บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมกับชุมชนของตำรวจชุมชน 2) กำหนดกลยุทธ์การมีส่วนร่วมกับชุมชนของตำรวจชุมชน 3) วิเคราะห์ สังเคราะห์ ปัจจัยความสำเร็จก่อนนำกลยุทธ์ไปใช้ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสม (mixed method) ใช้กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบผสมผสานทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ วิธีการดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมกับชุมชนของตำรวจชุมชน ขั้นตอนที่ 2 ยกร่างกลยุทธ์การมีส่วนร่วมกับชุมชนของตำรวจชุมชน และขั้นตอนที่ 3 การปรับร่างกลยุทธ์และยืนยันกลยุทธ์การมีส่วนร่วมกับชุมชนของตำรวจชุมชน ประชากร ได้แก่ ตำรวจชุมชนในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐมครอบคลุม 12 สถานีตำรวจ 95 แห่ง กลุ่มตัวอย่างจำแนกผู้ให้ข้อมูลออกเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ ได้แก่ ข้าราชการตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐมตำแหน่งผู้กำกับการ (หัวหน้าสถานีตำรวจ) 12 คน รองผู้กำกับการฝ่ายป้องกันและปราบปราม 12 คน รวม 24 คน ใช้วิธีการเลือกผู้ตอบแบบสัมภาษณ์แบบเจาะจง กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม แยกเป็นตัวแทน 4 กลุ่มย่อย ได้แก่ ด้านชุมชน ด้านศาสนา ด้านสถานศึกษา และตำรวจชุมชน ด้านละ 95 คน รวมทั้งสิ้น 380 คน กลุ่มที่ 3 ผู้ทรงคุณวุฒิที่ร่วมกันยกร่างกลยุทธ์ ซึ่งเป็นตัวแทนของชุมชน ศาสนา สถานศึกษา และตำรวจชุมชน ด้านละ 2 คน รวม 8 คน ได้มาด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มที่ 4 ผู้เชี่ยวชาญปรับร่างกลยุทธ์และยืนยัน กลยุทธ์ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์ ด้านการมีส่วนร่วม และด้านพัฒนาชุมชน ด้านละ 1 คน ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นตัวแทนชุมชน ศาสนา สถานศึกษาและตำรวจชุมชน อีกด้านละ 1 คน รวม 7 คน ได้มาด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมี 4 ชุด ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2) แบบสอบถาม มาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 3) แบบวิเคราะห์ SWOT analysis และ 4) แบบยืนยันกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูล ที่ได้จากการสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์แบบอุปนัย
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการมีส่วนร่วมกับชุมชนของตำรวจชุมชน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพการมีส่วนร่วมกับชุมชน ของตำรวจชุมชน มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูล ประกอบด้วย 1) การมีมนุษย์สัมพันธ์กับชุมชน 2) การติดต่อสื่อสารกับชุมชน 3) การรู้จักชุมชนเพื่อการมีส่วนร่วม 4) การให้ความช่วยเหลือแก่ชุมชน โดยภาพรวม
มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน ยกเว้นด้านที่ 5) ความร่วมมือกับชุมชนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง
2. กลยุทธ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนของตำรวจชุมชน ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก คือ กลยุทธ์ที่ 1 การมีส่วนร่วมในการส่งเสริมชุมชนเข้มแข็ง กลยุทธ์ที่ 2 การส่งเสริมการจัดการความรู้ชุมชน กลยุทธ์ที่ 3 การพัฒนาแนวทางการสื่อสารกับชุมชน และกลยุทธ์ที่ 4 การส่งเสริมพัฒนาองค์กรชุมชน และเครือข่ายความร่วมมือการประเมินกลยุทธ์ในด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้อง และการใช้ประโยชน์ ผู้เชี่ยวชาญทุกท่านมีความเห็นสอดคล้องกันโดยมีความเห็นว่า กลยุทธ์ทั้ง 4 กลยุทธ์ มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้
Abstract
ABSTRACT
This research aimed to study 1) the participation situation with community of community police. 2) establish a community strategy with community of community police. and 3) analyze the synthesis of success factors before applying the strategy. The mixed method approach was used to collect both the qualitative and quantitative data. There are 3 stages of research. 1) studying the situation of participation in the community of the community police, 2) drafting strategies of participation with the community of the community police, and 3) improving the draft and confirmation of the strategies. The population included 95 groups of community police of 12 police stations under the jurisdiction of Nakhon Pathom provincial police. The samples giving data were divided into 4 sub-groups; 1) 24 interviewees, purposively selected from the 12 superintendents, and 12 deputy superintendents on prevention and suppression from the 12 police stations; 2) 380 questionnaire respondents divided into 4 sub-groups include the sub-group on community, the sub-group on religion, the sub-group on education and the sub-group of the community police, 95 persons each; 3) 8 experts, purposively selected, who drafted the strategy together; and 4) 7 experts, purposively selected, who improved and confirmed the draft of the strategy. The research instruments built by the researcher were 1) a semi-structure interview, 2) a 5-rating scale questionnaire, and 3) a form of SWOT Analysis. and 4) a form of the strategy confirmation. The statistics used included frequency, per cent, mean, standard deviation, and content analysis for the data from the interview.
The findings showed that:
1. community participation of community police comply with the information included. 1) human relations with the community; 2) Communication with the community; 3) knowing the community for participation; 4) assistance to the community, in over all, was at a high level; except 5) the cooperation with the community, in over all, was at a moderate level.
2. The community police’s strategic participation with the community in 4 main strategies, namely, participation in supporting strong community, knowledge management in community, development of communication means with the community, and encouragement of building community organizations and cooperation networks, all experts have agreed that the 4 strategies are appropriate. possible and it is useful to apply.
คำสำคัญ
กลยุทธ์การบริหาร, การมีส่วนร่วม, ชุมชน, ตำรวจชุมชนKeyword
management strategies, community participation, community policeกำลังออนไลน์: 107
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 2,921
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,120
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093