...
...
เผยแพร่: 10 ก.ค. 2562
หน้า: 139-148
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 286
Download: 179
Download PDF
ความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการจัดการศึกษาตามกรอบมาตรฐานระดับปฐมวัย ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Stakeholder Satisfaction to Educational Management Based on Early Childhood Educational Standards in Schools Under the Office of Sakon Nakhon Primary Education Service Area 1
ผู้แต่ง
ละมัย เหลือผล, ธวัชชัย ไพใหล, สุรพล บุญมีทองอยู่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ และหาแนวทางการพัฒนาความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการจัดการศึกษาตามกรอบมาตรฐานระดับปฐมวัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยผู้ปกครอง จำนวน 246 คน ผู้บริหาร จำนวน 69 คน ครูปฐมวัย จำนวน 83 คน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 69 คน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One way ANOVA) และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ Pearson’s Product Moment Coefficient

ผลการวิจัย พบว่า

1. ความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการจัดการศึกษาตามกรอบมาตรฐานระดับปฐมวัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 อยู่ใน ระดับมาก

2. ผลการเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการจัดการศึกษาตามกรอบมาตรฐานระดับปฐมวัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำแนกตามสถานภาพ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ผลการเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการจัดการศึกษาตามกรอบมาตรฐานระดับปฐมวัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำแนกตามระดับการศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. ความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการจัดการศึกษาตามกรอบมาตรฐานระดับปฐมวัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำแนกขนาดของโรงเรียนโดยรวมและรายด้านทุกด้าน ไม่มีความแตกต่างกัน

5. แนวทางในการพัฒนาเพื่อยกระดับความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการจัดการศึกษาตามกรอบมาตรฐานระดับปฐมวัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 คือ มาตรฐานที่ 1 ด้านคุณภาพเด็ก และมาตรฐานที่ 3 ด้านการบริหารและการจัดการศึกษา โดยผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาไว้ด้วย

Abstract

This research aims to study, compare and find out the guidelines for developing Stakeholder Satisfaction to Educational Management Based on Early Childhood Educational Standards in Schools Under the Office of Sakon Nakhon Primary Education Service Area 1. The samples consisted of 246 parents, 69 administrators, 83 preschool teachers and 69 chairman of school board. The instrument was a set of 5-level rating scale questionnaires developed by the researcher. The data were analyzed by mean, standard deviation, percentage, t-test (Independent samples), F-test (One way ANOVA), and Pearson’s product moment coefficient.

The results of the study were as follows:

1. The Stakeholder Satisfaction to Educational Management Based on Early Childhood Educational Standards in Schools Under the Office of Sakon Nakhon Primary Education Service Area 1 was at the high level.

2. The Stakeholder Satisfaction to Educational Management Based on Early Childhood Educational Standards in Schools Under the Office of Sakon Nakhon Primary Education Service Area 1 specified by status was significantly different at the .01 levelin overall and each factor.

3. The Stakeholder Satisfaction to Educational Management Based on Early Childhood Educational Standards in Schools Under the Office of Sakon Nakhon Primary Education Service Area 1 specified by degree of education was significantly different at the .05 level in overall and each factor.

4. The Stakeholder Satisfaction to Educational Management Based on Early Childhood Educational Standards in Schools Under the Office of Sakon Nakhon Primary Education Service Area 1 specified by school size was not different.

5. The quality of students and the educational management are 2 standards of early childhood educational standard should be developed and the researcher has proposed the guidelines for developing in this research.

คำสำคัญ

ความพึงพอใจ, ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย, การจัดการศึกษาปฐมวัย

Keyword

satisfaction, Stakeholder, Educational management based on early childhood educational standard

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093