...
...
เผยแพร่: 26 ธ.ค. 2563
หน้า: 1-11
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 5159
Download: 493
Download PDF
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล
Technological Leadership Development Model for the School Administrators in the Digital Age
ผู้แต่ง
ไชยา ภาวะบุตร, สุรัตน์ ดวงชาทม, สุมัทนา หาญสุริย์
Author
Chaiya Pawabutra, Surat Dungchatom, Sumattana Hansuri

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล 2) สร้างและพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ประกอบด้วย 1) กำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำ องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล การพัฒนาภาวะผู้นำ รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล 2) ศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล 3) ยืนยันความถูกต้องและประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสกลนคร จำนวน 615 คน จาก 615 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จากผู้อำนวยโรงเรียนที่สมัครใจเข้าร่วมในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 240 คน ใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 1) การสร้างและพัฒนารูปแบบ 2) ตรวจสอบและประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน ระยะที่ 3 ทดลองใช้และตรวจสอบประสิทธิผลของคู่มือการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล มีการดำเนินการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ทดลองใช้และประเมินรูปแบบการพัฒนาจำนวน 30 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 200 ชั่วโมง 2) สรุปและนำเสนอรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

1. องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล มี 5 องค์ประกอบ 63 ตัวชี้วัด   ดังนี้ 1) โรงเรียนแห่งนวัตกรรม 2) การสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล 3) บรูณาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล 4) จริยธรรมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 5) บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการวัดและประเมินผล

2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการของการพัฒนา 4) เนื้อหาของรูปแบบ 5) การวัดและประเมินผล

3. ผลของการตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล พบว่า

 3.1 ความเหมาะสมของรูปแบบและคู่มือการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

3.2 ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล พบว่า ก่อนการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ผู้เข้าร่วมพัฒนาประเมินตนเองก่อนใช้รูปแบบ มีระดับภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และหลังการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 25.80 อีกทั้งผลการสัมภาษณ์ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

3.3 ผลการทดสอบความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล พบว่า คะแนนของผู้เข้ารับการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Abstract

This research aims to 1) Study the technological leadership elements of school administrators in the digital age 2) create and develop technological leadership models of school administrators in the digital age, and 3) to study the effectiveness of the technology leadership development model of school administrators in the digital age. This research were research and development in 3 phase of proceed. Phase 1 Includes: 1) defines the framework of research concepts by analyzing documents and research related to the concept of leadership theory, technological leadership element of the school administrators in the digital age, leadership development, technological leadership development model for the school administrators 2) Study the elements of the technology leadership of the school administrators in the digital age 3) confirm the accuracy and assessment of the appropriateness of the technological leadership elements of the school administrators in the digital age. Data using in-depth interviews and confirmatory factor analysis (CFA). Population and sample groups include: School director in Sakon Nakhon Province amount 615 people of 615 schools. Samples school using purposive sampling method from school director who voluntarily participated amount 240 people by using questionnaire in 5 rating scale level. Phase 2, creation and develop technological leadership development models of digital school administrators, consisting of 1) creating and developing models 2) monitor and evaluate the appropriateness of the model amount 10 people, Phase 3, test and review the effectiveness of the technological leadership development handbook of the school administrators in the digital age.  The research was conducted in 2 stages, consisting of 1) test and evaluation of development patterns in 30 people of 200 hour. 2) Summarize and present the statistics format used to analyze data   such as averages and standard deviations.

The findings showed that

1. Technological leadership elements of the school administrators in the digital age. There are 5 indicator elements as follows: 1) School of Innovation 2) Innovation creation (knowledge and skill) 3) Investigating technology and innovation learning management in the digital age 4) ethics of digital technology 5) integrating technology for measurement and evaluation. The average sort of descending order.

2. Technological leadership development model of the school administrators in the digital age consists of 1) principle of model 2) purpose of model 3) process of development 4) content of the model 5) measurement and evaluation.

3. The results of the effectiveness of the development of technology leadership of school administrators in the digital age found that

3.1 The suitability of the model and technology leadership development handbook of the academy administrators in the digital age was highest level of overview.

3.2 Test results of technology leadership development model of school administrators in the digital age was found that before the test of the technological leadership development model of the academy administrators in the digital age. Participants developed self-assessment before using the pattern. Technology leadership level of the academy administrators in the digital age was moderate level and after the test of the overall development model was high level. The percentage of progress is equal 25.80 The results of the interview are also in the same direction.

3.3 Test results of knowledge of the technology leadership of the school administrators in the digital age found that scores of leaders developed participants in the digital age. After development was higher than earlier, statistically significant at .01.

คำสำคัญ

การพัฒนาภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี, ผู้บริหารสถานศึกษา, เทคโนโลยีดิจิทัล

Keyword

Leadership development, Technology leadership, School administrators, Digital technology.

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093