บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับภาวะผู้นำใฝ่บริการ 2) หาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการ และ 3) ติดตามผลการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของนักศึกษาสาขาวิชาดนตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของนักศึกษาสาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ในด้านการวางแผน การให้บริการ การเพิ่มคุณค่า การมุ่งมั่นพัฒนา การสื่อสาร และการมีจิตสาธารณะ ประกอบด้วยกลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 3 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 6 คน และกลุ่มเป้าหมายการพัฒนา จำนวน 68 คน โดยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ ใช้ระยะเวลาในการวิจัย 12 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ แบบมีโครงสร้างระดับกลาง เพื่อสัมภาษณ์สภาพ ปัญหาเกี่ยวกับภาวะผู้นำใฝ่บริการ และแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการ 2) แบบสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ แบบมีโครงสร้างระดับกลาง เพื่อติดตามผลการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการ และ 3) แบบสังเกต เพื่อติดตามผลการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการ ของนักศึกษาสาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพเกี่ยวกับภาวะผู้นำใฝ่บริการของนักศึกษาสาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร พบว่า นักศึกษาสาขาวิชาดนตรีมีพฤติกรรมการบริการระหว่างเพื่อนร่วมงานที่ปฏิบัติต่อกันในการดำเนินงาน การปฏิบัติต่อผู้มารับบริการ การกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือร่วมใจ ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การมอบอำนาจให้แก่กัน รวมทั้งการสนองตอบต่อประเด็นความเข้าใจ ความต้องการ และความคาดหวังของกลุ่มเป้าหมายหรือผู้รับบริการเพื่อนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายร่วมกันอยู่ในระดับยังไม่เป็นที่น่าพอใจ จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาส่วนปัญหาเกี่ยวกับภาวะผู้นำใฝ่บริการของนักศึกษาสาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร พบว่า นักศึกษาสาขาวิชาดนตรีมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริการระหว่างเพื่อนร่วมงานที่ปฏิบัติต่อกัน การปฏิบัติต่อผู้มารับบริการ การกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือร่วมใจ ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน และการมอบอำนาจให้แก่กัน พร้อมทั้งสนองตอบต่อประเด็นความเข้าใจ ความต้องการ และความคาดหวังของผู้รับบริการเพื่อนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันยังไม่เพียงพอ
2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของนักศึกษาสาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มี 3 แนวทาง ได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การนิเทศติดตาม และการนิเทศแบบให้คำชี้แนะ
3. ผลการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของนักศึกษาสาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร พบว่า นักศึกษาสาขาวิชาดนตรีมีพฤติกรรมการบริการระหว่างเพื่อนร่วมงานที่ปฏิบัติต่อกันในการปฏิบัติหรือดำเนินงานการปฏิบัติหรือดำเนินงานของบุคลากรต่อผู้มารับบริการในองค์กร เพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือร่วมใจความไว้วางใจซึ่งกันและกัน และการมอบอำนาจให้แก่กัน พร้อมทั้งสนองตอบต่อประเด็นความเข้าใจ ความต้องการและความคาดหวังของกลุ่มเป้าหมายหรือผู้รับบริการ เพื่อนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายร่วมกันขององค์กร
Abstract
The purposes of this research were to 1) examine the conditions and problems of servant leadership, 2) Find out guidelines for developing the students’ servant leadership, and 3) to follow up the effects after the development on the servant leadership of the students in the Music Program at Sakon Nakhon Rajabhat University. The development on the servant leadership of the students in the music program at Sakon Nakhon Rajabhat University included planning, service provision, value adding, and determination to development, communications and service-mindedness. The population consisted of 3 researchers and 6 informants. The samples for development were composed of 68 participants. This study employed an action research (AR) consisting of four steps as follows: Planning, Action, Observation and Reflection. The period of time used was 12 months. The instruments applied in this study were 1) a form of the moderately scheduled formal interview to interview the conditions and problems of the servant leadership and the guidelines for developing the students’ servant leadership, 2) a form of the structured moderately scheduled formal interview to follow up the effects of the development on the servant leadership, and 3) a form of observation to follow up the effects of the development on the servant leadership of the students in the Music Program at Sakon Nakhon Rajabhat University.
The results revealed that
1. The conditions about the servant leadership of the students in the Music Program at Sakon Nakhon Rajabhat University revealed that the students performed their service-mindedness among colleagues and service recipients tended to encourage cooperation, trust, and empowerment. However, the service-mindedness provided in terms of understanding, needs and expectations based on service recipients’ responses did not meet the required level of satisfaction. Therefore, further development of service-mindedness was required. In addition, the problems on the servant leadership of the students in the Music Program music at Sakon Nakhon Rajabhat University indicated that the knowledge and understanding regarding service-mindedness among colleagues and service recipients found that these behaviors tended to encourage cooperation, trust, and empowerment along with responding to understanding, needs and expectations of the service recipients to contribute to achieve the objectives together were insufficient.
2. The proposed development guidelines for developing the students’ servant leadership in the Music Program at Sakon Nakhon Rajabhat University involved a workshop, a follow-up supervision and a coaching supervision.
3. The results of the development on the servant leadership of the students in the Music Program at Sakon Nakhon Rajabhat University revealed that the participating students demonstrated their service-mindedness behaviors which created cooperation, trust, empowerment, and better responses toward service recipients’ understanding, needs and expectations of the target groups or service recipients to achieve the collaborative objectives together.
คำสำคัญ
การพัฒนา, ภาวะผู้นำใฝ่บริการKeyword
Development, Servant leadershipกำลังออนไลน์: 33
วันนี้: 386
เมื่อวานนี้: 1,728
จำนวนครั้งการเข้าชม: 63,391
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093