...
...
เผยแพร่: 10 ก.ค. 2562
หน้า: 67-77
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 459
Download: 186
Download PDF
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21
The Instructional Leadership of Administrators Affecting the Effectiveness of Academic Affairs Administration in Schools under the Secondary Educational Service Area Office 21
ผู้แต่ง
มนัส ทวีกัน, สายันต์ บุญใบ, ชรินดา พิมพบุตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 355 คนจำแนกเป็นกลุ่มผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 90 คน และครูผู้สอน จำนวน 245 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples สถิติทดสอบเอฟ (F-test) แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOWA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 อยู่ในระดับมาก

2. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 แตกต่างกัน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ที่มีประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกัน

4. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน ไม่แตกต่างกัน

5. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 อยู่ในระดับมาก

6. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 แตกต่างกัน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

7. ประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกันในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ไม่แตกต่างกัน

8. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน ไม่แตกต่างกัน

9. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 มีความสัมพันธ์กันทางบวก โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

10. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารมีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลของการบริหารวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ได้แก่ ด้านการพัฒนาวิชาชีพ ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมายและพันธกิจ และด้านการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลการจัดการเรียนการสอน โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 55.60 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ ± 0.126

11. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน มีจำนวน 4 ด้าน ด้านการพัฒนาวิชาชีพ ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมายและพันธกิจด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการจัดการเรียนการสอน และด้านการพัฒนานักเรียน

Abstract

The purposes of this research were to investigate, compare, determine the relationship and predictive power, and establish the guidelines for developing instructional leadership of administrators that influenced the effectiveness of academic affairs administration in secondary schools under the Secondary Educational Service Area Office 21 (SESAO 21). The samples were 90 administrators and 245 teachers, yielding a total sample size of 355 respondents drawn from schools under the SESAO 21, in the academic year 2017. The research instruments for data collection was a set of a 5-point rating scale questionnaire developed by the researcher. Statistics for data analysis were mean, standard deviation, t-test (Independent Samples), F-test (One way ANOVA), Pearson’s Product Moment Coefficient and Stepwise Multiple Regression Analysis.

The results of this research were as follows:

1. The instructional leadership of administrators as perceived by the respondents was at a high level.

2. The instructional leadership of administrators as perceived by the respondents was at a statistically significant difference level of .01.

3. The instructional leadership of administrators as perceived by the respondents with different work experience showed no differences.

4. The instructional leadership of administrators as perceived by the respondents with different school sizes, were not different.

5. The effectiveness of the academic affairs administration as perceived by respondents was at a high level.

6. The effectiveness of the academic affairs administration as perceived by respondents was at a statistically significant difference level of .05.

7. The effectiveness of the academic affairs administration as perceived by respondents with different work experience showed no differences.

8. The effectiveness of the academic affairs administration as perceived by respondents with different school size showed no differences.

9. There was a positive relationship between school administrators’ instructional leadership and the effectiveness of academic affairs administration at a statistically significant difference level of .01.

10. The instructional leadership of administrators had a predictive power toward the effectiveness of schools academic affairs administration comprising four aspects: professional development; curriculum and learning management; determination of vision, objectives and mission; and supervision, controlling, monitoring and evaluation with respect to teaching and learning management. It was also found that the instructional leadership of administrators had a predictive power at 55.60 percentage with standard error ± 0.126.

11. The proposed guidelines for instructional leadership development of school administrators involved four aspects: professional development; curriculum and learning management; determination of vision, objectives and mission, and supervision, controlling, monitoring and evaluation with respect to teaching and learning management; and student development.

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ประสิทธิผลการบริหารงานวิชา

Keyword

Instructional Leadership, Effectiveness, Academic Affairs Administration

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093