...
...
เผยแพร่: 10 ก.ค. 2562
หน้า: 98-107
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 511
Download: 177
Download PDF
ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21
Administrative Factors Affecting Effectiveness of Academic Affairs Administration of Schools under the Office of Secondary Educational Service Area 21
ผู้แต่ง
ภาคภูมิ ทองลาด, ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, ชรินดา พิมพบุตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับปัจจัยทางการบริหารและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 เปรียบเทียบปัจจัยทางการบริหารและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบงานวิชาการและครูผู้สอน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยทางการบริหารและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน และหาแนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน

กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบงานวิชาการและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 352 คน ซึ่งจำแนกเป็น ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 54 คน ครูผู้รับผิดชอบงานวิชาการ จำนวน 56 คน และครูผู้สอน จำนวน 242 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples ทดสอบสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนโดยรวมและรายด้านทุกด้านจำแนกตามการดำรงตำแหน่งไม่มีความแตกต่างกัน

3. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียนโดยรวม ปัจจัยพื้นฐาน ปัจจัยสนับสนุน และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโดยรวม จำแนกตามขนาดของโรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียนโดยรวม ปัจจัยสนับสนุน และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนโดยรวม จำแนกประสบการณ์ในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนปัจจัยพื้นฐาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยสนับสนุนและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการมีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. ปัจจัยพื้นฐานโดยรวม และปัจจัยสนับสนุนโดยรวม มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 96.10 โดยสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ ดังนี้

สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้

Y’ = 0.148 + 0.838X1 + 0.136X2

และสามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้

Z’ = 0.844 ZX1 + 0.147ZX2

7. ในการวิจัยในครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโดยรวม โดยแนวทางในการพัฒนาปัจจัยทั้ง 4 ได้แก่ 1) แนวทางในการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานด้านคุณลักษณะของผู้บริหารการศึกษา 2) แนวทางในการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานด้านคุณลักษณะของครูผู้สอน3) แนวทางในการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานด้านระบบบริหารจัดการที่มีคุณภาพ และ 4) แนวทางในการพัฒนาปัจจัยสนับสนุนด้านศักยภาพสถาบันการศึกษาในท้องถิ่น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Abstract

The purposes of this research were: to examine the level of administrative factors and effectiveness of academic affairs administration of schools under the Office of Secondary Education Service Area 21; to compare administrative factors and effectiveness of school academic affairs administration as perceived by school administrators, teachers in charge of academic affairs, and teachers, classified by position, school sizes and work experience; to explore the relationship between administrative factors and effectiveness of school academic affairs administration; to study the predictive power of administrative factors affecting effectiveness of academic affairs administration; and to establish the development guidelines.

The 352 samples consisted of 54 school administrators, 56 teachers in charge of academic affairs, and 242 teachers in the academic year 2017. The instrument for data collection was a set of questionnaires to determine administrative factors and effectiveness of school academic affairs administration. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, t – test (Independent Samples), F – test (One – Way ANOVA), Pearson Product-Moment Correlation Coefficient and Stepwise Multiple Regression Analysis.

The findings were as follows:

1. The school administrative factors and the effectiveness of school academic affairs administration, as a whole and each aspect were at a high level.

2. The school administrative factors and the effectiveness of school academic affairs administration as a whole and each aspect, classified by position were not different in all aspects.

3. The overall school administrative factors, the basic factors, the support factors, and the overall effectiveness of school academic affairs administration as a whole, classified by school sizes were significantly different at the 0.01 level.

4. The overall school administrative factors, the basic factors, and the overall effectiveness of school academic affairs administration, classified by work experience were significantly different at the 0.01 level, except the basic factors were significantly different at the 0.05 level.

5. The basic factors, the support factors and the academic affairs administration had a positive relationship at a statistical significance of the 0.01 level.

6. The overall basic factors and the overall support factors had the predictive power toward the academic affairs administration as a whole at a statistical significance of the 0.01 level with the predictive power of 96.10 percent. The predictive equation derived could be written as follows:

The regression equation of row scores was:

Y’ = 0.148 + 0.838X1 + 0.136X2

The regression equation of standard scores was:

Z’ = 0.844 ZX1 + 0.147ZX2

7. In this research, the proposed guidelines for developing the administrative factors affecting the effectiveness of academic affairs administration as a whole involved four approaches: 1) Guidelines for developing the basic factors in terms of administrators’ characteristics; 2) Guidelines for developing the basic factors in terms of teacher characteristics; 3) Guidelines for developing basic factors in terms of quality management; and 4) Guidelines for developing the support factors in terms of the potential for local educational institution.

คำสำคัญ

ปัจจัยทางการบริหาร, ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน

Keyword

Administrative Factors, Effectiveness, School Academic Affairs Administration

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093