...
...
เผยแพร่: 10 ก.ค. 2562
หน้า: 78-87
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 368
Download: 184
Download PDF
ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนประชาธิปไตยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20
Administrative Factors Affecting Operational Effectiveness of Democracy-Enhancement and Promotion Activities in Schools under the Office of Secondary Educational Service Area 20
ผู้แต่ง
นีรนุช ชัยบิน, เพลินพิศ ธรรมรัตน์, ระภีพรรณ ร้อยยพิลา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และแนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารกับประสิทธิผลการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนประชาธิปไตยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 ประจำปีการศึกษา 2560 จำนวน 340 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .50-.84 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบค่าที t-test (Independent samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One way ANOVA) การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment coefficient) และการวิเคราะห์สมการพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ปัจจัยทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา และประสิทธิผลการส่งเสริม และสนับสนุนประชาธิปไตยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนโดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนประชาธิปไตยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. ปัจจัยทางการบริหารการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนประชาธิปไตยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกวุฒิการศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกัน

4. ประสิทธิผลการส่งเสริมและสนับสนุนประชาธิปไตยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 จำแนกตามสถานภาพ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกวุฒิการศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกัน

5. ปัจจัยทางการบริหารกับประสิทธิผลการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนประชาธิปไตยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยรวม มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. ปัจจัยทางการบริหาร จำนวน 3 ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนประชาธิปไตยในโรงเรียน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านวัฒนธรรมองค์การ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ด้านภาวะผู้นำ โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 60.40 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ ± 0.28463

7. แนวทางพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนประชาธิปไตยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 พบว่ามีจำนวน 3 ปัจจัย ที่สามารถพยากรณ์ปัจจัยทางการบริหารกับประสิทธิผลการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนประชาธิปไตยในโรงเรียนได้ ประกอบด้วย ด้านภาวะผู้นำ ด้านวัฒนธรรมองค์การ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

Abstract

The purposes of this research were to investigate, compare, and determine the relationship and predictive power, and establish the guidelines for developing administrative factors affecting the operational effectiveness of democracy-enhancement and promotion activities in schools under the Office of Secondary Educational Service Area 20. The samples, obtained through multi-stage sampling, were 340 administrators and teachers in schools under the Office of Secondary Educational Service Area 20in the academic year 2017. The instrument for data collection was a set of 5-level rating scale questionnaires with item discrimination between .50-.84and the reliability of .98. Statistics for data analysis were mean, standard deviation, percentage, t-test (Independent Samples), F-test (One-Way ANOVA), Pearson’s Product Moment Coefficient and Stepwise Multiple Regression Analysis.

The results of this research were as follows:

1. The administrative factors of school administrators and the operational effectiveness of democracy enhancement and promotion in schools under the Office of Secondary Educational Service Area 20 based on administrators and teachers’ opinions were at a high level in overall.

2. The operational effectiveness of democracy-enhancement and promotion activities in schools based on administrators and teachers’ opinions was at a high level in overall.

3. The administrative factors for operating the democracy-enhancement and promotion activities as perceived by school administrators and teachers with different status, work experience and school sizes were significantly different at the .01 level in overall, but there was not different as a whole among those whose educational level were different.

4. The effectiveness of democracy-enhancement and promotion in schools classified by status, work experience and school sizes was significantly different at the .01 level in overall, but there was not different as a whole in terms of different educational level.

5. The administrative factors showed a positive relationship with the operational effectiveness of school democracy-enhancement and promotion activities at the .01 level of significance.

6. The administrative factors consisted of three factors with the predictive power of 60.40 percent and Standard Error of Estimate of ± 0.28463. The factors which were able to predict the operational effectiveness of democracy-enhancement and promotion activities in schools at the .01 level of significance comprised: Organizational Culture, Informational Communication Technology, but at the .01 level of significance in terms of Leadership,

7. The guidelines for developing administrative factors affecting operational effectiveness of democracy-enhancement and promotion activities in schools under the Office of Secondary Educational Service Area 20 revealed that there were three factors that were able to predict the administrative factors and the operational effectiveness of democracy-enhancement and promotion activities. The said factors were Leadership, Organizational Culture, and Informational Communication Technology.

คำสำคัญ

ปัจจัยทางการบริหาร, ประสิทธิผลการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนประชาธิปไตยในโรงเรียน

Keyword

Administrative Factors, Operational Effectiveness, School Democracy–Enhancement and Promotion Activities

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093