...
...
เผยแพร่: 10 ก.ค. 2562
หน้า: 46-56
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 487
Download: 183
Download PDF
สภาพการดำเนินงานและผลสำเร็จของการบริหารจัดการห้องเรียนคู่ขนานออทิสติก ของโรงเรียนในภาคตะวันนออกเฉียงเหนือ
The Operational Conditions and Success of the Parallel Classroom Management for Students with Autism in Schools in the Northeastern Region
ผู้แต่ง
แจ่มจันทร์ อินทะพล, ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, เทพรังสรรค์ จันทรังษี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานและผลสำเร็จของการบริหารจัดการห้องเรียนคู่ขนานสำหรับนักเรียนออทิสติ ของโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานและผลสำเร็จของการบริหารจัดการห้องเรียนคู่ขนานสำหรับนักเรียนออทิสติกของโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในตำแหน่งสภาพการเปิดสอนห้องเรียนคู่ขนานสำหรับนักเรียนออทิสติก และลักษณะการเปิดสอนของโรงเรียน และ 3) หาแนวทางยกระดับผลสำเร็จของการบริหารจัดการห้องเรียนคู่ขนานออทิสติกของโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 105 คน จำแนกเป็นกลุ่มผู้อำนวยการ จำนวน 35 คน ครูผู้สอนห้องเรียนคู่ขนานสำหรับนักเรียนออทิสติก จำนวน 35 คน และครูผู้รับผิดชอบงานเรียนร่วม จำนวน 35 คนจาก 35 โรงเรียนในปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานและผลสำเร็จของการบริหารจัดการห้องเรียนคู่ขนานสำหรับนักเรียนออทิสติก ของโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติทดสอบที (t-test ชนิด Independent Samples) สถิติทดสอบเอฟ (F-test) แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA)

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพการดำเนินงานและผลสำเร็จของการบริหารจัดการห้องเรียนคู่ขนานออทิสติก ของโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. สภาพการดำเนินงานและผลสำเร็จของการบริหารจัดการห้องเรียนคู่ขนานออทิสติก ของโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมและรายด้านไม่มีความแตกต่างกัน

3. สภาพการดำเนินงานและผลสำเร็จของการบริหารจัดการห้องเรียนคู่ขนานออทิสติก ของโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในตำแหน่ง โดยรวมและรายด้านไม่มีความแตกต่างกัน

4. สภาพการดำเนินงานและผลสำเร็จของการบริหารจัดการห้องเรียนคู่ขนานออทิสติกของโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีครูที่สำเร็จการศึกษาวิชาเอกการศึกษาพิเศษ และไม่มีครูที่สำเร็จการศึกษาวิชาเอกการศึกษาพิเศษ โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. สภาพการดำเนินงานและผลสำเร็จของการบริหารจัดการห้องเรียนคู่ขนานออทิสติก ของโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำแนกตามลักษณะการเปิดสอนของโรงเรียน โดยรวมและรายด้านไม่มีความแตกต่างกัน

6. แนวทางยกระดับผลสำเร็จของการบริหารจัดการห้องเรียนคู่ขนานออทิสติก ของโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ การจัดห้องเรียนคู่ขนานออทิสติก การจัดการเรียนการสอนเทคนิคการสอน และการนิเทศ กำกับ ติดตาม โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน

Abstract

This research aimed to: 1) examine the operational conditions and success of the parallel classroom management for students with autism in schools in the Northeastern region; 2) study and compare the operational conditions and success of the parallel classroom management for students with autism, classified by positions, work experience, conditions of the parallel classroom management for students with autism, and type of school program provision for students with autism; and 3) establish the guidelines for improving the success of the parallel classroom management for students with autism in schools in the Northeastern region. The 105 samples were drawn from 35 schools in the academic year 2017, involving 35 school directors, 35 teachers in charge of the parallel classroom with students with autism, and 35 teachers from inclusive classroom. The research instrument for data collection was a set of questionnaires concerning operational conditions and success of the parallel classroom management for students with autism. The mean, standard deviation, t-test for Independent Samples, and F-test for One way ANOVA were employed to analyze the data.

The findings of this research were as follows:

1. The operational conditions and success of the parallel classroom management for students with autism in schools in the Northeastern region, as a whole were at a high level.

2. The operational conditions and success of the parallel classroom management for students with autism in schools in the Northeastern region, classified by positions as a whole and each aspect were not different.

3. The operational conditions and success of the parallel classroom management for students with autism in schools in the Northeastern region, classified by work experience as a whole and each aspect were not different.

4. The operational conditions and success of the parallel classroom management for students with autism in schools in the Northeastern region revealed that teachers obtaining special education degree and non-special education degree, as a whole were different at the .05 level of statistical significance.

5. The operational conditions and success of the parallel classroom management for students with autism in schools in the Northeastern region, classified by type of school program provision for students with autism, as a whole and each aspect were not different.

6. Based on ten experts’ interviews, the proposed guidelines for improving the operational conditions and success of the parallel classroom management for students with autism in schools in the Northeastern region involved four aspects: the parallel classroom provision for students with autism, teaching and learning management, instructional techniques, and supervision, monitoring and follow-up.

คำสำคัญ

บริหารจัดการห้องเรียนคู่ขนาน, นักเรียนออทิสติก

Keyword

Parallel Classroom Management, Students with Autism

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093