บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนอนุบาลเอกศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัย ของโรงเรียนอนุบาลเอกศึกษา จำแนกตามระดับการศึกษาของผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในในการวิจัยได้แก่ ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยโรงเรียนอนุบาลเอกศึกษาปีการศึกษา 2560 จำนวน 92 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความต้องการของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติสำหรับทดสอบสมมุติฐาน คือ t-test และวิเคราะห์เปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่(Scheffe’Method)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผู้ปกครองเป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 63.02 มีอายุระหว่าง 30-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 55.25 มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาลงไปคิดเป็นร้อยละ 54.67 มีอาชีพรับจ้างคิดเป็นร้อยละ 35.75 และรายได้ต่อเดือนของผู้ปกครอง 7,500-10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 43.50
2. ความต้องการของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนอนุบาลเอกศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เพื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ด้านการประเมินการพัฒนาการการเรียนรู้ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรกับผู้ปกครอง ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านการบริการนักเรียน ตามลำดับ
3. การเปรียบเทียบความต้องการของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนอนุบาลเอกศึกษา จำแนกตามระดับการศึกษาของผู้ปกครอง พบว่าโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการประเมินการพัฒนาการเรียนรู้ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรกับผู้ปกครองและด้านการบริการนักเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไม่แตกต่างกัน
Abstract
The objectives of this research were: 1) to study the parents’ need for early childhood educational management, and 2) to compare the parents’ need for early childhood educational management of Anuban Eksuksa School, as classified by the parents’ educational level. The samples of this study were 92 parents’ early childhood of Anuban Eksuksa School by stratified random sampling The research instruments for data Collection scale. The reliability of total issue was = 0.89. The statistic using for data analysis including the percentage, mean, standard deviation. The statistic for testing the hypothesis was the t-test. For paired comparison, Scheffe’s method was administered.
The research findings found that:
1. Most of the samples, 63.02%, were females. Most of their ages, 55.25%, were ranged between 30-40 years old. For their educational level, most of them, 54.67%, completed secondary education. For 35.75% of them, they were employees. For the parents’ salary, 43.50% of their salaries were ranged between 7,500-10,000 baths.
2. For parents’ need for early childhood educational level of Anuban Eksuksa School, in overall, was in “High” level. Considering each aspect, the mean values were ranged in order from high to low as follows: the environmental management facilitating the learning, the evaluation of learning development, the relationship between the staffs and parents, the instructional educational management, and the service for students respectively.
3. For comparison of parents’ need for early childhood educational management of Anuban Suksa School, as classified by their educational level, found that in overall, there were significant differences at .05 level. Considering each aspect, found that there were significant differences in the evaluation of learning development, the relationship between the staffs and parents, and the service for students at .05 level. There were no significant differences in the environmental management facilitating the learning, and the instructional activity management.
คำสำคัญ
ความต้องการของผู้ปกครอง, การจัดการศึกษาปฐมวัยKeyword
The parents’ need, The early childhood educational managementกำลังออนไลน์: 66
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,511
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,710
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093