านครูผู้สอน ควรกำหนดให้มีการนิเทศ กำกับติดตามดูแล ให้นโยบายแนวทางในการปฏิบัติแก่ครูในเรื่องการจัดการเรียนการสอน ครูต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจและทำงานด้านการสอนอย่างเต็มที่ มีความทันสมัย สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก มีวิธีการวัดผลการเรียนรู้ที่หลากหลายตามสภาพที่เหมาะสมของผู้เรียน 3) ด้านงบประมาณ ควรจัดสรรงบประมาณอย่างเต็มที่เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านวิชาการ มีการจัดทำแผนการใช้จ่ายเพื่อให้เกิดความโปร่งใส เกิดประโยชน์สูงสุดและมีความคล่องตัว 4) ด้านชุมชน ควรจัดชุมชนให้มีส่วนร่วมกับโรงเรียนในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรสถานศึกษา ใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในรูปแบบของ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง หรือเป็นกรรมการร่วมกับโรงเรียนในการนิเทศ ติดตาม และตรวจสอบการดำเนินงานด้านวิชาการ และ 5) ด้านอาคารสถานที่ ควรมีการกำหนดการวางแผนการใช้อาคารสถานที่  ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดต่อการเรียนการสอน มีการออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในโรงเรียนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และมีการบำรุงรักษาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม

Abstract

The purposes of this research aimed to examine factors affecting the effectiveness of academic affairs administration of schools under the Local Administrative Organization in the Upper Northeast Group 2. The samples in this research consisted of school administrators and teachers from schools under the Local Administrative Organization, in the Upper Northeast Group 2 in the academic year 2019, yielding a total of 266 participants as the sample size which was determined using Krejcie and Morgan Table (cited in Boonchom Srisa-ard, 2013, p. 43).  A stratified random sampling procedure was then employed using a school as a sampling unit to select 266 participants, including 53 school administrators and 213 teachers. The research instruments for data collection were interview forms and a set of 5-level rating scale questionnaires containing two aspects: The first aspect concerned administrative factors with a reliability of .972 and discriminative power ranging from .450 to .914; The second aspect was effectiveness of school academic affairs administration with a reliability of .985 and discriminative power ranging from .269 to .922. The statistics for data analysis were percentage, mean and standard deviation. The hypothesis testing was done through t-test, F-test (One-Way ANOVA), Pearson’s product-moment correlation, and Stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. The administrative factors and the effectiveness of school academic affairs administration, as perceived by participants, were at a high level.

2. The administrative factors and the effectiveness of school academic affairs administration, as perceived by participants, showed statistical significance at .05 level overall.

3. The administrative factors and the effectiveness of school academic affairs administration, as perceived by participants from different school sizes, were not different overall.

4. The administrative factors and the effectiveness of school academic affairs administration, perceived by participants working in schools from different provinces, were not different overall.

5. The administrative factors and the effectiveness of school academic affairs administration had a positive relationship at a .01 level of significance.

6. The administrative factor in terms of administrators, teachers, budgets, communities, and buildings had a predictive power on the effectiveness of academic affairs administration at a .01 level of significance overall, with a predictive power of 61.70 percent.

7. The administrative factors affecting the effectiveness of school academic affair administration needing improvement involved five aspects: 1) Administrators: School administrators must play important roles in school administration, have fundamental knowledge and understanding, be active in developing tasks, and adjust individual administrative behaviors to the needs to enhance cooperation and trust, 2) Teachers: Schools should provide supervision and monitoring, and performance guideline and policies for teachers in terms of teaching and learning management. Teachers must also commit and dedicate to their teaching practices, have modern teaching skills to respond to current global changes, and implement various learning measurement and evaluation to suit students’ needs and conditions, 3) Budgets: School budgets should continue to be allocated to support and promote academic affairs. The expenditure budget planning should be set, transparent flexible, and of great benefit, and 4) Communities: Schools should include community involvement in school development and curriculum management using participatory administrative principles to obtain involvement from all sectors, including administrators, teachers, parents, communities, and stakeholders-school board members, parent-network committee or joint committee to school academic affairs operations in terms of supervision, monitoring, and inspection, 5) Building and Utilities. Schools should establish building and utilities administrative plans to fully foster a teaching and learning atmosphere conducive development. School atmosphere should be designed and renovated to suit school environmental quality and maintain buildings and facilities and their environment.

คำสำคัญ

ปัจจัยการบริหาร, ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2

Keyword

Administrative Factors, Effectiveness of Academic Affairs Administration, Local Administrative Organizations, Upper Northeast Group 2.

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093