บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการของครูในโรงเรียนอนุบาลรัตนพร สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสกลนคร 2) หาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการของครูโรงเรียนอนุบาลรัตนพร สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสกลนคร 3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพการทำแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการของครูโรงเรียนอนุบาลรัตนพร สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสกลนคร กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยประกอบด้วย ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย จำนวน 5 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 21 คน รวมทั้งสิ้น 26 คน โดยใช้กระบวนการวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน (Planning) การปฏิบัติการ (Action) การสังเกตการณ์ (Observation) และการสะท้อนกลับ (Reflection) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินแบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละความก้าวหน้า การตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์เนื้อหาจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพและปัญหาในการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการของครูในโรงเรียนอนุบาลรัตนพรสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสกลนคร
1.1 ด้านสภาพ พบว่า การจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัยครูไม่ได้จบการศึกษาด้านปฐมวัยโดยตรง จึงขาดความรู้ ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์เรียนรู้และไม่เคยเข้ารับการอบรมจากหน่วยงานของรัฐครูเผชิญกับการแก้ปัญหาการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้กับเด็กด้วยตนเอง จึงทำให้ครูไม่มีความรู้ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการณ์ และไม่ได้จัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการ
1.2 ด้านปัญหา พบว่า ครูยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการ จึงทำให้ครูไม่ได้ทำแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการเชื่อมโยงกิจกรรม 6 กิจกรรม หรือทำแผนแต่ไม่ได้ใช้แผนในการจัดประสบการณ์เรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ยังคงยึดการสอนในรูปแบบเดิมๆ ตามที่ตนเองถนัดไม่เปลี่ยนพฤติกรรมจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้กับเด็ก ไม่มีความรู้และขาดทักษะในการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการ
2. แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการของครูโรงเรียนอนุบาลรัตนพร สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสกลนคร ประกอบด้วย การประชุมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงาน และการนิเทศภายใน
3. ผลการพัฒนาศักยภาพการทำแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการของครูโรงเรียนอนุบาลรัตนพร สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสกลนคร พบว่า 1) ครูมีความสามารถเขียนแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการของเด็กปฐมวัยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ครูสามารถจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) พฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กในขณะที่ครูจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4) ผู้ปกครองมีความพึงพอใจในการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
The purpose of this research were 1) to study states and problems of managing early childhood integrated learning experience 2) to find out guidelines for developing teachers’ potential in managing integrated learning experience 3) to monitor the results of developing teachers’ potential in managing integrated learning experience at Rattanaporn Kindergarten under the Office of Sakon Nakhon Provincial Education. An participatory action research of two-spirals comprising 4 states: planning, action, observation, and reflection was applied. The target group consisted of 5 research participants, and 21 informants. The instrument were a form of assessment, a form of observation, a form of interview, a form of recorded, and a questionnaire. Quantitative data were analyzed by mean, percentage, percentage of progress and standard deviation. Content analysis was employed for qualitative data in forms of content classification and descriptive presentation.
The findings of this research were as follows:
1. The states and problems of the managing integrated learning experience of teachers at Rattanaporn Kindergarten under the Office of Sakon Nakhon Provincial Education showed that:
1.1 The states were teachers lack of knowledge and understanding in managing integrated learning experience due to teachers have not graduated in direct field, never attended governmental training, faced and resolved the learning problems by their own, no knowledge for writing lesson plan for managing integrated learning experience and do not managing integrated learning experience.
1.2 The problems were teachers lack of knowledge and understanding in managing integrated learning experience, do not write lesson plan for managing integrated learning experience to connect 6 activities or do not teach according to lesson plan, stick to old fashion methods which they get used to and not likely to change students’ behavior, and lack of knowledge and skill in managing integrated learning experience.
2. The guidelines for developing teachers’ potential in managing integrated learning experience at Rattanaporn Kindergarten consisted of managing workshop, creating school fieldtrip and advising supervision.
3. The effects of the developing teachers’ potential in managing lesson plan for integrated learning experience showed that 1) teachers can write lesson plan for managing integrated learning experience at the highest level. 2) teachers can managing integrated learning experience at the highest level. 3) students’ learning behaviors while teachers managed integrated learning experience at the highest level. And 4) parents satisfied with managing integrated learning experience at the highest level.
คำสำคัญ
การพัฒนาศักยภาพครู, การจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการKeyword
Development of teachers’ potential, Managing Integrated Learning Experienceกำลังออนไลน์: 20
วันนี้: 1,151
เมื่อวานนี้: 1,728
จำนวนครั้งการเข้าชม: 64,156
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093