บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาประสิทธิผลการดำเนินงานสถานศึกษาพอเพียงในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม และหาแนวทางในการยกระดับประสิทธิผลการดำเนินงานสถานศึกษาพอเพียงกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม ปีการศึกษา 2560 จำนวน 324 คน ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 76 คน และครูผู้สอน จำนวน 248 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 7 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบค่า t (t-test) แบบ Independent Samples ทดสอบสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One way ANOVA) ในกรณีพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยจะทำการทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe-Method)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิผลการดำเนินงานสถานศึกษาพอเพียงในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลการดำเนินงานสถานศึกษาพอเพียง จำแนกตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม โดยรวมมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ประสิทธิผลการดำเนินงานสถานศึกษาพอเพียง จำแนกตามขนาดของโรงเรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนมโดยรวมและรายด้าน ไม่มีความแตกต่างกัน
4. ประสิทธิผลการดำเนินงานสถานศึกษาพอเพียง จำแนกตามสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม โดยรวมและรายด้าน ไม่มีความแตกต่างกัน
5. แนวทางการยกระดับประสิทธิผลการดำเนินงานสถานศึกษาพอเพียงที่ควรได้รับการยกระดับมีจำนวน 3 ด้าน คือ ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา
Abstract
The purposes of this research were to investigate the operational effectiveness of sufficiency schools under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area, and to establish the guidelines to improve the operational effectiveness of sufficiency schools. The 324 samples consisted of 76 administrators and 248 teachers in schools under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area, in the academic year 2017. The instrument for data collection was a set of 7-level rating scale questionnaires. Statistics for data analysis were mean, standard deviation, percentage, t-test (Independent Samples), F-test (One-Way ANOVA), and Schefft’s Method.
The results of this research were as follows:
1. The operational effectiveness of sufficiency schools under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area, as a whole and each aspect was at a high level.
2. The operational effectiveness of sufficiency schools as perceived by school administrators and teachers, as a whole was significantly different at the .01 level.
3. The operational effectiveness of sufficiency schools, classified by school sizes as a whole and each aspect was not different.
4. The operational effectiveness of sufficiency schools, classified by the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area, as a whole and each aspect was not different.
5. The proposed guidelines to improve the operational effectiveness of sufficiency schools involved three aspects: curriculum and learning activity management, student development activities, and school personnel development.
คำสำคัญ
สถานศึกษาพอเพียง, ประสิทธิผลการดำเนินงานKeyword
Sufficiency School, Operational Effectivenessกำลังออนไลน์: 89
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,450
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,649
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093